ระบบ Anti Wheelie (ป้องกันล้อหน้ายก) ทำงานอย่างไร และมันมีประโยชน์อย่างไร สายยกต้องชม

0

ในยุคปัจจุบันโดยเฉพาะกับคนที่นิยมรถมอเตอร์ไซค์ในกลุ่มทรงสปอร์ตทั้งหลายคงไม่มีใครไม่รู้จักกับระบบป้องกันล้อหน้าลอยหรือ Anti-Wheelie ที่มีใช้อยู่ในซุปเปอร์สปอร์ตทุกๆรุ่นตั้งแต่พิกัด 600cc ขึ้นไป แต่จะมีซักกี่คนที่เข้าใจว่าระบบนี้มันทำงานได้อย่างไร ซึ่งในวันนี้เราก็จะขอพาทุกคนไปชมอีกคลิปสาระดีๆจากทาง MotoGP ที่ใช้อธิบายเกี่ยวกับระบบนี้ให้เพื่อนๆทราบไปพร้อมๆกันครับ

hstc-wheelie-control
สำหรับประโยชน์หรือหน้าที่ในของระบบ Anti-Wheelie นั้นก็ไม่ได้มีอะไรซับซ้อนวุ่นวายมากนัก เพราะมันก็ตรงตัวตามชื่อของมันนั่นก็คือการป้องกันล้อหน้ายกตัว ซึ่งข้อดีของการมีเจ้าระบบนี้ติดรถไว้นั้นก็เป็นเพราะว่า หากรถของเรามีกำลังแรงบิดสูงมากๆแต่ไม่มีระบบนี้ ในจังหวะที่ต้องออกตัวหรือออกจากโค้ง ล้อหน้าก็จะพร้อมลอยในทันทีทันใด และวิธีการแก้อาการดังกล่าวแบบง่ายๆที่สุดนั่นก็คือการผ่อนคันเร่ง แต่ก็อย่างที่ทราบกันดีว่าถ้าเราผ่อนมากเกินไปก็จะกลายเป็นว่ารถไม่ยอมพุ่งและเสียอัตราเร่งไปในที่สุด ดังนั้นระบบป้องกันล้อยกนี้จึงถูกเพิ่มเข้ามาเพื่อคำนวนอัตราเร่งที่เหมาะกับการออกตัวหรือออกจากโค้งโดยที่ล้อหน้าไม่ลอยมากที่สุดให้พวกเรานั่นเอง

motogp-anti-wheelie-03
โดยในส่วนของชุดเซนเซอร์ที่ตัวระบบ Anti-Wheelie จะต้องใช้เพื่อคำนวนนั้นหลักๆจะมีอยู่ราวๆ 3 อย่าง 4 ตำแหน่งด้วยกัน นั่นก็คือ 1. ชุดเซนเซอร์วัดองศาการเอียง, 2. ชุดเซนเซอร์วัดความเร็วล้อที่ด้านหน้า และด้านหลัง, และ 3. ซึ่งก็คือเซนเซอร์วัดระยะยืด/ยุบของโช้กหน้า ซึ่งเซนเซอร์ทั้งสามอย่างนี้จะต้องส่งข้อมูลไปให้กล่องควบคุมหลักหรือ ECU เพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับการสั่งระบบนี้ให้ทำงานอีกที

motogp-anti-wheelie-04
ด้านหลักการทำงาน หากอธิบายคร่าวๆก็ไม่ใช่อะไรที่วุ่นวายมากมายนักโดยตัวระบบจะอาศัยข้อมูลหลักๆจากเซนเซอร์ทั้งหมดสามอย่างเป็นเงื่อนไขในการทำงาน เริ่มจากการเช็คองศาการเอียงของตัวรถว่าอยู่ในตำแหน่งไหน, ผู้ขับขี่ได้สั่งเปิดคันเร่งหรือไม่ หากเงื่อนไขครบ ตัวระบบก็จะไปคำนวนระยะยืดตัวของโช้กหน้าต่อว่ามันยืดสุดแล้วหรือไม่ ประกอบกับการอ้างอิงจากความเร็วล้อหน้าหลังอีกทีหนึ่งว่าสัมพันธ์หรือเพิ่มขึ้นไปพร้อมๆกันรึเปล่า

motogp-anti-wheelie-05
โดยถ้าหากตัวระบบพบว่าความเร็วล้อหน้าไม่เพิ่มขึ้นหรือเพิ่มช้าในขณะที่ความล้อหลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วไปพร้อมกับการที่โช้กหน้ายืดสุดและเซนเซอร์บอกว่าหน้ารถถูกยกขึ้นด้วยอัตราที่สูงเกินไป ตัว ECU จะสั่งตัดการจ่ายน้ำมันหรือรถอัตราเร่งของเครื่องยนต์ลงจนกว่ารยุบของโช้กหน้าที่เข้าสูงสภาวะปกติหรือตามค่าที่ตั้งไว้แล้วจึงสั่งเพิ่มอัตราเร่งไปเรื่อยๆ (แต่ในบางครั้งเราอาจจะจังหวะออกโค้งของตัวแข่งหลายคันมีอาการล้อหน้าลอยยาวๆ ซึ่งอันนี้อาจจะเป็นเพราะว่าทางทีมช่างได้เซ็ทให้ตัวระบบอาศัยค่าจากองศาการลอยของตัวรถเป็นเกณฑ์หลักนั่นเอง)

Crutchlow-Marquez-Rossi
ชมคลิป VDO อื่นเพิ่มเติมได้ที่นี่
อ่านข่าว MotoGP เพิ่มเติมได้ที่นี่

เพื่อนๆ Bikers สามารถติดตามข่าวสารวงการล้อ ได้ทางแฟนเพจ MotoRival ของเราครับ

Share.

About Author

Background EXP in Automotive journalists more than 10 Years Writer & Test Driver @Pantip Garage 2018-Present @9carthai 2015- 2017 @Torque & VIPStyle Magazine 2015 @Autospinn 2012-2015 @GTmania.tv 2009-2010

error: Content is protected !!