ทำความเข้าใจอะไรคือ “Understeer” อะไรคือ “Oversteer” และมันส่งผลอย่างไรต่อตัวแข่ง MotoGP บ้าง มาดูกัน

0

บ่อยครั้งในการแข่งขันไม่ว่าจะเป็น 4 ล้อ หรือ 2 ล้อเรามักจะได้ยินคำสองคำที่มาคู่กันในระหว่างการเซ็ทอัพอยู่เสมอนั่นก็คือ “Understeer” และ “Oversteer” ซึ่งเราเชื่อว่าคงมีเพื่อนๆไม่น้อยที่ยังไม่รู้ว่าคำเหล่านี้มีความหมายว่าอย่างไร และส่งผลอย่างไรกับตัวรถบ้าง ดังนั้นในวันนี้เราก็จะมาพูดถึงความหมายของทั้งสองคำกันครับ

motogp-how-understeer-oversteer-acton-bike-02
เริ่มจาก “Understeer” ที่ถ้าจะให้แปลไทยแบบตรงๆตัวก็คงหนีไม่พ้นคำว่า “หน้าดื้อ”, “หน้าแถ”, “หน้าไถ” ซึ่งอาการนี้มักจะเกิดขึ้นอยู่เสมอเมื่อ “ยางหน้าไม่สามารถสร้างกริป (ความสามารถในการยึดเกาะผิวถนน) ให้เยอะกว่าล้อหลัง” อาจจะด้วยการเซ็ทอัพหรือวิธีการขี่ของนักบิดที่ทำให้เป็นอย่างนั้น

motogp-how-understeer-oversteer-acton-bike-03
โดยเมื่อรถเกิดอาารหน้าแถ หรือหน้าดื้อขึ้นมา แน่นอนว่าความเสี่ยงที่เกิดขึ้นก็คือ ตัวนักบิดจะไม่สามารถเข้าโค้งได้อย่างที่ต้องการ เพราะหน้ารถพร้อมที่จะเบนออกไปจากไลน์ที่ตั้งใจไว้ทุกเมื่อ หรือถ้าร้ายแรงที่สุดก็คือยางหน้าอาจจะไถออกไปดื้อๆ จนส่งผลให้มีอัตราการสึกหรอบนหน้ายางมากเป็นพิเศษ และเป็นเหตุให้ล้มพับได้ง่ายกว่าปกติ

motogp-how-understeer-oversteer-acton-bike-04
ในขณะเดียวกันสำหรับอาการ “Oversteer” นั้นก็จะมีความหมายตรงข้ามกัน นั่นก็คือ “หลังไถ” ซึ่งสาเหตุที่เกิดอาการนี้นั้นก็เป็นเพราะว่า ยางหลังไม่สามารถสร้างกริปได้ดีเท่ากับล้อหน้านั้นเอง

motogp-how-understeer-oversteer-acton-bike-05
แต่ทีนี้เมื่อเกิดอาการหลังไถขึ้นแล้ว ตัวรถจะหันหัวเข้าหาโค้งได้ง่ายกว่าเดิมตอนเปิดคันเร่ง และถ้าหากล้อหลังเกิดแถ หรือไถมากเกินไป ตัวนักบิดเองก็สามารถคุมอาการมันด้วยคันเร่งกับเบรกเท้าได้ หรือถ้าไม่อย่างนั้น หากขี้เกียจทำเองก็สามารถยกหน้าที่นี้ไปให้กับกล่อง ECU เพื่อเปิดระบบ Traction Control ช่วยจัดการเรื่องนี้ได้

https://youtu.be/6y5G8zsCMbM
สรุปแล้วการเซ็ทตัวรถให้ “หน้าดื้อ” นั้นอาจจะมีข้อเสียอยู่บ้างตรงที่นักบิดจะต้องเล็งจังหวะเข้าโค้งให้ดีจริงๆ เพระาไม่เช่นนั้นแล้วอาจจะหลุดหรือบานออกจากโค้งไปได้ แต่ก็แลกมากับความเสี่ยงที่ล้อจะไถตอนเร่งออกโค้งน้อยลง ทำให้ความเร็วในช่วงหนีจากโค้งทำได้ไวขึ้น และในขณะเดียวกันสำหรับการเซ็ทตัวรถให้มีอาการ “หลังไถ” ตัวนักบิดก็อาจจะต้องเสี่ยงไม่น้อยเช่นกันว่า จะต้องเปิดคันเร่งเท่าไหร่กันแน่ ล้อหลังถึงจะไม่แถจนตูดสไลด์ออกโค้งไป แต่มันก็ยังดีกว่าเซ็ทรถให้หน้าดื้อตรงที่ว่าไม่ต้องมาพะวงกับจังหวะเข้าโค้งมากนัก แถมถ้ากลัวท้ายปัดมากไปก็ให้ระบบิเล็กทรอนิกส์จัดการซะก็สิ้นเรื่องอย่างที่เราได้กล่าวไปเมื่อซักครู่

อ่านข่าวสาร MotoGP เพิ่มเติมที่ได้ที่นี่

เพื่อนๆ Bikers สามารถติดตามข่าวสารวงการล้อ ได้ทางแฟนเพจ MotoRival ของเราครับ

Share.

About Author

error: Content is protected !!