Tips Trick : “ระบบ ACG สตาร์ทเตอร์” ในรถออโตเมติกยุคใหม่แตกต่างจากระบบ “ไดสตาร์ท” ของมอเตอร์ไซค์ทั่วไปอย่างไร ? ทำไมถึงสตาร์ทแล้วไร้เสียง ? มาดูกัน

0

ตลอดหลายปีที่ผ่านมา เหล่ารถมเตอร์ไซค์ที่เราเห็นอยู่ในปัจจุบันต่างก็ติดตั้งชุดสตาร์ทมือมาทั้งสิ้น เรียกได้ว่าน่าจะเกิน 80% ซึ่งถ้าหากเป็นความคุ้นเคยเดิมล่ะก็ โดยปกติแล้วเวลาที่เรากดสตาร์ท เราก็จะได้ยืนเสียงสตาร์ทดัง “แกร๊กกกกก” ลากยาวๆ จนกว่าเครื่องยนต์จะติด และเราจะเลิกกดปุ่มสตาร์ท

แต่จู่ๆเมื่อราวๆปี 2010 ก็ได้มีมอเตอร์ไซค์ออโตเมติกของผู้ผลิตรายหนึ่ง ที่มาพร้อมกับระบบสตาร์ทมือ(แทบจะ)ไร้เสียง คือกดปุ่มสตาร์ทไปก็มีแค่เสียง “แต่กๆๆๆ” เบาๆซึ่งเป็นเสียงของลูกสูบชัดขึ้นลงเพียงอย่างเดียวเท่านั้น และไม่มีเสียง “แกร๊กกก” ยาวๆให้ได้ยืนอีกต่อไปเปิดตัวออกมา โดยพวกเข้าได้ใช้ชื่อของระบบสตาร์ทมือแบบใหม่นี้ว่า “ACG Starter”

2010-honda-pcx-125-01
ใช่ครับ ผู้ผลิตที่เรากล่าวถึงอยู่นี้ก็คือ Honda ที่นำเอาเทคโนโลยี “ACG Starter” มาบรรจุไว้ใน PCX รุ่นที่ 1 และใช้ต่อๆมาในรถออโตเมติกรุ่นอื่นๆของทายค่ายจนปัจจุบัน แม้กระทั่ง Yamaha เองก็ยังนำระบบนี้มาใช้เป็นที่เรียบร้อยใน Grand Filano Hybrid รุ่นใหม่ที่พึ่งเปิดตัวไปสดๆร้อนๆด้วย (แต่ใช้ชื่อใหม่ว่า Smart Motor Generator แทน)

Review-Yamaha-Grand-Filano-Hybrid_19
โดยในตอนนั้นเหล่าผู้ที่ได้ลองทดสอบตัวรถต่างก็มีประเด็นให้สงสัยเหมือนกันอยู่หนึ่งข้อ และเรายังเชื่อว่าเพื่อนๆหลายคนก็ยังสงสัยกันอยู่จนทุกวันนี้ ก็คือ “เสียงไดสตาร์ทมันหายไปไหน ?” ซึ่งในวันนี้เราจะมาอธิบายถึงเรื่องดังกล่าวแบบเข้าใจง่ายๆให้เพื่อนๆได้รับทราบกันครับ (ขอไม่เจาะลึกในเชิงเทคนิคมากนะครับ เพื่อป้องกันการสับสนจนเกินไป)

หน้าตาของมอเตอร์สตาร์ท หรือที่เรียกกันติดปากว่า

หน้าตาของมอเตอร์สตาร์ท หรือที่เรียกกันติดปากว่า “ไดสตาร์ท”

แต่ก่อนที่เราจะพูดถึงระบบ “ACG Starter” เราขอท้าวความไปถึงระบบสตาร์ทมือแบบใช้ “ไดสตาร์ท” ดั้งเดิมก่อนว่ามันเป็นมายังไง…

starter-motor-pic-by-jair-smc
สำหรับระบบสตาร์ทมือแบบดั้งเดิมนั้น จะใช้หลักการเอามอเตอร์สตาร์ท ที่เรียกว่า “ไดสตาร์ท” มาปั่นจานเฟืองสตาร์ทที่เชื่อมต่อกับเพลาข้อเหวี่ยงอีกทีหนึ่งให้หมุนเพื่อสตาร์ทเครื่องยนต์ ซึ่งเสียง “แกร๊กกกกก” ยาวที่ๆว่าก็เกิดจาก เสียงของ เฟืองไดสตาร์ท ที่ปกติมันจะหดอยู่ด้านใน พยายามยืดตัวออกมาเพื่อขบเฟืองทดสตาร์ท จนเกิดเป็นเสียงดังกล่าวขึ้นมานั่นเอง (หวังว่าจะไม่งงกันนะครับ)

ชุดเฟืงสตาร์ทแบบปกติสำหรับทำงานร่วมกับ

ชุดเฟืงสตาร์ทแบบปกติสำหรับทำงานร่วมกับ “ไดสตาร์ท”

หน้าตาของจานไฟ และเจเนอเรเตอร์แบบปกติ สำหรับรถมเตอร์ไซค์ทั่วไป

หน้าตาของจานไฟ และเจเนอเรเตอร์แบบปกติ สำหรับรถมเตอร์ไซค์ทั่วไป

ชุด ACG Starter

ชุด ACG Starter

แต่ที้นี้สำหรับ “รถมอเตอร์ไซค์ที่มีระบบ ACG Starter จะไม่ใช้ได้ ไดสตาร์ท” เป็นตัวสตาร์ทเครื่องยนต์อีกต่อไป เพราะใช้ “มอเตอร์เจเนอเรเตอร์” หรือที่ภาษาช่างเรียกกันว่า “มัดไฟ” ที่แต่เดิมก็สามารถทำได้แค่ดึงกระแสไฟฟ้าจากการเหนี่ยวนำสนามแม่เหล็กระหว่างตัวมันเองกับ “จานไฟ” เพื่อจ่ายกระแสผ่านเรคกูเลเตอร์/ เรคติไฟเออร์ที่อยู่ภายในกล่องควบคุม (ECM) เพื่อ ชาร์จไฟกลับไปยังแบตเตอรี่ และเลี้ยงระบบอื่นๆที่เกี่ยวข้องอย่างเช่น ระบบไฟส่องสว่างรอบคัน, หัวเทียนเพียงอย่างเดียว มาปรับปรุงใหม่ให้มันสามารถดึงกระแสไฟกลับจากแบตเตอรี่มาทำสนามแม่เหล็ก เพื่อเหนี่ยวนำแม่เหล็กถาวรของ “จานไฟ” ให้หมุนสตาร์ทเครื่องยนต์แทนไดสตาร์ท เป็นการสวนลักษณะการทำงานนิดหน่อย

Yamaha-Grand-Filano-Hybrid-Engine_2
ซึงเจ้า “จานไฟ” ที่ว่านี้ แท้จริงแล้วมันก็เชื่อมต่ออยู่กับแกนเพลาข้อเหวี่ยงมาแต่ไหนแต่ไร ดังนั้นต่อให้มันถูก “มัดไฟ” จ่ายกระแสเหนี่ยวนำให้ตัวเองหมุนเพื่อสตาร์ทเครื่องยนต์เท่าไหร่ก็ไม่มีทางเกิดเสียงระหว่างฟันเฟืองขึ้น เพราะมันไม่มีชุดเฟืองที่ว่ามาขั้นกลางตั้งแต่แรก ดังนั้นเสียง “แกร๊กกก” ยาวๆที่ว่าจึงหายไป และเหลือแค่เพียงเสียงลูกสูบชักขึ้นลงจากการหมุนเพลาข้อเหวี่ยงเท่านั้น…ด้วยประการฉะนี้แล

ขอบคุณภาพประกอบจาก คุณ Jair_SMC, Mazped.com

อ่านข่าว Tips-Trick เพิ่มเติมได้ที่นี่

เพื่อนๆ Bikers สามารถติดตามข่าวสารวงการล้อ ได้ทางแฟนเพจ MotoRival ของเราครับ

Share.

About Author

error: Content is protected !!