Tips Trick : ข้อดี/ข้อเสียระหว่าง “คลัทช์สาย” และ “คลัชท์น้ำมัน” ต่างกันอย่างไร ? มาทำความเข้าใจกันครับ

0

กลับมาอีกครั้งกับบทความ Tips Trick ที่ในคราวนี้เราจะมาพูดถึงหนึ่งในระบบที่สำคัญที่สุดของรถมอเตอร์ไซค์ที่เราใช้กันอยู่เป็นประจำนั่นก็คือระบบคลัชท์ ซึ่งก่อนหน้านี้เราได้มีการกล่าวถึงทั้ง หลักการทำงาน, ความแตกต่างระหว่างคลัชท์เปียกและคลัชท์แห้ง, ความแตกต่างระหว่างคลัทช์ชุดเดียวกับคลัชท์คู่ และในวันนี้เราก็จะพูดถึง “ความแตกต่างต่างระหว่าง คลัชท์สาย และ คลัชท์น้ำมัน” กันครับ

motorcycle clutch modification dans motorcycle repair clutches
เริ่มจากระบบคลัชท์สาย ซึ่งเป็นระบบพื้นฐานที่มีใช้กันมานานนม โดยข้อดีของระบบควบคุมการทำงานของคลัชท์ชุดนี้ก็คือไม่ซับซ้อนในการทำงาน เพราะโดยลักษณะกลไกแล้วมันมีแค่ก้านคลัชท์ที่ใช้ดึงสายสลิงซึ่งต่อกับขากดคลัชท์ให้ขยับไปมาแค่นั้น ส่วนในเรื่องความทนทานและการดูแลรักษานั้นหลักๆก็จะอยู่ที่ตัวสายสลิงซึ่งกว่ามันจะขาดได้ก็ตอนที่สนิมกินจนสายเปราะเท่านั้น (แต่กว่าจะนานพอสมควรอย่างน้อยๆก้ไม่ใช่ภายในปี 2 ปีแน่ๆ) หรือถ้าเกิดเหตุสุดวิสัย สายสลิงที่ว่านี้ขาดจริงๆ ตัวผู้ใช้ก็สามารถซ่อมแซมได้โดยง่ายเพียงซื้อสายใหม่จากร้านซ่อมรถทั่วไปมาเปลี่ยนเส้นละไม่กี่สิบบาทเท่านั้น

what-is-clutch-friction-zone-01
โดยสำหรับข้อเสียของระบบคลัทช์สายนี้ก็มีเพียงการปรับตั้งระยะการทำงานของมันที่ต้องใช้ระยะค่อนข้างเจาะจงพอสมควร และถ้าคลัชท์เกิดการสึกหรอตัวผู้ใช้ก็ต้องคอยปรับเรื่อยๆตลอดระยะเวลาการใช้งาน

pros-and-con-btw-normal-sling-clutch-vs-hydraulic-clutch-01
ด้านคลัทช์น้ำมันนั้น ก็มีข้อดีในเรื่องของความนุ่มนวลในการใช้งานที่นุ่มมากๆไม่ว่าสปริงคลัชท์ที่ใช้อยู่นั้นจะเป็นสปริงแต่งแข็งแค่ไหน รวมถึงการไม่ต้องไปปรับเซ็ทความตึงอ่อนหรือระยะฟรีของก้านคลัชท์ใดๆทั้งสิ้น เพราะตัวระบบจะอาศัยหลักการของระบบไฮดรอลิก หรือลูกสูบแรงดันเหมือนกับปั๊มเบรกมาช่วยทดแรงกระทำ และในขณะเดียวกันด้วยลักษณะการทำงานของมัน ระยะในการใช้นิ้วกดคลัทช์ก็จะคงที่อยู่ตลอด(เว้นแต่น้ำมันในระบบจะรั่ว)คล้ายๆกับระบบเบรกแบบดิสก์เบรกทางด้านขวา นั่นจึงหมายความว่าระบบนี้จำเป็นต้องมีชุดแม่ปั๊มด้านบนและส่วนตรงปลายอีกฝั่งก็จะมีแม่ปั๊มล่างอีกตัว เหมือนกับชุดปั๊มเบรกทั้งหมด

pros-and-con-btw-normal-sling-clutch-vs-hydraulic-clutch-02
จากจุดนี้ทำให้มันมีข้อเสียตามมาก็คือต้นทุนในการผลิตที่สูงขึ้นกว่าเดิมอีกหลายเท่าตัวเมื่อเทียบกับชุดคลัชท์สาย ทั้งตัวปั๊มและสายน้ำมัน รวมไปถึงการดูแลรักษาที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษเพราะต้องระวังเรื่องการรั่วของน้ำมัน หากสายแรงดันเกิดขาดหรือตัวปั๊มเกิดแตกขึ้นมาโดยไม่ได้ตั้งใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดพลาดล้มแปะแล้วกระปุกปั๊มแรงดันโดนกระแทกจนแตก ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นเมื่อไหร่ ก็เท่ากับว่าเราจะใช้งานระบบคลัทช์ไม่ได้ในทันที และปัญหารองลงมาอีกอย่างนึงก็คือการที่น้ำมันในระบบนั้นคือชนิดเดียวกันกับน้ำมันเบรก ดังนั้นผู้ใช้จะต้องหมั่นเปลี่ยนถ่ายน้ำมันในระบบอย่างน้อยทุกๆ 2 ปีอยู่เสมอเพื่อให้ระบบสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพนั่นเอง

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก MC Garage
ขอบคุณภาพจาก MYMOTO Tuning, Diavel-Forum

อ่าน Tips Trick เพิ่มเติมได้ที่นี่

Share.

About Author

error: Content is protected !!