การเช็ทตำแหน่งสูง-ต่ำท่านั่ง พักเท้า และความสูงความกว้างแฮนด์ บนตัวแข่ง MotoGP มีผลต่อการขับขี่อย่างไร และคุณจะนำไปปรับใช้กับรถคันเก่งของคุณได้อย่างไรมาดูกัน

0

หากพูดถึงการเซ็ทอัพ สิ่งนึ่งที่เรามักพูดถึงกันเสมอนอกจากการเซ็ทช่วงล่างแล้ว การเซ็ทตำแหน่งท่านั่งของผู้ขับขี่เองก็เป็ฯอีกเรื่องที่เรามักพูดถึงกันเสมอดังที่เราจะเห็นได้จากการเลือกซื้อแฮนด์จับโช้กแบบใหม่ซึ่งส่งผลให้ตัวเราต้องหมอบลงมากกว่าเดิม หรือพักเท้าที่เรามักเรียกกันอย่างติดปากว่า “เกียร์โยง”

how-rider-position-react-on-bike-01
ซึ่งประโยชน์ของการปรับเซ็ทดังกล่าวนั้น นอกจากการปรับท่านั่งให้กระชับและเหมือนตัวแข่งทั้หลายมากขึ้นแล้ว เราเชื่อว่าน้อยคนนักจะรู้ว่าผลของมันในทางฟิสิกส์หรือในทางเทคนิคคืออะไร ดังนั้นในคราวนี้เราจึงจะขอนำเอาคลิปของทาง MotoGP มาอธิบายให้เพื่อนๆฟังว่าการปรับตำแหน่งทั้ง แฮนด์บาร์, พักเท้า และตำแหน่งเบาะนั่งมีผลอะไรเกี่ยวกับตัวรถบ้าง มาเริ่มกันเลยครับ

how-rider-position-react-on-bike-02
โดยสิ่งแรกที่ถูกนำเสนอในคลิปก่อนเลยก็คืออัตราส่วนของน้ำหนักตัวรถที่ไม่ต่ำกว่า 157 กิโลกรัมตามกฏของการแข่งขัน ซึ่งถือเป็น 70% ส่วนน้ำหนักตัวผู้ขับรวมชุดไรด์ดิ้งเกียร์ต่างๆโดยเฉลี่ยแล้วจะอยู่ราวๆ 70 กิโลกรัม ซึ่งคิดเป็น 30% ของทั้งหมด

how-rider-position-react-on-bike-03
นั่นจึงหมายความว่า การปรับตำแหน่งไปมาของตัวผู้ขี่นั้นย่อมมีผลต่อจุดศูนย์ถ่วงโดยรวมของตัวรถอย่างแน่นอน (สำหรับเรื่องเหตุผลการย้ายตัวไปมาของนักบิดนั้นเราได้เคยอธิบายไปอย่างคร่าวๆแล้วก่อนหน้านี้ ซึ่งเพื่อนๆสามารถคลิกอ่านได้ที่นี่)

how-rider-position-react-on-bike-04
ต่อไปก็คือการพูดถึงความต่างระหว่างตำแหน่งเบาะนั่งกับพักเท้าต่ำ ซึ่งการปรับเซ็ทแบบนี้จะให้ผลดีในเรื่องของอัตราเร่งและการเบรกที่ดีกว่าเนื่องจากจุดศูนย์ถ่วงอยู่ต่ำ แต่ในขณะเดียวกันก็และมากับปัญหาในการเอียงตัวรถที่ไม่สามารถทำได้มากเท่าเดิมเนื่องจากพักเท้าจะขูดพื้นเอาซะก่อน

ในขณะที่การขยับทั้งเบาะนั่งและพักเท้าให้สูงขึ้นนั้น จะให้ผลดีในเรื่องของการพลิกโค้งไปมา เนื่องจากจุดศูนย์ถ่วงรวม อยู่ใกล้กับน้ำหนักตัวของผู้ขี่ที่ย้ายไปมามากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันความสามารถในการเบรกและเร่งก็จะด้อยลง เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะหน้าทิ่มขณะเบรกและหงายหลังขณะเปิดคันเร่งก็จะมากขึ้น จากการที่จุดศูนย์ถ่วงรวมอยู่สูงกว่าเดิม

how-rider-position-react-on-bike-05
ขยับมาที่การปรับความสูงของแฮนด์ ซึ่งถ้าหากเราเซ็ทไว้ในตำแหน่งที่ต่ำมากๆ ก็จะช่วยลดอาการหน้าลอยไปได้ระดับหนึ่ง เพราะตัวผู้ขับจะโน้มไปด้านหน้ามากขึ้น และผลก็คือจะมีน้ำหนักกดลงไปที่ล้อหน้ามากกว่าเดิมนั่นเอง แต่แน่นอนว่าผลเสียที่ตามมาก็คือในขณะที่ต้องเบรกหนักๆนั้นตัวผู้ขี่จะต้องเกร็งข้อมือมากเป็นพิเศษ และล้าในระยะเวลาอันรวดเร็วกว่าปกติเนื่องจากเหตุผลที่เรากล่าวไปข้างต้น

how-rider-position-react-on-bike-06
และสุดท้ายคือการปรับมุมความกว้างของแฮนด์ ซึ่งในจุดๆนี้เราเชื่อว่าเพื่อนๆน่าจะทราบกันดีอยู่แล้วว่า ถ้าหากแฮนด์กว้าง การหักเลี้ยวตัวรถไปตามโค้งต่างๆจะทำได้ง่ายและสะดวกอย่างมาก แต่ในขณะเดียวกัน ด้วยความที่ว่าแขนทั้งสองข้างจะต้องกางออกจากตัวรถตามมุมของแฮนด์ แรงต้านลมก็จะเพิ่มขึ้นเช่นกัน

ชม VDO เพิ่มเติมได้ที่นี่
อ่านข่าว MotoGP เพิ่มเติมได้ที่นี่

เพื่อนๆ Bikers สามารถติดตามข่าวสารวงการล้อ ได้ทางแฟนเพจ MotoRival ของเราครับ

Share.

About Author

error: Content is protected !!