ไขความต่างการเซ็ทอัพตัวแข่ง MotoGP ระหว่าง “แทร็คแห้ง และ แทร็คเปียก” มีอะไรบ้าง มาดูกัน

0

ย้อนไปในสนาม Termas de Rio Hondo ประเทศอาร์เจนติน่า หรือสนามลำดับที่สองของการแข่งขัน MotoGP ปี 2018 ที่ได้เกิดเหตุการณ์ดราม่าต่างๆรวมถึงเหตุการชวนสับสนอีกมากมาย โดยหนึ่งในนั้นก็คือเหตุการณ์ฝนเดี๋ยวตกเดี๋ยวหยุดจนทำให้นักบิดหลายคนและทีมแข่งหลายทีมต้องวิ่งวุ่นกันเพื่อเปลี่ยนตัวรถจากที่เซ็ทอัพไว้สำหรับแทร็คเปียกให้กลายเป็นรถสำหรับแทร็คแห้งกันอย่างจ้าล่ะหวั่น

mm93-engine-stall-argentinagp-2018-01
จากจุดนี้ทำให้เพื่อนๆหลายอาจสงสัยอยู่ไม่น้อยว่าตัวรถที่ถูกเปลี่ยนเซ็ทอัพไปนั้นมีอะไรที่แตกต่างกันอยู่บ้าง ซึ่งในวันนี้เราก็จะมาไขข้อสงสัยในเรื่องดังกล่าวจากคลิปใหม่ที่ทาง MotoGP ได้ทำขึ้นมาไปด้วยกันครับ

motogp-dry-to-wet-setup-02
แน่นอนว่าในจุดแรกที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนก็คือประเภทยาง ซึ่งในสภาวะแทร็คแห้งปกตินั้นชนิดยางที่เหล่านักบิดใช้จะเป็นแบบผิวเรียบสนิทตลอดเส้น หรือที่เรียกกันติดปากว่า “ยางสลิค” เพื่อให้ผิวสัมผัสระหว่างหน้ายางกับผิวแทร็คเยอะที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่เมื่อผิวแทร็คเกิดมีแอ่งน้ำเนื่องจากฝนตกขึ้นมาชนิดยางก็จะถูกเปลี่ยนเป็น “ยางฝน” ที่มีการเซาะร่องไว้ตลอดทั้งเส้นเพื่อใช้ระบายน้ำที่อยู่บนผิวแทร็คออกจากหน้ายางนั่นเอง

motogp-dry-to-wet-setup-04
ต่อมาคือระบบเบรก ที่แต่เดิมแล้วหากเป็นแทร็คฝน เหล่าทีมแข่งต่างๆจะเปลี่ยนจากจานเบรกคาร์บอนเซรามิคเป็นแบบจานเบรกเหล็กแทน เพราะแม้จานเบรกคาร์บอนเซรามิคจะให้ประสิทธิภาพในการหยุดตัวรถอย่างดีเลิศแค่ไหน แต่มันก็สามารถทำงานได้แค่ในสภาวะอุณหภูมิสูงจัดๆเท่านั้น ดังนั้นการใช้จานเบรกเหล็กที่สามารถใช้งานได้ในทุกสภาพอากาศจึงเหมาะสมกว่า ซึ่งในปัจจุบันเหล่าทีมแข่งได้ออกแบบและใช้ชุดฝาครอบจานเบรกคาร์บอนเซรามิคแทน เพื่อควบคุมอุณหภูมิของจานเบรกและกันเม็ดฝนไปในตัว (สำหรับชุดจานบรกด้านหลังนั้นจะเป็ฯแบบจานเหล็กตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นแทร็คแห้งหรือแทร็คเปียก)

motogp-dry-to-wet-setup-05
ถัดไปคือการเซ็ทอัพระบบกันสะเทือน ซึ่งเมื่อใดก็ตามที่แทร็คเกิดมีฝนขึ้นมาจนทำให้แทร็คลื่น เหล่าทีมแข่งก็จะปรับตั้งสปริงโช้กทั้งหน้าและหลังให้อ่อนกว่าปกติทันที เพื่อช่วยให้น้ำหนักตัวรถขณะเบรกและเร่งกดลงไปที่หน้ายางมากขึ้น

motogp-dry-to-wet-setup-06
รวมถึงการเซ็ทความหนืดในการยืดยุบเองก็ต้องเซ็ทให้สามารถยืดยุบได้ง่ายหรือไวกว่าเดิมเพื่อเหตุผลเดียวกัน

motogp-dry-to-wet-setup-09
และสื่งสุดท้ายที่ถ้าหากนักบิดไม่ทำเลยก็คงไม่ต่างกับการเอาชีวิตไปเสี่ยงตายเล่นๆคือ การปรับเอนจิ้นแมพหรือโหมดการขับขี่เป็นแบบสำหรับแทร็คฝน เพื่อลดความดุดันของเครื่องยนต์ลงให้สามารถขับขี่ในสภาวะผิวแทร็คเปียกได้อย่างอยู่รอดปลอดภัยจนจบการแข่งขันนั่นเอง

ขอบคุณข้อมูลจาก MotoGP

อ่านข่าว MotoGP เพิ่มเติมได้ที่นี่

เพื่อนๆ Bikers สามารถติดตามข่าวสารวงการล้อ ได้ทางแฟนเพจ MotoRival ของเราครับ

Share.

About Author

error: Content is protected !!