คนที่ติดตามการแข่งขัน MotoGP ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา น่าจะคุ้นเคยกันดีกับ Ride Height Device หรือ ระบบโช้คสายย่อ ที่ช่วยลดความสูงของตัวแข่งทั้งหน้าและหลัง เพื่อช่วยให้ตัวรถสามารถออกตัว หรือเร่งออกจากโค้งได้ด้วยความเร็วที่สูงขึ้น มั่นคงมากขึ้น และพวกเราก็น่าจะรู้กันดีว่าถึงแม้อุปกรณ์นี้จะดูน่าสนใจแค่ไหน แต่ทีมแข่งส่วนใหญ่กลับไม่ชอบมัน ถึงขนาดจะยกเลิกการใช้งานมันในกติกาปี 2027 แต่ทำไมถึงเป็นแบบนั้น

โดยหลักการเบื้อหลังของ Ride Height Device ทั้งด้านหน้าและหลังนั้นจะเหมือนกัน คือในช่วงการออกตัวรถมอเตอร์ไซค์ที่มีพละกำลังสูง ต่อให้มีระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือนักแข่งที่ควบคุมมีฝีมือมากขนาดไหน รถของเราก็มีโอกาสยกหน้า และเสียการควบคุม จนทำให้ต้องถอนคันเร่งและสูญเสียความเร็ว

การลดความสูงของโช้คนั้นนอกจากจะช่วยลดศูนย์ถ่วงของตัวรถ การที่องศาของระบบกันสะเทือนเปลี่ยนไป ยังช่วยให้ตัวรถมีองศาแผงคอ และระยะฐานล้อเปลี่ยนไปจากรูปแบบเดิมเล็กน้อย ทั้งหมดนี้มีส่วนช่วยเพิ่มความนิ่ง และลดโอกาสยกล้อ ทำให้สามารถออกตัวได้เร็วและแรงขึ้นกว่าเดิม

ซึ่งโช้คสายย่อที่ว่านี้ก็ถูกนำมาใช้ครั้งแรกโดยมหาอำนาจยุคใหม่อย่าง Ducati และแน่นอนว่าอุปกรณ์ที่ว่านี้ก็ถือว่าไม่ได้ทำอะไรที่ผิดกติกา แถมยังเป็นเทคโนโลยีน่าสนใจที่คนดูหลายคนก็ชอบ ทำให้ค่ายรถรายอื่นต้องลงทุนทำบ้างในเวลาต่อมา เริ่มกันที่โช้คหลังก่อน แล้วตามมาด้วยโช้คหน้า รู้ตัวอีกทีนักแข่งก็สามารถใช้ระบบที่ว่านี้ระหว่างแข่งขัน ไม่ได้จำกัดแค่ช่วงออกตัวอีกแล้ว

ปัญหาที่ตามมาคือ ระบบที่ว่านี้จำเป็นต้องใช้งบประมาณในการพัฒนา ไม่ต่างจากเทคโนโลยีอื่นบนตัวรถ ทีมแข่งบางทีมอาจไม่ได้มีงบประมาณมากพอที่จะเอามาพัฒนาระบบที่ไม่มีทางได้นำไปใช้ในรถถนน ทางด้านผู้จัดก็ไม่อยากให้เรื่องนี้เกิดขึ้นเช่นกัน เพราะถ้างบประมาณที่ต้องใช้ในการแข่งสูงเกินไป ทีมแข่งก็เสี่ยงถอนตัวออกจากการแข่งขัน ซึ่งจะส่งผลถึงความสนุกและยอดคนดูอย่างแน่นอน

ถึงจุดนี้หลายคนก็น่าจะเอะใจขึ้นมาบ้าง ว่าทำไมทีมแข่งถึงบ่นว่าระบบโช้คสายย่อจะไม่ได้ถูกนำมาใช้ในรถถนน เพราะตอนนี้เราก็เห็นรถแอดเวนเจอร์ตัวท็อปบางรุ่น ทำการติดตั้งโช้คไฟฟ้าที่ช่วยลดความสูงของตัวรถ ให้ผู้ขี่สามารถขึ้นขี่และออกตัวรถได้ง่ายขึ้น แล้วค่อยไปเพิ่มความสูงหลังจากออกตัวไปแล้ว

ซึ่งคำตอบของคำถามนั้นก็คือ เทคโนโลยีที่ใช้เพื่อลดความสูงโช้คบนถนน และในสนามมีพื้นฐานที่ต่างกัน โช้คแบบปรับความสูงได้ที่มีอยู่ในรถถนนนั้นจะเป็นระบบโช้คไฟฟ้า แต่ในรถแข่ง MotoGP กติกากำหนดไว้ว่าพวกเขาไม่สามารถใช้โช้คไฟฟ้า หรือโช้คแบบปรับค่าอัตโนมัติได้ แน่นอนว่ารวมถึงเรื่องการลดความสูงด้วยเช่นกัน เพื่อให้ทีมแข่งต้องเก็บข้อมูลตอนซ้อม แล้วตั้งค่าระบบกันสะเทือนที่ต้องการแค่ครั้งเดียว เพื่อเป็นการวัดฝีมือช่าง และฝีมือนักแข่งในสนาม

แต่ระบบ Ride Height Device นั้นทำงานโดยใช้ระบบไฮโรลิก และกลไกล้วน ๆ นักแข่งไม่ได้กดสวิทช์ไฟฟ้าบนแผงคอ และไม่ได้มีสมองกลมาช่วยคำนวน แต่พวกเข้าต้องกดก้านกลไก ที่เป็นเหมือนกับก้านเบรกขนาดเล็กเพื่อใช้งาน ซึ่งระบบสุดยุ่งยากที่ว่านี้ก็คงไม่ถูกนำมาใช้ในชีวิตจริง จนหลายค่ายโหวตให้แบน Ride Height Device ในกติกาใหม่ของปี 2027 นั่นเอง
สำหรับผู้ที่ชื่นชอบ Alex Marquez ว่าที่ตัวเต็งลุ้นแชมป์โลก รวมถึงดีกรีทีมแชมป์โลกอิสระปีนี้ ยังไงก็อย่าลืมไปติดตามเชียร์ รวมถึงลุ้นไปเชียร์กันได้ ถึงติดขอบสนาม ที่แฟนเพจ BK8 Gresini Racing
อ่านข่าวสาร MotoGP เพิ่มเติมได้ที่นี่