รีวิว Yamaha MT-15 ไทยลองก่อนใครในโลก เน็คเก็ทไบค์น้องเล็กร่างจำแลงพี่ใหญ่ 09

0

เมื่อช่วงวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ทาง Yamaha Motors ประเทศไทย เซอร์ไพรส์เปิดตัว 2019 YZF-R3 ใหม่ ครั้งแรกในโลกที่ไทย พร้อมกับปรเทศอินโดนีเซีย โดยในกิจกรรมวันนั้น ได้มีการให้ทดสอบรถทั้ง 2 โมเดล ด้วยนั่นก็คือ 2019 YZF-R3 ใหม่ และ MT-15 ใหม่ ซึ่งทางเราได้นำเสนอรีวิว 2019 Yamaha YZF-R3 กันไปแล้ว เมื่อช่วงศุกร์ที่ผ่านมา ในวันนี้ เราขอมาต่อกันที่ รีวิว Yamaha MT-15 กันต่อเลยดีกว่าครับ

Yamaha-MT-15-Launch_08Yamaha MT-15 ได้มีการเปิดตัวครั้งแรกในโลกไปแล้วในงาน ThaiGP (MotoGP ครั้งแรกในไทย) เมื่่อวันที่ 6 ต.ค. ที่ผ่านมา โดยได้ดึง Valentino Rossi และ Maverick Vinales มาร่วมเปิดตัวในครั้งนั้นด้วย ซึ่งรายละเอียดภายนอก รวมไปถึงสเป็กออปชั่น ข้อมูลเบื่องต้นนั้น ทางทีมงาน MotoRival เราได้นำเสนอกันไปแล้ว สามารถอ่านได้ที่นี่

Yamaha-MT-15-Booth_26
ในวันนี้ ผมจะขอมา รีวิว Yamaha MT-15 แบบสัมผัสแรก ให้เพื่อนๆ รับชมกันต่อเลยครับ
ก่อนอื่นเลย Yamaha MT-15 เป็นรถเน็คเก็ทไบค์ น้องเล็กสุดในตระกูล MT-Series ซึ่งจะมาทำตลาดแทน M-Slaz ซึ่งถูกแนะนำครั้งแรกในโลกเมื่อปลายปี 2015 อายุเกือบเต็ม 3 ปีในปลายเดือนหน้านี้ ทาง Yamaha จึงเลือกที่จะปรับโฉมใหม่หมดจด แทนที่จะปรับแค่ Minor Changed ก็เลือกปรับให้เป็น Global Model ไปซะเลย

รีวิว Yamaha MT-15เอาล่ะผมขอกลับเข้ามาในส่วนการทดสอบเลยละกัน
การทดสอบเราได้ลองเพียง 3 รอบสนาม YRA แบบสั้นๆ เท่านั้น จึงอาจจะจับใจความได้ประมาณหนึ่ง

Yamaha-MT-15-Booth_01
เริ่มจากมิติรถกันก่อนเลย
ความยาว 1,965 มม. (ยาวขึ้นกว่า M-Slaz 10 มม.)
ความกว้าง 800 มม. (กว้างขึ้น 5 มม.)
ความสูง 1,065 มม. (เท่าเดิม)
ความสูงเบาะ 810 มม. (สูงกว่า 5 มม.)
ระยะฐานล้อ 1,335 มิลลิเมตร (ยาวขึ้น 10 มม.)
นน. 123 กก. (เบาลง 2 กก.)
ถังน้ำมันจุ 10 ลิตร (เท่าเดิม)

Pon-Yamaha-MT-15_3
ท่านั่ง
– มีความเป็นซุปเปอร์โมโตน้อยลงกว่าเดิมเมื่ิิอเทียบกับ M-Slaz กล่าวคือ พักเท้ามีการขยับมาด้านหน้ามากขึ้น บวกกับเบาะนั่งที่มีการออกแบบให้สามารถถอยไปด้านหลังได้มากกว่าเดิม (เพราะพื้นที่เพิ่มขึ้น) ขณะที่แฮนด์บาร์ก็มีการงุ้มเข้ามาหาตัวผู้ขี่มากกว่า จึงทำให้เราสามารถหักแฮนด์บาร์ไปมาเพื่อควบคุมตัวรถได้อย่างถนัดมือมากเลยทีเดียว นอกจากนี้ด้วยความที่ตัวถังน้ำมันเองยังมีความโค้งมนรับกับช่วงหว่างขา จึงทำให้เราสามารถใช้ขาหนีบ หรือโหนถังในจังหวะที่ต้องเลี้ยวเข้าโค้งได้กระชับดีจริงๆ

Review-Yamaha-MT-15_3อย่างไรก็ดี ตำแหน่งเบาะนั้นถือว่าสูงพอควร จึงทำให้ผู้ขี่ที่สูงน้อยกว่า 170 ซม. อาจจะต้องแขย่งเท้ากันพอสมควร

Yamaha-MT-15-Booth_15
เครื่องยนต์ 155cc หม้อน้ำ พร้อมระบบวาล์งแปรผัน VVA จาก 2017 YZF-R15 ให้กำลัง 19 แรงม้า @10,000rpm แรงบิด 14.7 Nm @8,500rpm
ส่งกำลังผ่านระบบเกียร์ 6 Speed ที่มาพร้อม Assist & Slipper Clutch แบบเดียวกับ YZF-R15 (2019 YZF-R3 ใหม่ ยังไม่ใส่มาให้เลย)

Yamaha-MT-15-Booth_04
ก็อย่างที่เราได้เกริ่นไปก่อนหน้านี้แล้วว่า ทาง Yamaha ได้ทำการนำเอาเครื่องยนต์ของ YZF-R15 รุ่นล่าสุดที่มีแรงม้าสูงกว่า M-Slaz 2 ตัว

Yamaha-MT-15-Booth_03
โดยหากพูดถึงความรู้สึกที่ได้จากการลองกระแทกคันเร่งเจ้า MT-15 คันนี้ในจังหวะต่างๆทั้งตอนออกตัวจากความเร็วหยุดนิ่ง หรือตอนออกจากโค้งที่พึ่งทำการสลาลอมมา ตัวเครื่องยนต์ก็สามารถตอบสนองต่อคันเร่งได้กระฉับกระเฉงดีขึ้นกว่า M-Slaz อย่างเห็นได้ชัดจริง และถ้าหากเราเริ่มลากรอบเครื่องยนต์ต่อไปเรื่อยๆในช่วงทางตรง ก็จะยิ่งสัมผัสได้ถึงแรงดึงที่เครื่องยนต์ลูกนี้สามารถปั่นได้มากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวะที่ระบบวาล์วแปรผัน VVA ก็เริ่มทำงานที่ 7,400rpm ความไหลลื่นของกำลังก็จะยิ่งต่อเนื่องขึ้นไปอีกจนถึงช่วง Redline เลยทีเดียว (ถ้าเทียบกับ M-Slaz ของเดิมผู้เขียนมองว่ารอบมันหมดเร็วไปนิด)

Pon-Yamaha-MT-15_2
ปิดท้ายด้วยระบบสลิปเปอร์คลัชท์ที่ต้องบอกตามตรงว่านี่คืออีกจุดที่สามารถช่วยแก้อาการล้อหลังล็อกจากการการเชนจ์เกียร์ลงหนักๆได้ดี เพราะในจังหวะที่ทดสอบนั้น ทางผู้เขียนไม่ได้ใช้วิธีการเชนจ์เกียร์ลงแบบปกติทั่วไปที่ต้องเบิ้ลเครื่องไว้รอก่อนปล่อยคลัทช์ในแต่ละจังหวะที่ต้องเชนจ์เกียร์ลง 1 สเต็ป แต่ใช้วิธีการกำคลัชท์แล้วเชนจ์เกียร์ลงโดยที่ไม่ได้เบิ้ลเครื่อง และปล่อยคลัชท์ออกทั้งอย่างนั้น ซึ่งผลปรากฏว่าแม้อาการล้อสับที่ล้อหลังจะไม่ได้หายไปจนหมดสิ้น แต่ก็ยังถือว่าเกิดขึ้นน้อยมากๆ ซึ่งต่างจาก 2019 YZF-R3 ที่เราเดินคันเร่งไปจนสุดทางตรง และเชนจ์เกียร์ลง ล้อหลังล็อกดังเอี๊ยดออกมาทันที

Yamaha-MT-15-Booth_18
ในส่วนของระบบกันสะเทือน เหมือนเดิมทั้งหน้า-หลัง นั้นก็คือ โช้กหน้า UpSideDown ขนาดแกน 37 มม. แกนสีทอง มีระยะยุบ 130 มม.

Yamaha-MT-15-Booth_22
และด้านหลัง Monoshock วางบนสวิงอาร์มอลูมีเนียม

Yamaha-MT-15-Booth_05
ขณะที่ไซส์ยางหลังใหญ่ขึ้นอีก 10 มม. โดยรวมทำให้ การเข้าโค้งเทโค้งนั้นมีพื้นที่สัมผัสมากขึ้น ทำให้องศาในการเลี้ยว นั้นเทโค้งได้มากกว่าเดิมอีกหน่อย

Pon-Yamaha-MT-15_1
ส่วนการควบคุมรถในทางซอกแซก ที่แคบ เราต้องเรียนตามตรงว่าฟีลลิ่งไม่หนีจาก M-Slaz เดิมนัก คือ ยังคล่องแคล่ว และโช้กหน้าซับแรงดีเหมือนเดิม แต่ทาง Yamaha เคลมไว้ว่า องศามุมแคสเตอร์ลดลงเล็กน้อย เหลือ 25.7 จากเดิม 26 ช่วยให้มีความคล่องตัวมากขึ้น

Yamaha-MT-15-Booth_17
ในด้านของระบบเบรกนั้น น่าเสียดายที่ Yamaha ยังไม่ได้ติดตั้งระบบป้องกันล้อล็อค ABS มาให้ แต่จากการสัมผัสฟีลลิ่งโดยรวมถึงว่าเจ้า MT-15 สามารถเบรกได้มั่นคงขึ้น ส่วนนึงอาจจะเป็นเพราะการแก้ไขในเรื่องจุดศูนย์ถ่วงตัวรถ และปรับเช็ตมุมเรค/ระยะเทรลใหม่ จึงมีผลเกี่ยวกับเรื่องนี้ในทางอ้อม

Review-Yamaha-MT-15_2
สรุป รีวิว Yamaha MT-15 สัมผัสครั้งแรกในโลก โดยหลักๆ แล้ว ก็จะเด่นเรื่องของกำลังจากเครื่องยนต์ VVA 155cc ที่ยกมาจาก 2017 YZF-R15 ขณะที่การควบคุมนั้นดีกว่าเดิมเล็กน้อย ในเรื่องของความคล่องตัวและ น้ำหนักที่ลดลง รวมถึงน่ายางที่กว้างขึ้นให้เราเทโค้งได้องศามากขึ้นอีกหน่อย
เอาเป็นว่า แพงขึ้น 8,000 บาท แลกกับหน้าตาที่ดูแบบพี่ใหญ่ MT-09 และได้เครื่องใหม่ แรงขึ้กว่าเดิมอย่างเห็นได้ชัดก็ถือว่า คุ้มค่าแล้วล่ะ สำหรับราคา Yamaha MT-15 อยู่ที่ 98,500 บาท

ภณ เพียรทนงกิจ Test Driver + Photos

เก็บตกบรรยากาศการทดสอบ 2019 MT-15 ในสนาม YRA

อ่านรีวิว อื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่นี่
อ่านข่าว Yamaha เพิ่มเติมได้ที่นี่

เพื่อนๆ Bikers สามารถติดตามข่าวสารวงการล้อ ได้ทางแฟนเพจ MotoRival ของเราครับ

Share.

About Author

error: Content is protected !!