Tip Tricks : ABS ทำงานช่วยเรายังไง ? ทำไมถึงควรมี ?

0

ระบบเบรก ABS ถือเป็นระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ที่มีมาให้เห็นในรถมอเตอร์ไซค์กันได้ไม่ต่ำกว่า 30 ปีเข้าไปแล้ว นับตั้งแต่เปิดตัวครั้งแรกบนสปอร์ตทัวร์ริ่งรุ่น K100 ปี 1988 ของทาง BMW แล้วทาง Honda ได้นำมันมาติดตั้งให้กับรถมอเตอร์ไซค์ของพวกเค้าในภายหลังกับ 1992 ST1100 จนกระทั่งในปี 2008 พวกเค้าก็นำมันไปใช้กับ CBR1000RR ซึ่งถือเป็นรถแนวซุปเปอร์สปอร์ตเป็นรายแรกของโลกที่ได้รับการติดตั้งระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ชุดนี้ หลังจากนั้นเหล่าผู้ผลิตๆค่ายอื่นๆจะเริ่มนำไปใช้กับซุปเปอร์ไบค์เรือธงของตนเอง และในตอนนี้ระบบ ABS ก็ได้ถูกติดตั้งเป็นอุปกรณ์พื้นฐานให้กับรถมอเตอร์ไซค์ระดับ 125cc เป็นทืี่เรียบร้อย

รีวิว-Ducati-Monster-821-(M821)_49
สำหรับชื่อเต็มของระบบ ABS ก็คือ “Anti-Lock Brake System” หรือแปลไทยๆได้ว่า “ระบบป้องกันล้อล็อค” ซึ่งเราเชื่อว่าเพือ่นๆหลายคนคงรู้จักมันพอสมควร แต่ในที่นี้ มีใครรู้บ้างมั้ยครับว่ามันมีที่มาจากไหน ทำไมมันถึงเกิดมา แล้วมันทำงงานได้อย่างไร ในวันนี้ MotoRival จะขออธิบายให้เพื่อนๆได้ทราบกันในบทความ Tip Tricks ครั้งนี้ครับ

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า ทำไมถึงต้องมี ABS ?

Ducati-XDiavel-S_RSD-Full-Muscle_07
อย่างที่เราทราบกันดีว่าในการขับขี่บนท้องถนนแต่ละครั้งนั้น เราจะต้องเจอกับความเสี่ยงมากมายที่พร้อมจะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ทั้งการถูกรถคันอื่นปาดหน้า การขับออกยูเทิร์นหรือซอยมาโดยไม่เช็คให้ดีก่อนว่าเรากำลังจะพุ่งไป หรือแม้กระทั่งการเดินข้ามฝั่งถนนของคนที่ไม่รู้จักมองซ้ายมองขวา หรือต่อให้มองก็กะความเร็วของวัตถุที่กำลังพุ่งเข้าหาไม่เป็น ซึ่งทางที่ดีที่สุดของเราคือการเบรกเพื่อชะลอก่อนจะไปชนกับทุกสิ่งที่เรากล่าวมาทั้งหมด

Triumph-Thruxton-R-Detail_01
แล้วถ้ายิ่งชะลอมาเท่าไหร่ก็ยิ่งรู้สึกว่าไม่ทันล่ะ ?

Suzuki-GSX-S1000-S1000f-Detail_01
ใช่ครับ โดยสัญชาตญาณคนเราก็คือกำเบรกให้แน่นที่สุดเท่าที่จะได้ แต่หลายครั้งที่เรา “กำเบรกแน่นเจนแรงจับขอผ้าเบรกกับจานเบรกนั้นมีมากกว่าแรงเสียดทานของหน้ายางกับพื้นถนน” และผลที่เกิดขึ้นก็คือ “ล้อล็อค” นั่นเอง

ดังนั้นเพื่อไม่ให้เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น เราจึงต้องทำแทบทุกวิถีทางเท่าที่จะทำได้ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนยางชุดใหม่ที่หนึบขึ้นกว่าเดิม การฝึกกับอาจารย์ในศูนย์ฝึกเกี่ยวกับวิธีการคลอเบรก และสารพัดวิธีอีกมากมายอย่างเช่นการลดจำนวนนิ้วที่ใช้ในการกำเบรกเพื่อลดแรงกำที่เกิดขึ้นกับก้านเบรก (ซึ่งวิธีนี้อาจารย์ในศูนย์ฝึกไม่แนะนำเท่าไหร่นะครับ เพราะจะทำให้เราใช้เบรคได้ไม่เต็มที่แทน) แต่ใครจะทำอย่างนั้นได้ตลอดล่ะครับ เพราะยางใหม่ก็แพง จะให้มาฝึกแรง แต่ถ้าเผลอมันก็คือพลาด

2016-KTM-690-Duke-R_Brake_4
จากความยุ่งยากทั้งหมดที่กล่าวมา ทำให้ทางวิศวกรคิดว่าในเมื่อคนเราจัดการกันยากขนาดนั้น ก็ให้ระบบอิเล็กทรอนิกส์จัดการมันซะเลย ซึ่งนั่นก็คือต้นกำเนิดของระบบ ABS

ducati-multistrada-enduro_brake_2
โดยหลักการคร่าวๆของ ABS คือทำยังไงก็ได้ให้แรงดันในปั๊มเบรกไม่มากเกินไปจนทำให้แรงเสียดทานระหว่างผ้าเบรกกับจานเบรกสูงกว่าแรงเสียดทานของยางกับผิวถนน ซึ่งถ้าจะให้ระบบดังกล่าวมาคำนวนแรงเบรกหรือเกลี่ย/คลอแรงเบรกให้พอดีก็คงจะยากเกินไปนัก ทางวิศวกรจึงจัดการเปลี่ยนใหม่เป็นการตัดแล้วต่อแรงดันภายในปั๊มเบรก ตามสถานการณ์ขณะนั้น

2016-KTM-690-Duke-R_Brake_1
กล่าวคือ “ถ้าเกิดระบบพบว่าล้อของรถเกิดล็อคขณะเบรกขึ้นมา กล่องควบคุมการทำงานของระบบ ABS จะสั่งการให้ตัวควบคุมแรงดันน้ำมันเบรกลดแรงดันในระบบลงจนกว่าล้อจะหมุนต่อไปอีกรอบ” และจะวนอยู่อย่างนั้นจนกว่าผู้ใช้จะปล่อยเบรกหรือรถจอดสนิท ซึ่งความถี่ของการเพิ่มลดแรงดันนั้นอยู่ในหลักมากกว่า 50 ครั้ง/วินาทีเป็นอย่างต่ำเลยทีเดียวกับระบบสมัยใหม่

Kawasaki-Z900_Brake-Front_2
แต่ทีนี้ถ้าจะให้ระบบมารอปรับแรงดันเบรกตอนล้อล็อค ก็คงดูจะเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุมากเกินไป วิศวกรจึงเลือกปรับวิธีคิดใหม่เป็น ระบบจะตัดต่อ หรือลดแรงดันน้ำมันเบรก ตามความต่างในการหมุนของล้อหน้า-หลังที่ผิดเพี้ยนไปจากค่าที่กำหนดไว้

โดยตั้งเกณท์ความต่างในการหมุนของล้อไว้คร่าวๆว่า ถ้าหากความเร็วล้อใดล้อหนึ่ง เกิดหมุนไม่สัมพันธ์กับความเร็วของล้ออีกวง อย่างที่ควรจะเป็น หรือล้อทั้งสองมีอัตราการลดความเร็วลงไวกว่าค่าที่กำหนดไว้ ระบบก็จะทำการลดแรงดันเบรกทันที และแน่นอนว่าตัวเลขค่าเกณท์ดังกล่าวไม่ได้เป็นค่าตายตัว แต่จะออกแบบให้ตัวเลขแปรผันตามความเร็วที่ใช้อยู่ด้วย ดังนั้นวิศวกรจึงสามารถตั้งค่านี้ได้ตามความเหมาะสมของรถแต่ละประเภท ซึ่งนี่ก็เป็นเหตุผลที่ว่ารถทำไมรถแต่ละคัน แต่ละรุ่นถึงมีความไวในการทำงานของระบบ ABS ไม่เท่ากันนั่นเอง

2017-YZF-R6-TH-Launch_05
ยกตัวอย่างเช่นในรถแนวทัวร์ริ่งหรือรถใช้งานทั่วไป วิศวกรรอาจจะออกแบบตัวเลขเกณท์การแปรผันของการลดความเร็วให้ต่ำหน่อย เพื่อที่ระบบจะได้ตัดแรงดันตั้งแต่เนิ่นๆ ก่อนที่ล้อจะล็อคและผู้ขับขี่จะคุมรถไม่อยู่ ในขณะที่รถแนวซุปเปอร์สปอร์ตทั้งหลายจะมีตัวเลขเรทดังกล่าวสูงมากเพื่อให้ระบบตัดกำลังยากขึ้นหน่อย เพราะหน้ายางติดรถนั้นหนึบพอสมควร ส่งผลให้เรทการลดความเร็วของล้อนั้นย่อมสูงเป็นธรรมชาติอยู่แล้ว และถ้าระบบรีบตัดกำลังเบรกเร็วเกินไป ก็จะทำให้กลายเป็นเบรกไม่อยู่และหลุดโค้งไปแทน

อ่าน Tips Trick เพิ่มเติมได้ที่นี่

Share.

About Author

error: Content is protected !!