Tips Trick : ปั๊มเบรก Radial Mount vs ปั๊มเบรก Axial Mount (ธรรมดา) ต่างกันยังไง ?

0

เมื่อพูดถึงปั๊มเบรกล่าง เชื่อว่าหลายคน ที่แต่งรถคงจะรู้จักกับปั๊มล่างแบบแอกเซียลเมาท์ (Axial Mount) และเรเดียลเมาท์ (Radial Mount) แน่นอน ซึ่งในวันนี้เราก็จะมาอธิบายถึงข้อแตกต่างระหว่างปั๊มเบรกทั้ง 2 รูปแบบนี้กันครับ ว่ามันมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง ?

GPX-Legend-250-Twin-Review-21
เริ่มจากปั๊มเบรกแบบ Axial Mount คือ แบบมาตรฐานที่ติดตั้งในมอเตอร์ไซค์แม่บ้านทั่วๆไปจนถึงระดับบิ๊กไบค์รุ่นใหญ่ที่ราคาไม่สูงมากนัก ซึ่งจุดสังเกตก็คือ มันจะจะวางตำแหน่งโบลท์ (หรือคุ้นหูหน่อยก็คือแนวน็อต) ให้ยึดแบบขวางกับแนวคาลิปเปอร์เบรคและจานเบรก หรือเอาแบบชาวบ้านคือ ขันจากด้านข้างคาลิปเปอร์พุ่งเข้าไปหาแนวจานเบรก

2019-gpx-gentleman-racer-200-review-detail-16
ส่วน Radial Mount ที่มักจะมากับรถซุปเปอร์ไบค์ตัวแรงๆหรือมอเตอร์ไซค์ตัวแข่งเท่านั้น แต่ในยุคหลังๆเรามักจะเห็นเหล่าผู้ผลิตเลือกใช้ปั๊มเบรกแบบนี้กับรถมอเตอร์ไซค์ตัวเล็กๆด้วย ก็จะวางตำแหน่งการขันโบลท์ขนานตามแนวคาลิปเปอร์และจานเบรก หรือเสียบเข้าไปตรงๆจากหลังคาลิปเปอร์เบรกพุ่งเข้าหาแนวแกนโช้ก

2020-gpx-gr200r-1st-impression-08
งั้นถ้ามีคนถามต่ออีกว่า ประโยชน์ทั้ง 2 แบบนี้มีดีต่างกันอย่างไร? คราวนี้คนที่ตอบได้คงมีน้อยลงไปมาก ดังนั้นในบทความนี้เราจะพูดถึงประโยชน์ของ ปั๊มเบรกล่าง Radial ดีกว่าแบบ Axial ยังไง?

Review-GPX-Legend-Gentleman_200_Brake_2
สำหรับการยึดปั๊มเบรกแบบ Radial Mount มีข้อดีคือวิศวกรสามารถออกแบบแนวการติดตั้งได้ตรงกับตำแหน่งจานเบรกมากกว่าแบบแอกเซียล และข้อดีของการติดตั้งแบบนี้ที่แท้จริงก็คือ เราสามารถใช้โบลท์ที่มีขนาดใหญ่กว่า และเกลียวยาวกว่า ดังนั้นเราจึงสามารถขันโบลท์ได้แน่นกว่า แน่นอนว่ามันทำให้ปั๊มเบรคเคลื่อนไปมาได้น้อยลงกว่าเดิม ระยะห่างของผ้าเบรกก็จะไม่เหลื่อมล้ำไปทางด้านใดด้านนึงด้วยถ้าออกแบบระยะมาดีจริงๆ และยังสามารถส่งแรงเบรกได้เต็มที่มากกว่าแบบธรรมดาอีกด้วย

2019-gpx-gentleman-racer-200-review-detail-12
แต่ถ้าเพื่อนๆจะให้เทียบกันตรงๆว่าประโยชน์ที่ได้จากการปรับเปลี่ยนลักษณะการยึดคาลิปเปอร์เบรกเช่นนี้ว่า มันเห็นผลต่างมากแค่ใหนแล้วล่ะก็ จริงๆคือมันน้อยนิดมากครับ แต่อย่าลืมนะครับว่าในการแข่งขัน แม้เพียงน้อยนิดก็สามารถเห็นผลแพ้ชนะได้ ดังนั้นประโยชน์จริงๆของการยึดปั๊มเบรคแบบ Radial Mount จึงเห็นผลอยู่ในสนามซะมากกว่า แต่ในการใช้งานบนท้องถนนทั่วไปนั้น มันมีแค่ความสวยงามหรือความเท่เท่านั้นเองครับ

2020-gpx-demon-gr200r-review-48
อย่างไรก็ดี หากรถมอเตอร์ไซค์เดิมๆของเพื่อนๆใช้เบรกแบบแอกเซียลเมาท์ หรือ โฟลทติ้งเมาท์ (ยึดด้วยการขันโบลท์ หรือน็อตแนวเดียวกัน ต่างกันแค่อันนึงฐานจะขยับไม่ได้ อีกอันหนึ่งฐานคาลิปเปอร์จะขยับได้เพื่อเหตุผลบางประการ) อยู่แล้ว การจะเปลี่ยนไปใช้คาลิปเปอร์เบรกแบบเรเดียลเมาท์นั้น ก็จำเป็นจะต้องมีการเสริมอะแดปเตอร์ออกมาเพื่อแปลงฐานยึดเบรกตรงแกนโช้กให้เรเดียลเมาท์คาลิปเปอร์ยึดได้อยู่ดี ซึ่งถ้าหากอะแดปเตอร์ที่ใส่เข้าไปออกแบบมาไม่ดี แทนที่จะได้ใช้ประสิทธิภาพของปั๊มเรเดียลเมท์อย่างเต็มที่ งานนี้กลายเป็นว่ามันจะก่อปัญหาในการใช้งานมากกว่าแทน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของระยะฟรีของผ้าเบรกกับจานเบรก เนื่องจากระนาบคาลิปเปอร์ไม่ตรงกับแนวจาน

GPX-Demon-GR200R_01
นอกจากนี้เพื่อนๆต้องไม่ลืมว่า แม้เราจะแปลงคาลิปเปอร์เบรกเป็นเรเดียลเมาท์แล้ว แต่สุดท้ายมันก็ยังถูกยึดบนฐานโช้กที่เป็นแอกเซียลเมาท์เหมือนเดิม ดังนั้นประโยชน์เกี่ยวกับเรื่องจุดยึดของปั๊มแบบเรเดียลเมาท์จึงไม่มีผลในการใช้งานอยู่ดี และด้วยความที่จุดยึดเพิ่มขึ้น จาก 1 จุดยึด / น็อต 2 ตัว เป็น 2 จุดยึด / น็อต 4 ตัว ก็หมายความว่ามีโอกาสมากขึ้นที่คาลิปเปอร์เบรกจะสามารถขยับตัวได้หากน็อตที่ใช้ขันไม่แน่พอ ซึ่งแน่นอนว่ามันยิ่งส่งผลถึงความปลอดภัยในการใช้งาน

รีวิว New GPX Demon GR200R
ดังนั้นก่อนที่เพื่อนๆจะแปลงคาลิปเปอร์เบรกจากแบบแอกเซียลเมาท์ เป็นเรเดียลเมาท์ จึงควรศึกษาวิธีให้ดีก่อน เพราะเรื่องของระบบเบรกถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆในการใช้งานยานพาหนะ แถมการแปลงคาลิปเปอร์แต่ละครั้งมักใช้งบประมาณที่ค่อนข้างสูงกว่าการหยิบปั๊มที่เป็นแอกเซียลเมาท์มาใส่ตรงๆ ยังไงก็อย่าลืมคำนวณตัวเลขตรงนี้เผื่อไว้ด้วยนะครับ

ขอบคุณภาพรถนายแบบจาก GPX

อ่าน Tip Tricks เพิ่มเติมที่ได้ที่นี่
อ่านข่าว GPX เพิ่มเติมที่นี่

เพื่อนๆ Bikers สามารถติดตามข่าวสารวงการล้อ ได้ทางแฟนเพจ MotoRival ของเราครับ

Share.

About Author

error: Content is protected !!