Tips Trick : เฟรม (โครง) มอเตอร์ไซค์มีหลักๆกี่แบบ ?

0

ในปัจจุบัน รถมอเตอร์ไซค์ที่มีให้เราได้เลือกซื้อนั้น มีหลากหลายชนิดมาก จนบางครั้งเราแทบจะไม่สามารถระบุชนิดของมันแบบตรงตัวได้ (เพราะผู้ผลิตออกแบบผสมจนเป็นรถลูกครึ่งเต็มไปหมด) และเมื่อเป็นเช่นนั้น ชุดเฟรม หรือโครงรถ จึงเป็นส่วนสำคัญอย่างมากที่ต้องออกแบบขึ้นมาเพื่อให้รองรับกับการใช้งานของรถมอเตอร์ไซค์ประเภทนั้นๆ

เพราะหากเปรียบเทียบโครงรถเหมือนกับอวัยวะอย่างใดอย่างนึงของคนเราล่ะก็ มันก็เปรียบเสมือนกับโครงกระดูกสันหลังของเราที่เป็นแกนกลางสำหรับยึดอวัยวะต่างๆในร่างกายมนุษย์เลยทีเดียว ดังนั้นเราขอพาเพื่อนๆมาดูกันหน่อยดีกว่าครับว่า ประเภทหลักๆของโครงรถที่ใช้กับรถมอเตอร์ไซค์ในปัจจุบันนั้น มีแบบใดบ้าง

01-03 Single_cradle_frame
เปลเดี่ยว
โครงรถแบบพื้นฐานที่สุด และน่าจะเป็นโครงรถแบบบุกเบิกที่สุด เพราะมีลักษณะพื้นฐานง่ายๆคือ เป็นท่อเหล็กท่อนเดียวด้านบนทำหน้าที่เป็นโครงยึึดหลักจากแกนคอลากมายังแกนกลางลำตัวรถเท่านั้น ส่วนโครงด้านล่างก็เป็นแบบท่อเดี่ยวเช่นกัน เพื่อรับน้ำหนักเครื่องยนต์ช่วงโครงด้านบน ส่วนใหญ่มักใช้ในรถมอเตอร์ไซค์ผู้ชายขนาดเล็ก หรือรถมอเตอร์ไซค์แนวเอนดูโร่ยุคแรกๆ

01-Honda-CRF250L-11-Semi-double-cradle-steel-frame-chassis1
เปลคู่
โครงรถแบบต่อยอดจากข้อแรก มีจุดต่างก็คือ ใช้ท่อเหล็กสองท่อนเชื่อมยึดจากแกนคอ แล้วแยกทางกันออกมาเพื่อรับกับเครื่องยนต์ขนาดใหญ่ขึ้น และตอนนี้ก็นิยมใช้กับรถมอเตอร์ไซค์แนวเอนดูโร่สมัยใหม่ด้วย (จริงๆในรถสกูตเตอร์รุ่นใหม่ๆเองก็ใช้เฟรมแบบนี้เช่นกัน ทว่าไม่ได้ทำเป็นเปลคู่เพื่อรับน้ำหนักเครื่องยนต์ แต่เอาไว้เสริมความแข็งแรงของตัวรถเป็นหลักมากกว่า)

01-cb600f-backbone-frame-01
แบคโบน
คล้ายกับข้อแรก แต่จะใช้โครงเหล็กตรงกลางแบบท่อเหล็กทรงเหลี่ยมขนาดใหญ่เพื่อให้มันสามารถรับน้ำหนักเครื่องยนต์ได้ด้วยตัวเอง และจะมีการต่อโครงยื่นลงมาทางด้านหน้าเท่านั้นเพื่อหิ้วเครื่องยนต์ ส่วนโครงเหล็กด้านล่างก็จะถูกตัดทิ้งไป ทำให้ตัวเฟรมมีขนาดเล็กกว่าเมื่อเทียบกับแบบที่สอง แต่ก็ได้ความเพรียวเหมือนกับแบบที่หนึ่ง

01-honda-wave110i-underbone-chassis-01
อันเดอร์โบน
เฟรมแบบท่อเหล็กเดี่ยวขนาดใหญ่ แต่จัดตำแหน่งท่อเหล็กที่ว่าให้อยู่ด้านล่างตัวรถแทน โดยเฟรมชนิดนี้ออกแบบมาเพื่อรองรับกับรถมอเตอร์ไซค์แม่บ้าน เนื่องจากต่ำแหน่งเครื่องยนต์อยู่ด้านล่าง และยังทำให้ตัวรถมีพื้นที่ว่างระหว่างแกนคอกับเบาะนั่ง ช่วยเพื่อความสะดวกสะบายให้กับผู้ขี่ได้ดีเลยทีเดียว

01-2016-honda-cbr1000rr-perimeter-frame-chassis-01
เฟรมทรงเรขาคณิต
เฟรมสมัยใหม่ที่เกิดขึ้นจากสนามแข่งโดยตรง ดังนั้นเราจึงมักเห็นมันประจำการอยู่ในเหล่ารถมอเตอร์ไซค์แนวซุปเปอร์ไบค์ หรือเหล่ามอเตอร์ไซค์รุ่นใหญ่กำลังเครื่องแรงๆทั้งหลาย เนื่องด้วยโครงสร้างขนาดใหญ่ แต่ใช้วัสดุน้ำหนักเบาอย่างอลูมิเนียมในการขึ้นรูป ดังนั้นมันจึงเหมาะที่สุดที่จะนำไปใช้ในรถมอเตอร์ไซค์สมรรถนะสูงๆทั้งหลาย

01-honda-cbr300r-truss-frame-01
เฟรมถัก
อีกเฟรมสมัยใหม่ที่มีพื้นฐานคล้ายกับแบบก่อนหน้า เพราะเกิดมาเพื่อแก้จุดด้อยของมันโดยเฉพาะ นั่นก็คือการที่ทางวิศวกรเปลี่ยนจากการใช้อลูมิเนียมหล่อขึ่นรูป เป็นแบบท่อนเหล็กขัดกันไปมา เพื่อหวังลดขนาดและน้ำหนักเป็นหลัก (เมื่อเทียบกับวัสดุอลูมิเนียมหล่อธรรมดาๆ) แต่ยังคงไว้ซึ่งความแข็งแรงชนิดที่ไม่แพ้แบบทรงเหลี่ยม แถมยังมีต้นทุนวัสดุถูกกว่าอีกด้วย

01-ducati-1199s-chassis
เฟรมโมโนค็อก
เฟรมยุคล่าสุดที่ต่อยอดมาจากเฟรมทรงเหลี่ยมเช่นกัน แต่จะมีจุดต่างคือการที่ตัวเฟรมถูกหล่อขึ้นมาแบบชิ้นเดียว ไม่มีการตัด/ต่อ/เชื่อมใดๆทั้งสิ้น ทำให้มันมีความแข็งแรงสุดๆ แต่ในขณะเดียวกันก็แพงสุดๆเช่นกันเนื่องจากความยากในการขึ้นรูป ดังนั้นส่วนใหญ่แล้วเราจึงมักเห็นมันถูกใช้ในรถซุปเปอร์ไบค์ราคาสูงๆ อย่างเช่น Ducati Panigale

อ่าน Tips Trick อื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่นี่

เพื่อนๆ Bikers สามารถติดตามข่าวสารวงการล้อ ได้ทางแฟนเพจ MotoRival ของเราครับ

Share.

About Author

error: Content is protected !!