Tips Trick : ระบบคลัทช์ในรถมอเตอร์ไซค์ทำงานยังไง ?

0

ระบบคลัทช์ คือระบบกลไกที่มีส่วนสำคัญในการใช้งานยานพาหนะแทบทุกประเภทที่มีการใช้ชุดเฟืองเกียร์สำหรับทดรอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับรถมอเตอร์ไซค์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวี่ทุกวันอย่างมาก เนื่องจากมันคือตัวกลางสำคัญที่คอย ตัด/ต่อ กำลังจากเครื่องยนต์ไปยังชุดเฟืองเกียร์ ซึ่งคงมีเพื่อนๆอยู่ไม่มากก็น้อยที่อยากจะทราบว่าไอ้เจ้าชิ้นส่วนตรงนี้มันมีหน้าตาอย่างไร และทำงานยังไงกันแน่ ดังนั้นในวันี้เราจึงจะมาแถลงไขข้อสงสัยตรงนี้กันครับ

clutch-digram-01
และแน่นอน ก่อนที่เราจำไปพูดถึงหลักการทำงาน เราขอเริ่มไล่อธิบายจากหน้าตาภายนอกของมันก่อน โดยในระบบคลัทช์ปกติที่ใช้อยู่ในรถมอเตอร์ไซค์ ณ ปัจจุบัน จะมีชิ้นส่วนหลักๆอยู่ 6 อย่าง คือ

– สปริงคลัทช์ (3)
– แผ่นกดคลัทช์ (4)
– ผ้าคลัทช์ (8)
– แผ่นเหล็กคลัชท์ (9)
– เรือนคลัทช์ตัวใน (13)
– เรือนคลัทช์ตัวนอก (15)

wet-clutch-01
ซึ่งทั้งหมดที่ว่านี้จะประกอบรวมกันเป็นชุดเรือนคลัทช์ เพื่อเป็นตัวกลางการส่งกำลังจาก เฟืองเพลาข้อเหวี่ยง ไปยัง เฟืองเกียร์

แล้ว แรงจากเพลาข้อเหวี่ยงมันส่งต่อไปยังเฟืองเกียร์ ผ่านชุดคลัทช์ไปได้ยังไง ?

GSX-R1000-L5_engine
คือถ้าหากจะอธิบายให้ง่ายที่สุด ก็คงต้องไล่ลำดับตามนี้ครับ เริ่มจาก แรงที่ได้จากเครื่องยนต์ > ส่งตรงลงมาเพลาข้อเหวี่ยง > เฟืองเพลา > เรือนคลัทช์ตัวนอก > ผ้าคลัทช์ > แผ่นเหล็กคลัทช์ > เรือนคลัทช์ตัวใน > เฟืองเกียร์

อ้าว แล้วมันตัด/ต่อกำลังได้ยังไง ?

clutch-plate-01
งานนี้คงจะต้องลงลึกไปอีกนิด ที่จะเห็นได้ว่าตัว ผ้าคลัทช์ นั้นมีเขี้ยวหรือเฟืองอยู่รอบนอกตัวมันเอง ซึ่งเฟืองตรงนี้จะมีไว้เพื่อล็อคหรือยึดกับร่องของ เรือนคลัทช์ตัวนอก ขณะที่ แผ่นเหล็กคลัทช์ ก็จะมีนั้นมีเขี้ยวหรือเฟืองอยู่ด้านใน เพื่อล็อคหรือยึดกับร่องของ เรือนคลัทช์ตัวใน (หากงง ให้ลองย้อนกลับขึ้นไปดูรูปที่ 2 อีกครั้งนะครับ)

ทีนี้ โดยปกติแล้ว “ผ้าคลัทช์” กับ “แผ่นเหล็กคลัชท์” จะถูกเรียงซ้อนทับกันอยู่เป็นชั้นๆ เพื่อให้ของทั้งสองสิ่งนี้มันสัมผัสและมีแรงเสียดทานระหว่างกัน หรือเรียกเป็นภาษาบ้านๆว่า “จับกัน” เพื่อรับแรงจากเรือนคลัทช์ตัวนอก ส่งแรงต่อไปยังเรือนคลัทช์ตัวใน โดยตัว ผ้าคลัทช์ กับ แผ่นเหล็กคลัทช์ จะจับตัวกันได้เต็มหรือแน่นแค่ไหนนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับว่าตัว สปริงคลัทช์ จะกด แผ่นกดคลัทช์ ที่กดของทั้งสองสิ่งข้างต้นไว้แน่นแค่ไหนด้วย ซึ่งนี่คือช่วงของการ “ต่อกำลัง”

motorcycle clutch modification dans motorcycle repair clutches
ส่วนการ “ตัดกำลัง” ก็จะสวนทางกันนิดหน่อยกับการ “ต่อกำลัง” กลางคือ ในจังหวะที่เรากำก้านคลัทช์ตรงแฮนด์ด้านซ้ายมือนั้น จะเป็นการทำเพื่อสั่งให้ตัว “แผ่นกดคลัทช์ ลอยตัวออกจาก ผ้าคลัทช์ กับ แผ่นเหล็กคลัชท์” จึงทำให้ทั้งสองสิ่งนี้ไม่สามารถจับกันได้เต็มที่ และไม่สามารถส่งต่อกำลังจากเครื่องยนต์ไปยังเฟืองเกียร์ได้นั่นเอง

และทั้งหมดที่ว่ามานี่แหล่ะครับ คือหลักการการทำงานของระบบคลัทช์ในรถมอเตอร์ไซค์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ยังไม่รวมถึงชุดคลัทช์แรงเหวี่ยงที่มีอยู่ในกลุ่มรถมอเตอร์ไซค์แม่บ้าน, สกูตเตอร์ทั้งหลายนะครับ ไว้ถ้ามีโอกาส เราคงจะได้มาอธิบายกับเรื่องนี้กันอีกทีในภายหลัง ไม่ช้าก็เร็วแน่นอนครับ

ขอบคุณภาพจาก J&P Motorcycle

อ่าน Tips Trick อื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่นี่

เพื่อนๆ Bikers สามารถติดตามข่าวสารวงการล้อ ได้ทางแฟนเพจ MotoRival ของเราครับ

Share.

About Author

error: Content is protected !!