Tips Trick : สารพัดวิธี “ไล่เบา” ที่คุณเองก็ทำได้

0

การไล่เบา หรือ รีดน้ำหนักตัวรถ ถือเป็นเทคนิคขั้นพื้นฐานที่ตัวแข่งทุกคันต้องเจอ เนื่องจากยิ่งน้ำหนักรถเบาเท่าไหร่ กำลังที่ส่งออกมาจากเครื่องยนต์ก็สามารถใช้สร้างอัตราเร่งได้เต็มที่มากขึ้น (เร่งได้เร็วขึ้น) ในส่วนของการเบรก แรงเฉื่อยที่ทำให้รถเคลื่อนที่ไปข้างหน้าก็จะน้อยลง (เบรกสั้นลง) และการพลิกเลี้ยวรถก็ทำได้คล่องตัวกว่า แม้แต่ตอนจอดเราก็ไม่ต้องพะวงเรื่องการล้มแปะอีกเพราะขาเรายันน้ำหนักรถไหว แต่เราจะทำแบบนั้นกับรถที่ใช้งานทุกวันได้รึเปล่าล่ะ ?

Review-2021-Honda-GROM-Scrambler-Side
คำตอบคือทำได้ครับ แต่แน่นอนว่าเพื่อนๆจะต้องแลกกับการถอดส่วนควบต่างๆที่มากับรถออกไป ซึ่งในเบื้องต้นเพื่อนๆก็ต้องถอดชิ้นส่วนที่ไม่จำเป็นออกไปก่อน เนื่องจากไม่ต้องเสียตังค์ซื้อของแต่งเพิ่ม ไล่ตั้งแต่

– ถอดเซนเซอร์ปลายพักเท้า แต่ถ้าถอดออกก็ระวังด้วยเพราะจะไม่มีอะไรเตือนเราตอนที่รถเอียงจนหน้ายางใกล้หมด เว้นแต่เพื่อนๆจะใช้เข่าหรือปลายเท้าแทนซึ่งก็ไม่ปลอดภัยสำหรับการใช้งานบนถนนสาธารณะนะ)
– ถอดพักเท้าคนซ้อน แต่ทั้งนี้เพื่อนๆก็ต้องมั่นใจก่อนว่าเราไม่มีคนซ้อนจริงๆ เพราะถ้าเกิดมีใครอยากซ้อนขึ้นมา รับรองว่าเขาบ่นเมื่อยขายับแน่ๆ
– เอาชุดเครื่องมือออกจากใต้เบาะ ทว่าเพื่อนๆก็ต้องช่างใจไว้ด้วยว่าถ้าเกิดรถมีปัญหาขึ้นมา เราก็จะไม่มีเครื่องมือสำหรับการเซอร์วิสต์รถ หรือแกะรถเพื่อตรวจสอบปัญหาในเบื้องต้น

Ducati Panigale Corse 422 ARCTOS
แน่นอนทั้ง 3 วิธีที่เราบอกไป เป็นวิธีที่ไม่ต้องเสียเงิน แต่มันก็ลดน้ำหนักออกไปได้เพียงไม่กี่ขีด ดังนั้นถ้าหากเพื่อนๆมีงบมากพอ สเต็ปต่อไปคือการไล่เบาด้วยเงิน

– เปลี่ยนท่อไอเสีย ได้ทั้งปลายท่ออย่างเดียว หรือแบบยกเส้น เพราะท่อเดิมๆที่ติดรถมานั้นส่วนใหญ่แล้วมีน้ำหนักค่อนข้างมาก การเปลี่ยนปลายท่อไอเสียเพียงใบเดียวก็อาจทำให้น้ำหนักหายไปหลักๆ 2-3 กิโลกรัม แต่แน่นอนว่ามันก็จะสร้างมลพิษทั้งทางเสียงและทางอากาศให้กับผู้อื่นด้วย และก็เสี่ยงมีปัญหากับตำรวจด้วย หากท่านใช้วิจารณญาณๆในการฟังมากไป (เอะอะบอกดัง ไม่ก็อ้างส่วนควบ ทั้งๆที่จริงในกฏหมายไม่ได้พูดถึงเรื่องชิ้นส่วนท่อไอเสีย กำหนดเรื่องเสียงเพียงอย่างเดียว)
– เปลี่ยนท้ายสั้น แต่อย่าลืมเลือกแบบที่สามารถติดป้ายทะเบียนตามองศาเดิมได้ เพราะไม่เช่นนั้นอาจจะมีปัญหากับพี่ตำรวจเอา
– เปลี่ยนแบตเตอรี่เป็นแบบเซลล์ลิเทียม-ไอออน เพราะแบตเตอรี่ชนิดนี้ส่วนใหญ่แล้วมีน้ำหนักเบากว่าแบตฯปกติราวๆ 1-1.5 กิโลกรัมเลยทีเดียว
– เปลี่ยนสเตอร์อลูมิเนียม เพราะอลูมิเนียมมีน้ำหนักที่เบากว่าเหล็ก แถมการขึ้นรูปของสเตอร์พวกนี้ก็มักจะมีการกัดร่องเพื่อไล่เบาลงอีก แต่ทั้งนี้ ด้วยความที่เนื้ออลูมิเนียมอ่อนกว่าเนื้อเหล็ก ดังนั้นอายุการใช้งานของมันย่อมน้อยกว่าอยู่แล้ว (แต่ถ้าเพื่อนๆดูแลดีมากพอ อายุการใช้งานของมันก็อาจนานพอหรือนานกว่าคนที่ใช้สเตอร์เหล็กแต่ไม่ดูแลก็ได้)

2020-honda-cbr1000rr-r-carbon-genuine-part-02
– เปลี่ยนไปใช้พาร์ทแต่งงานอลูมิเนียม หรืองาน CNC เช่น มือเบรก, มือคลัทช์, พักเท้าแต่ง, เกียร์โยง เป็นต้น แต่แน่นอนว่าของพวกนี้ก็ลดน้ำหนักจากของเดิมได้ไม่มาก (เอาน่า..อย่างน้อยก็ถือว่าได้ลด)
– เปลี่ยนชุดบอดี้พาร์ทจากงานพลาสติก เป็นงานเพียวคาร์บอน (ย้ำว่างานเพียวคาร์บอน ไม่ใช่งานหุ้มคาร์บอน)
– เปลี่ยนไปใช้ล้ออลูมิเนียมฟอร์จ ซึ่งแน่นอนว่าคู่นึงก็มีตั้งแต่หลักหลายหมื่นไปจนถึงหลักแสนบาท (หรือจะเปลี่ยนเป็นล้อคาร์บอน ไม่ก็ล้อแมกนีเซียมก็ได้ แต่ล้อพวกนี้ไม่ใช่แค่แพงหลักหลายแสนเท่านั้น แต่ยังมีอายุการใช้งานที่จำกัดด้วย ทำให้มันอาจไม่เหมาะสำหรับการใช้งานในชีวิตประจำวันเท่าไหร่นัก เว้นเสียแต่ว่าเพื่อนๆจะไม่ติดเรื่องทุนทรัพย์ล่ะก็น่ะครับ)

อ่าน Tips Trick เพิ่มเติมที่นี่

Share.

About Author

error: Content is protected !!