Tips Trick : ไขคำตอบ “คันเร่งไฟฟ้า” ทำงานยังไง ? แล้วดียังไง ?

0

“คันเร่งไฟฟ้า” หรือ “Ride-By-Wire” ถือเป็นเทคโนโลยีที่เราได้ยินมาแล้วพักใหญ่ในโลกรถมอเตอร์ไซค์โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ใช้รถมอเตอร์ไซค์ระดับ Hi-End ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น บิ๊กทัวร์ริ่ง, บิ๊กแอดเวนเจอร์-ทัวร์ริ่ง, และซุปเปอร์สปอร์ตไบค์เรืองธงของแต่ละค่าย เป็นต้น แล้วอันที่จริงมันทำงานยังไง ? มันมีข้อดียังไง ? เรามาว่ากันเลยครับ

Kawasaki ZX-10R ใช้คันเร่งแบบลูกผสม คือใช้สายตรงส่วนประกับ แต่จะเชื่อเติมกับเซนเซอร์คันเร่งที่อยู่บริเวณด้านในตัวรถอีกที เพื่อความปลอดภัยของเซนเซอร์หากรถล้มขึ้นมา

Kawasaki ZX-10R ใช้คันเร่งแบบลูกผสม คือใช้สายตรงส่วนประกับ แต่จะเชื่อเติมกับเซนเซอร์คันเร่งที่อยู่บริเวณด้านในตัวรถอีกที เพื่อความปลอดภัยของเซนเซอร์หากรถล้มขึ้นมา

ก่อนอื่น หากกล่าวถึง “ระบบคันเร่งสาย” ที่รถมอเตอร์ไซค์ส่วนใหญ่ใช้อยู่โดยปกติแล้ว เวลาที่เราบิดคันเร่ง “ตัวสายคันเร่งที่โยงอยู่กับประกับคันเร่งจะเชื่อมต่อกับลูกชักด้านใน” (หากเป็นรถมอเตอร์ไซค์ที่จ่ายน้ำมันด้วยระบบคาร์บูเรเตอร์) “หรือลิ้นปีกผีเสื้อ” (เห็นได้ในรถมอเตอร์ไซค์ที่จ่ายน้ำมันด้วยระบบหัวฉีดยุคปัจจุบัน กับระบบคาร์บูเรเตอร์บางรุ่น) ดังนั้นจึงเท่ากับว่า สิ่งที่เราควบคุมเวลาต้องการจะเร่งรถคือ ปริมาณน้ำมัน หรือ ปริมาณอากาศ อย่างใดอย่างหนึ่งที่ไหลเข้าสู่เครื่องยนต์โดยตรงด้วยระบบกลไกปกติ

2016-Kawasaki-ZX-10R-World-Premiere_09
แต่แม้ว่าการควบคุมอัตราการจ่ายน้ำมันของคาร์บูเรเตอร์ หรือปริมาณของอากาศด้วยการสั่งงานลิ้นปีกผีเสื้อโดยตรงในรถมมอเตอร์ไซค์หัวฉีดแม่บ้านที่เราใช้กันอยู่ทุกวันจะฟังดูดี ทว่าแท้จริงแล้วสิ่งที่ทำให้เครื่องยนต์สามารถเผาไหม้ได้อย่างสมบูรณ์ในทุกๆรอบเครื่องยนต์ ซึ่งจำเป็นอย่างมากในยุคที่เคร่งเรื่องมลพิษแบบนี้ คือความสัมพันธ์ของส่วนผสมระหว่างน้ำมันกับอากาศในไอดี ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้เลยที่มือของเราจะสามารถควบคุมทั้ง 2 สิ่งนี้ให้สัมพันธ์กันได้แบบ 100% อย่างที่ควรจะเป็น

Throttle-by-wire
ขณะที่สำหรับ “ระบบคันเร่งไฟฟ้า” ก็จะเปลี่ยนจากการ “โยงสายคันเร่งตรงประกับแฮนด์” ไปยังลูกชักหรือลิ้นปีกผีเสื้อโดยตรง เป็นการโยงไปยัง “ชุดเซนเซอร์วัดองศาการเปิดคันเร่ง” (เป็นเซนเซอร์หลักในการทำงาน) โดยอาจจะติดตั้งไว้ใกล้ๆกับลิ้นเร่ง ยกตัวอย่างเช่น Kawasaki ZX-10R, Yamaha YZF-R1 หรือบางรุ่นก็ติดตั้งเซนเซอร์ไว้ตรงประกับแฮนด์เลยแบบ Honda CBR1000RR (รุ่นที่ยังขายอยู่ในบ้านเราตอนนี้), และ CBR250RR ก็ได้ เพื่อให้กล่อง ECU คำนวนข้อมูลก่อนว่าในตอนนี้เครื่องยนต์ต้องการทั้งปริมาณน้ำมันกับปริมาณอากาศเท่าไหร่กันแน่ ถึงจะสัมพันธ์กับรอบเครื่องยนต์ และได้อัตราเร่งตามที่ผู้ขี่ต้องการอีกทอดหนึ่ง

how-ride-by-wire-works-02
ไม่เพียงเท่านั้น ด้วยความอิสระในเรื่องของการทำงานระหว่างลิ้นปีกผีเสื้อกับหัวฉีด ทำให้วิศวกรสามารถโปรแกรมกราฟการทำงานร่วมกันของทั้ง 2 สิ่งได้ตามใจมากขึ้น ดังนั้นเราจึงเห็นได้ว่าเมื่อใดก็ตามที่รถมอเตอร์ไซค์คันนั้นๆ มาพร้อมกับระบบคันเร่งไฟฟ้าแล้ว มันก็มักจะมีโหมดการทำงานของเครื่องยนต์ (Engine Mode, Engine Brake Control) ให้เลือกหลากหลายกว่า โดยอาศัยทั้งการคุมอัตราการจ่ายน้ำมัน และอัตราความเร็วในการเปิด/ปิดลิ้นปีกผีเสื้อ

Sykes-66-BMW-S1000RR
ส่วนระบบความปลอดภัยอื่นๆเช่น แทร็คชันคอนโทรล, Anti-Wheelie, Launch-Control ต่างก็สามารถทำงานได้อย่างลื่นไหลมากยิ่งขึ้นเมื่อมีเทคโนโลยีคันเร่งไฟฟ้านี้ ส่วน Auto-Blipper ที่เป็นส่วนสำคัญของระบบควิกชิฟท์เตอร์แบบ 2 ทาง ขึ้น/ลง ก็ยิ่งจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีนี้ในการทำงาน แม้แต่ระบบเพื่อความสะดวกสบายอย่าง Cruise-Control ก็เช่นกัน

2015-Yamaha-YZF-R6-EU-Race-Blu
*เพิ่มเติม แม้เราจะบอกว่าระบบคันเร่งไฟฟ้านี้นิยมใช้ในรถมอเตอร์ไซค์คลาสเรือธงของค่าย แต่แท้จริงแล้ว มันถูกใช้อย่างจริงจังในรถมอเตอร์ไซค์ขายจริงเป็นครั้งแรกในเจ้า Yamaha YZF-R6 รุ่นปี 2006-2016 ภายใต้ชื่อเทคโนโลยีว่า YCCT ทว่ามันยังเป็นระบบที่ต้องทำงานร่วมกับชุดคันเร่งสายอยู่ดี เพื่อความปลอดภัยกรณีเซนเซอร์คันเร่งไม่ทำงาน (จะได้ยังมีสายคันเร่งไว้คุมลิ้นปีกผีเสื้อโดยตรงอยู่) ดังนั้นพวกเขาจึงไม่บอกว่าของตนเป็นคันเร่งไฟฟ้า และมันก็เป็นหลักการเดียวกันกับที่ Kawasaki ใช้อยู่ในตอนนี้ กับรถมอเตอร์ไซค์ของตนหลายๆรุ่น

ขอบคุณภาพเพิ่มเติมจาก Thaioverdrive

อ่าน Tips Trick เทคนิคที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่นี่

เพื่อนๆ Bikers สามารถติดตามข่าวสารวงการล้อ ได้ทางแฟนเพจ MotoRival ของเราครับ

Share.

About Author

error: Content is protected !!