Tips Trick : เซ็ทสปริงแข็ง-อ่อน (เซ็ท SAG) อย่างไร ? ให้เหมาะกับตัวเรา

0

การปรับความแข็ง-อ่อนของสปริงโช้ก ถือเป็นสิ่งแรกๆที่ผู้ผลิตมักใส่เป็นออพชันติดโช้กเดิมจากโรงงานมาให้ และในขณะเดียวกันมันก็เป็นสิ่งแรกที่เพื่อนๆควรปรับเมื่อติดตั้งโช้กแต่งที่ใส่เข้าไปในภายหลังเช่นกัน ซึ่งแท้จริงแล้วมันควรจะเซ็ทอย่างไรกันแน่ ? เรามาว่าในบทความ Tips Trick ครั้งนี้กันเลยดีกว่าครับ

YSS-Monoshock-ZX-10RR
ก่อนอื่น ในความเป็นจริงแล้ว การเซ็ทความแข็ง-อ่อนของสปริง หรือพรีโหลด มันไม่ใช่แค่ว่าจะเซ็ทให้แข็งไว้ก่อน หรืออ่อนไปเลยตามความรู้สึกของตัวเราทั้งอย่างนั้น เพราะการเซ็ทความแข็ง-อ่อนของสปริงให้สามารถทำงานในการซับแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพจริงๆ จะต้องสัมพันธ์กับน้ำหนักที่รถคันนั้นๆต้องบรรทุก ทั้งน้ำหนักผู้ขี่, น้ำหนักผู้ซ้อน, หรือแม้กระทั่งน้ำหนักสัมภาระ ซึ่งแน่นอน เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าสปริงต้องแข็งเท่าไหร่กันแน่ถึงจะเหมาะสม เพราะทางผู้ผลิตย่อมไม่บอกมาและเซ็ตค่าไว้กลางๆ แต่ในขณะเดียวกันเราสามารถปรับเซ็ทมันได้ด้วยการดูจาก “ช่วงยุบของโช้ก” หรือก็คือ “ค่า SAG” ที่ใครหลายๆคนน่าจะเคยเห็นหรือได้ยินผ่านตาผ่านหูมาบ้างแล้ว

YSS-Smooth-G-Sport-Forza
โดยวิธีเซ็ทค่า SAG หลักๆแล้วเราจะมีทั้งหมดตัวเลข 3 ค่าที่ต้องหา นั่นคือ
1. Set Zero
คือ ค่าตัวเลขที่วัดความยาวรวมขณะโช้คยืดตัวสุด หรือ ระยะสโตรคก่อนยุบตัว หน่วยเป็น “มิลลิเมตร” ในโช้คหน้าแทนด้วย F1, ในโช้คหลังแทนด้วย R1
2. Free SAG
คือ ค่าตัวเลขที่วัดการยุบตัวของน้ำหนักรถที่กระทำต่อโช้คโดยที่ยังไม่มีผู้ขับขี่ ในโช้คหน้าแทนด้วย F2, ในโช้คหลังแทนด้วย R2
3. Rider SAG
คือ ค่าตัวเลขที่วัดการยุบตัวที่มีผู้ขับขี่นั่งอยู่บนรถรวมสัมภาระหรือผู้ซ้อนเเล้ว ในโช้คหน้าแทนด้วย F3, ในโช้คหลังแทนด้วย R3

*แต่สำหรับผู้ใช้ทั่วๆไป ให้เน้นการหาค่าที่ 1 คือ Set Zero ก่อนเพื่อใช้ในการคำนวนค่าที่ 3 คือ Rider SAG แค่นั้นพอ ไม่จำเป็นต้องคำนวนค่าที่ 2

โดยการหาค่า SAG
อย่างน้อยๆต้องมีเครื่องมือที่ใช้ในการวัด SAG ดังนี้
1. เทปกาว
2. ดินสอ หรือปากกา ธรรมดาๆ
3. ตลับเมตร
4. ผู้ช่วยยกรถ (อย่างน้อย 2 คน)

tirepressurecheck-01
วิธีการหาค่า SAG
1. เช็คลมยางควรให้เป็นไปตามค่าที่ใช้จริง หรือจะให้ดีควรเป็นค่ามาตรฐานตามสเปคยาง

YSS-Monoshock-R1
2. ควรรู้ค่า Preload Start ของโช้คตัวเอง (กรณีของโช้คหลังเท่านั้น หากโช้คหน้าที่เป็นชุดอัพเกรด หรือโช้คหน้า OEM ที่ปรับได้บางรุ่น ต้องถอดออกมาวัดค่า Fork Adjuster จึงขอข้ามไปก่อน) โดยดูที่รหัสสปริง 3 หลักสุดท้าย ลบด้วยค่าความยาวสปริงเมื่อล้อหลังลอย สมมุติ สปริงมีรหัส XX-XX-XX-220 นั่นคือความยาวสปริง 220 มม. พอล้อลอยเเล้ววัดความยาวสปริงได้ 210 มม. นั่นหมายความว่าโช้คตัวนี้มี Preload อยู่ที่ 10 มม.

3. ในกรณีที่โช้กสามารถปรับค่า Rebound และ Compression ได้ เพื่อความแม่นยำสูงสุด ควรคลายวาว์ลทั้งหมดให้อยู่ที่ค่ากลาง (ตามแต่สเปคโช้กที่ให้มาว่าสามารถปรับได้กี่ระดับ)

yss-sag-setting-002
4. กำหนดจุดมาร์คสำหรับการวัดให้ถูกต้อง โดยการใช้เทปกาวแปะในตำเเหน่งที่ถูกต้องทั้ง จุดเริ่มต้นวัดระยะ และ จุดสิ้นสุดการวัดระยะ เช่นในส่วนโช้กหลัง คือแนวดิ่งจากแกนล้อ ขึ้นไปจนถึงช่วงท้ายรถ (อาจจะเป็นตำแหน่งไฟท้าย หรือไฟเลี้ยวพอดีๆ แต่ต้องเป็นแนวดิ่งที่ขึ้นไปตรงๆแบบตั้งฉาก เพื่อความแม่นยำ)

yss-sag-setting-005
ส่วน ในโช้คหน้า หากเป็นโช้กหัวกลับ ให้ใช้ระยะบนสุด กับล่างสุด ที่แกนโช้กโผล่ออกมาจากกระบอกโช้กได้เลย แต่ถ้าเป็นโช้กหัวตั้ง ควรวัดระยะจากจุดไต้แผงคอด้านบน ลงมาถึงแนวกระบอกโช้กทางด้านล่าง

yss-sag-setting-003
5. ให้ผู้ช่วยยกรถให้ล้อลอยจากพื้นแล้ววัดค่า SAG ตามจุดที่เราได้เกริ่นไว้ในข้างต้น ซึ่งค่าที่ได้จากการวัดครั้งนี้ จะเป็นค่า Set Zero หรือค่า F1 ไม่ก็ R1 แล้วแต่ว่าเพื่อนๆวัดโช้กไหน หน้าหรือหลัง

yss-sag-setting-006
6. ให้ผู้ช่วย ประคองรถให้ตั้งตรงอีกครั้ง เอาขาตั้งขึ้น แล้วผู้ขี่ ก็ขึ้นนั่งบนรถด้วยท่าขี่ปกติ หรือถ้าหากจะเดินทางไกลแบบมีผู้ซ้อน ก็ให้ผู้ซ้อน พร้อมกับสัมภาระขึ้นมาอยู่บนรถด้วยกันเลย แล้วอย่าลืมขย่มรถกันสักครั้งสองครั้ง เพื่อให้โช้กได้ยุบแล้วคืนตัวจริงๆก่อน หลังจากนั้นให้ผู้ช่วยอีกคน มาวัดระยะห่างของจุดมาร์คด้านบน กับจุดมาร์คด้านล่าง ของการยุบตัวโช้กหน้าหรือหลัง ตามที่ระบุไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งค่าที่ได้ ให้กำหนดเป็นค่า F3 หรือ R3 แล้วแต่ว่าเพื่อนๆวัดโช้กไหน หน้าหรือหลัง
*โดยสิ่งที่ต้องระวังคือห้ามผู้ช่วยถ่ายเทน้ำหนักลงสู่รถเด็ดขาด มีหน้าที่แค่ช่วยประคองรถให้ตั้งตรงเท่านั้น เนื่องจากจะทำให้ค่าที่วัดได้ซึ่งเป็นสเกลละเอียดระดับ มิลลิเมตร คลาดเคลื่อน

yss-sag-setting-004
7. เมื่อได้ค่า “Set Zero” F1/R1 กับ ค่า F3/R3 แล้ว ก็ให้เข้าสูตรคำนวนง่ายๆดังนี้

– โช้คหน้า (Front fork)
SET ZERO = F1
FREE SAG = F1-F2
RIDER SAG = F1-F3

– โช้คหลัง (Rear Shock)
SET ZERO = R1
FREE SAG = R1-R2
RIDER SAG = R1-R3

yss-sag-setting-007
8. เมื่อได้ค่า Rider SAG แล้ว ก็ให้นำเลขที่ได้มาเปรียบเทียบกับตารางค่า Rider SAG ที่เหมาะสมสำหรับการใช้งาน ซึ่งหลักๆแล้ว ก็ควรจะอยู่ในช่วง 25-35% ของช่วงยุบตัวโช้กตัวนั้นๆ หรือถ้าไม่เช่นนั้นตารางที่เพื่อนๆเห็นอยู่นี้จะเป็นตัวอย่างตารางสูตรของโช้กแต่งที่คำนวนไว้แล้วจาก YSS อีกหนึ่งผู้ผลิตระบบกันสะเทือนสัญชาติไทย ดังไกลระดับโลก ซึ่งจะเห็นได้ว่าค่า SAG ที่เหมาะสมนั้นไม่ได้มีค่าเดียว แต่จะมีหลายค่ามากๆตามประเภทของตัวรถ

โดย Remark ในตาราง คือ ขอบเขตของค่า SAG ที่ผู้ขี่สามารถปรับเซ็ทได้ เช่น ในบรรทัด Racing ค่า Remark 30-50 มิลลิเตร แล้ว เราคำนวนค่า Rider Sag ได้ 40 มิลลิเมตร เท่ากับว่านี่คือกลางๆ, ถ้าวัดได้ 30 มิลลิเมตร คือค่อนไปทางแข็ง เนื่องจากโช้กไม่ค่อยยุบตัว, หรือถ้าวัดได้ 50 มิลลิเมตร คือค่อนไปทางนิ่ม เนื่องจากโช้กยุบได้ค่อนข้างมาก, ถ้าเกินไป 60 มิลลิเมตร คือนิ่มมากๆจนโช้กยันได้ง่ายๆ หรือถ้าวัดได้ 20 คือแข็งจัดๆทำให้โช้กไม่ยอมซับแรงกระเด้งกระดอนกันไปอีก เป็นต้น

*ตารางที่เพื่อนๆเห็นอยู่ตรงนี้ เป็นตารางค่า SAG ที่เหมาะสมสำหรับการปรับบเซ็ทโช้กจาก YSS เท่านั้น เนื่องจากแต่ละผู้ผลิต ก็จะมีการออกแบบโช้ก ความแข็งสปริง และชิ้นส่วนภายในต่างกันออกไป

YSS Smooth pcx160
โดยหากเพื่อนๆสนใจผลิตภันฑ์โช้กแต่งจากทาง YSS Thailand สามารถติดต่อตัวแทนจำหน่าย YSS ใกล้บ้านได้เลย หรือ จะซื้อทางร้านค้าออนไลน์
นอกจากนี้ ยังต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่เพจ YSS-Thailand

ขอบคุณข้อมูลจาก YSS Thailand

อ่าน Tips Trick เพิ่มเติมที่ได้ที่นี่

Share.

About Author

error: Content is protected !!