Tips Trick : ซุปเปอร์ชาร์จเจอร์ / เทอร์โบชาร์จเจอร์ มีดียังไง และต่างกันอย่างไร ?

0

จริงอยู่ว่า หากนับเวลาจริงๆ ระบบอัดกากาศสำหรับเครื่องยนต์ อย่างเช่น “ซุปเปอร์ชาร์จเจอร์” และ “เทอร์โบชาร์จเจอร์” ดูจะไม่ใช่เรื่องที่ใหม่อะไรเท่าไหร่นัก เพราะมีการใช้งานกันมาอย่างแพร่หลายในรถยนต์นับหลายทศวรรษ แต่ในทางกลับกันสำหรับโลกของรถมอเตอร์ไซค์ มันยังเป็นระบบกลไกที่ไม่แพร่หลายเท่าไหร่นัก และพึ่งจะกลับมาเป็นประเด็นให้ถูกพูดถึงอีกครั้งอย่างจริงจังในช่วง 4-5 ปีมานี้เท่านั้น ซึ่งในวันนี้เราพาเพื่อนๆมาทำความรู้จักมันในแบบคร่าวๆกันครับ

four-stroke-engine-diagram
ก่อนอื่นเพื่อนๆต้องทำความเข้าใจก่อนว่า โดยปกติแล้ว อากาศ หรือ ไอดี ที่เครื่องยนต์ใช้ จะถูกดูดเข้าสู่ห้องเผาไหม้ตามการเคลื่อนตัวลงของลูกสูบภายในเสื้อสูบเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งสุดท้ายแล้วมันก็จะมีขีดจำกัดของปริมาณอากาศที่สามารถดูดเข้าไปได้ ทำให้เครื่องยนต์ไม่สามารถจุดระเบิดได้แรงมากไปกว่านี้เพราะมีอากาศผสมกับน้ำมันไม่มากพอ

แต่หากเครื่องยนต์ได้รับการติดตั้ง ซุปเปอร์ชาร์จเจอร์ หรือ เทอร์โบชาร์จเจอร์ เข้าไป ตัวเครื่องยนต์ก็จะสามารถรีดเค้นกำลังได้สูงขึ้น เพราะของทั้งสองสิ่งที่เรากำลังพูดถึงอยู่นี้ มีความสามารถในการดูดอากาศจากภายนอกด้วยใบพัด แล้วส่งต่ออากาศเหล่านั้น อัดเข้าไปในห้องเผาไหม้ได้ในปริมาณที่มหาศาลกว่าปกติ

ซึ่งแน่นอนว่า เมื่อมีอากาศเข้าห้องเผาไหม้มาก ตัวระบบจ่ายเชื้อเพลิงก็สามารถเพิ่มปริมาณน้ำมันได้มากขึ้น และผลที่ได้คือ พละกำลังเครื่องยนต์ก็จะสูงขึ้นตาม จะมากจะน้อยก็ขึ้นอยู่กับูสต์(แรงดันอากาศ)ที่อัดเข้าไปอีกที แต่ถ้าอัดเต็มจริงๆและเครื่องรับไหวกำลังที่ได้ก็ต่างจากตอนไม่มีระบบอัดอากาศลิบลับ

turbo-supercharged-compare-01
แล้วทีนี้ เทอร์โบชาร์จเจอร์ กับ ซุปเปอร์ชาร์จเจอร์ มันต่างกันอย่างไร ?

แน่นอนว่าหากถูดถึงจุดประสงค์ในเบื้องต้น เราก็ได้กล่าวไปแล้วว่า สองสิ่งนี้จะใช้ใบพัดดูดอากาศด้านนอกมาดูดเข้าห้องเผาไหม้เหมือนกันทั้งคู่ แต่สิ่งที่จะทำให้ใบพัดดูดอากาศหมุนได้นั่นแหล่ะครับ คือจุดที่ไม่เหมือนกัน กล่าวคือ

super-diagram
“ซุปเปอร์ชาร์จเจอร์” จะหมุนใบพัดอากาศฝั่งไอดีโดยการต่อแกนใบพัดเข้ากับแครงก์ชาฟท์(เพลาข้อเหวี่ยง)โดยตรง ไม่ก็โซ่ขับ หรือเฟืองขับ ดังนั้น ใบพัดของซุปเปอร์ชาร์จฯจะหมุนอัดอากาศตามการหมุนของเครื่องยนต์แบบตรงตัว ซึ่งมันมีข้อดีตรงที่ บูสต์จะมาตามการเรียกรอบของมือเรา รวมถึงใช้พื้นที่ในการติดตั้งน้อย แต่มีข้อเสียคือ เมื่อเครื่องยนต์ไปถึงรอบสูงๆ ตัวซุปเปอร์ชาร์จเจอร์จะกินแรงเครื่องยนต์เสียเอง

turbo-diagram
ส่วน “เทอร์โบชาร์จเจอร์” จะหมุนจะหมุนใบพัดอากาศฝั่งไอดีโดยอาศัยใบพัดอีกด้านหนึ่งที่เชื่อมต่อกันเอาไว้ด้วยแกนหนึ่งแกน โดยใบพัดอีกอันที่ว่านี้ จะทำหน้าที่รับแรงดันอากาศจากไอเสียที่เครื่องยนต์ปล่อยออกมาเพื่อหมุนตัวเอง และแน่นอนว่าเมื่อใบพัดฝั่งไอเสียหมุน ใบพัดฝั่งงไอดีก็จะหมุนตาม เพราะมันเชื่อต่อกันอยู่ด้วยแกนเหล็กเดียวกันอย่างที่เราได้กล่าวไว้ในข้างต้น

ซึ่งข้อดีของเทอร์โบหากเทียบกับซุปเปอร์ชาร์จเจอร์ก็คือ มันจะไม่หน่วงกำลังเครื่องยนต์ในรอบสูงๆ แต่ทว่า หากแรงดันไอเสียมีไม่มากพอ ใบพัดก็จะไม่ยอมทำงาน ทำให้เกิดอาการเทอร์โบแล็ก หรือรอรอบนั่นเอง (และถ้าบูสต์มา ก็คือมาเลย) แถมยังต้องใช้พื้ี่นที่ในการติดตั้งค่อนข้างเยอะ เพราะมีชิ้นส่วนเกี่ยวเนื่องที่มากกว่า

Kawasaki Ninja H2 / H2R คือรถไฮเปรอ์ไบค์ที่ทำให้ผู้คนเริ่มกล่าวขวัญถึงระบบอัดอากาศอีกครั้งในวงการรถมอเตอร์ไซค์

Kawasaki Ninja H2 / H2R คือรถไฮเปรอ์ไบค์ที่ทำให้ผู้คนเริ่มกล่าวขวัญถึงระบบอัดอากาศอีกครั้งในวงการรถมอเตอร์ไซค์

และนี่ก็คือหลักการทำงาน ร่วมถึงความแตกต่างของ ระบบอัดอากาศ ที่มีชื่อว่า ซุปเปอร์ชาร์จเจอร์ และ เทอร์โบชาร์จเจอร์ แบบคร่าวๆ ซึ่งถ้าหากเพื่อนๆมีข้อสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งนี้ล่ะก็ ลองพิมพ์คอมเมนท์เข้ามาเพิ่มเติมกันได้เลยครับผม

ขอบคุณภาพประกอบจาก Boldmethod, Seriosautosport

อ่าน Tips Trick อื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่นี่

เพื่อนๆ Bikers สามารถติดตามข่าวสารวงการล้อ ได้ทางแฟนเพจ MotoRival ของเราครับ

Share.

About Author

error: Content is protected !!