Tips Trick : ทำไมจานเบรกต้องมีรู?

0

“จานเบรก” ถือเป็นชิ้นส่วนสำคัญที่สุดของระบบเบรกแบบดิสก์เบรก และสิ่งหนึ่งเรามักเห็นว่ามันจะปรากฏอยู่บนจานเบรกอยู่เสมอๆก็คือ “รู” ที่จะกรายจายตัวอยู่ทั่วจานเบรก แต่รูเหล่านั้นมีไว้เพื่ออะไรกันล่ะ ?

Review-Honda-Lead-125 (9)
เหตุผลแรกสุด ของการที่จานเบรก จะต้องถูกเจาะรู ก็คือ “เพื่อระบายความร้อน” เนื่องจากหากอิงข้อมูลที่เราได้เคยนำเสนอไปก่อนหน้านี้เกี่ยวกับเรื่องจานเบรกคาร์บอนในตัวแข่ง MotoGP เพื่อนที่เคยอ่านมาก่อนก็คงจะพอทราบแล้วว่า สำหรับจานเบรกเหล็กที่นิยมใช้ในรถมอเตอร์ไซค์ในปัจจุบันนั้น หากมันมีความร้อนสะสมไว้ที่ตนเองมากเกินไป จานเบรกก็จะสูญเสียความสามารถในการสร้างแรงเสียดทานกับผ้าเบรกไป รวมถึงยังมีโอกาสที่จะเสียรูปจากความร้อนที่เกิดขึ้นได้อีกด้วย

review-suzuki-v-strom-1050-xt-036
นอกจากนี้ ในการเสียดสีกันระหว่างผ้าเบรก กับจานเบรกแต่ละครั้ง ก็มักจะเกิดไอความร้อนบางอย่าง และมีเศษฝุ่นที่เกิดจากการสลายตัวของผ้าเบรก หรือหากขี่รถตอนฝนตก โอกาสที่ละอองน้ำจากเม็ดฝนจะเข้าไปเคลือบจานเบรกและผ้าเบรกเป็นชั้นฟิล์ม จนทำให้มันไม่สามารถสร้างแรงเสียดทานระหว่างกันได้อย่างที่ควรจะเป็นก็มีสูง

2021-zontes-310r1-review-020
ดังนั้นเพื่อเป็นการระบายความร้อนของจานเบรก และที่สำคัญกว่าก็คือการระบายเศษฝุ่น และละอองน้ำไม่ให้มาเคลือบที่หน้าจานสัมผัสเบรกและหน้าสัมผัสผ้าเบรกขณะใช้งานได้ง่ายๆ เหล่าผู้ผลิตจึงจะต้องทำการเจาะรูบนจานเบรก เพื่อให้สิ่งแปลกปลอมเหล่านั้นสามารถไหลออกจากบริเวณหน้าจานเบรกแล้วเข้าไปอยู่ในรูบนจานเบรกระหว่างที่จานเบรกหมุนไปได้นั่นเอง

Review-GPX-Legend-250-Twin-II-03
อย่างๆไรก็ดี การเจาะรูบนจานเบรก จะส่งผลให้พื้นที่ผิวสัมผัสของหน้าจานเบรกที่หายไป จึงทำให้แรงเสียดทานที่สามารถเกิดขึ้นได้ระหว่างตัวจานเบรกกับผ้าเบรกจะน้อยลงตามไปด้วย แต่เอาจริงๆมันก็ไม่ได้ลดมากไปจนเกิดอันตรายขนาดนั้น (หากเป็นการเจาะรูแค่เท่าที่จำเป็นแบบจานเบรกติดรถ ไม่ใช่เบรกกัดลายที่กัดเสียจนแทบไม่เหลือหน้าสัมผัสอย่างเช่นจานแต่งบางราย) มันจึงถือว่าเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ เมื่อเทียบกับการเพิ่มขีดความสามารถให้จานเบรกสามารถใช้งานได้ในทุกสถานการณ์(เจอฝนก็ไม่ต้องกลัวน้ำเคลือบ ลุยดินก็ไม่ต้องกลัวฝุ่นเกาะ)

อ่าน Tips Trick เพิ่มเติมได้ที่นี่

Share.

About Author

error: Content is protected !!