Kawasaki, MV Agusta, Triumph จับมือสนับสนุน FIM ขยายความจุตัวแข่ง WSS แต่ Yamaha ค้าน !

0

อย่างที่เราได้เคยนำเสนอไปแล้วหลายครั้งตั้งแต่ช่วงปลายปีก่อนว่า ณ ขณะนี้ ทาง FIM กำลังพยายามหารือกันอย่างหนักว่าพวกเขาควรจะทำการปรับกติกาของตัวแข่งศึก World Superbike ในรุ่น World Supersport หรือไม่ ? เพื่อให้รับกับทิศทางการตลาดที่เปลี่ยนไป ซึ่งจากข้อมูลส่าุดที่เราได้รับมา ก็ดูเหมือนว่า Kawasaki, MV Agusta, Triumph ล้วนเห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าว แต่กลับกันในฝั่ง Yamaha นั้น ดันอยากให้คณะกรรมการยืนกติกาเดิมต่อไป

Cluzel-2019-WSS-R6_resize
ใช่ครับ แม้ในตอนนี้ทาง FIM จะยังไม่มีการเปิดเผยกฏกติกาใหม่ของการแข่งขัน WSBK รุ่น WSS ในปีหน้า ว่า “กรอบความจุเครื่องยนต์” ของตัวแข่งในคลาสนี้ จะขยับขึ้นไปเท่าไหร่กันแน่ แต่เหล่าผู้ผลิตต่างๆก็เริ่มที่จะออกมาให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้กันบ้างแล้ว เนื่องจากมันจะส่งผลถึง ผลการแข่ง หรือการทำตลาดรถมอเตอร์ไซค์ที่สามารถส่งลงในคลาสดังกล่าวของตนเองในอนาคตแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นฝั่งที่เป็นเต้ยอยู่ในตอนนี้อย่าง Yamaha ที่หากกรรมการปรับกติกาใหม่ ผลงานของพวกเขาอาจกลับตาลปัด หรือในฝั่ง Kawasaki, MV Agusta, Triumph ที่อยากจะลงแข่งในรายการนี้ คลาสนี้เช่นกัน แต่ไม่มีตัวแข่งรถที่สามารถส่งลงแข่งได้แบบตรงๆตัว (เพราะบ้างก็มีความจุเครื่องยนต์เกิน บ้างก็ต้องใช้เครื่องยนต์ลูกเก่าที่ไม่ได้ผลิตเอาไว้ขายจริงๆให้กับลูกค้ามาลงแข่งซึ่งผิดจุดประสงค์การแข่งที่ดั้งเดิม คือการนำเอารถโปรดักชันไบค์มาแข่งกันเท่านั้น)

2017-yamaha-yzf-r6-wss_1
“เราต้องการเวลาสักนิดเพื่อเตรียมตัว” Eric De Seynes ผู้จัดการทีมแข่ง Yamaha ในศึก World Superbike กล่าวเกริ่น “ถ้าเหล่าผู้ผลิตคิดว่าพวกเขาอยากจะเข้าร่วมการแข่งขันในศึก Supersport World Championship ด้วยรถรุ่นใหม่ของพวกเค้า, พวกเค้าก็ควรพัฒนารถที่ใช่สำหรับการแข่งขันมาเพื่อมัน, ในฐานะผู้ผลิต เราไม่สามารถทำตามทุกกติการที่เปลี่ยนไปแบบข้ามคืนได้ในทันที (ถ้าประกาศแล้วบังคับใช้เลยแบบนี้ เราปรับสเปครถไม่ทันโว้ย !!)”

2020-yamaha-yzf-r6-01
จากการให้สัมภาษณ์เช่นนี้ เราจึงมองว่า อันที่จริงทาง Yamaha ไม่ได้ถึงกับค้านการปรับขยายความจุเครื่องยนต์ของตัวแข่งในคลาส Supersport ไปเลยทีเดียว เพียงแต่พวกเขาขอค้านในกรณีที่ หากกรรมการบังคับใช้กติกาใหม่ (ซึ่งยังไม่รู้ว่ากรอบเครื่องยนต์ของตัวแข่งจะออกมาในรูปแบบไหน หรือมีการจำกัดรอบเครื่องยนต์อย่างไร ?) ภายในทันทีที่เคาะออกมา ทางค่ายอาจประสบปัญหาคือไม่สามารถพัฒนาตัวแข่งของตนเองลงแข่งในรุ่นนี้ได้ทัน หรือถ้าจะให้ใช้ YZF-R6 แข่งต่อไปก็คงไม่ได้ เพราะอาจจะแพ้ชาวบ้านที่มาพร้อมกับเครื่องยนต์ใหม่ลูกใหญ่กว่าเดิม และถ้าจะให้เอา YZF-R9 มาลงแข่ง ก็ยังไม่รู้เหมือนกันว่ามันจะทำได้ดีเหมือน R6 หรือไม่ เพราะเอาจริงๆเครื่องยนต์ CP3 นั้นถูกออกแบบมาเพื่อเน้นแรงบิดสำหรับการใช้งานในชีวิตประจำวัน ไม่ใช่แรงปลายสำหรับการใช้งานในสนามแข่งมากขนาดนั้น (ส่วน YZF-R7 นั้นตัดทิ้งไปได้เลย)

2019 ninja zx-6r
ส่วนความเห็นในฝั่ง Kawasaki ซึ่งเป็นความเห็นจากนาย Steve Guttridge ผู้จัดการทีมแข่งของ Kawasaki Europe ก็เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า “กติกาน่ะมันยังไม่ได้ถูกกำหนดร้อยเปอร์เซ็นต์, แต่ยังไงเราก็ต้องทำตามทิศทางของมันเพื่อเพิ่มตัวเลือกใหม่ๆ(รถใหม่ๆ)ในการแข่งขัน”, “ประวัติศาสตร์ของ ZX-6R คือมันถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการแข่งขัน, ดังนั้นเราจึงไม่พยายามที่จะผลักดัน ZX-6R ‘636’ (เข้าสู่การแข่งขัน เพราะ ZX-6R ‘600’ ก็แข่งได้), แต่ถึงอย่างนั้น ในบางประเทศ, 600 น่ะไม่ได้ขายมาเป็นปีๆแล้ว (เพราะไม่ผ่านมาตรฐานมลพิษ), ในขณะที่ 636 ยังคงวางจำหน่ายต่อไป (และลงแข่งได้ด้วย) อย่างในศึก BSB (ประเทศอังกฤษ) หรือ AMA (ประเทศสหรัฐอเมริกา), เราจำเป็นต้องมาดูกันว่า เราจะทำอะไรได้บ้างในปัจจุบันสำหรับการแข่งขันในการแข่งขันคลาสนี้, Ninja ของเราน่ะเป็นรถแข่ง, และ ZX-6R 636 ก็เป็น Ninja (เราจึงออยากจะเอามันลงแข่งในศึก WSS ด้้วย)”

Kawasaki ZX-6R '600'

Kawasaki ZX-6R ‘600’

นั่นจึงหมายความว่า แม้ตอนนี้คณะกรรมการจะยังไม่มีการกำหนดกรอบความจุเครื่องยนต์ของตัวแข่ง World Supersport ที่แน่ชัดออกมา แต่ทาง Kawasaki ก็รอ พร้อม และอยากจะใช้ตัวรถ ZX-6R 636 ของพวกเขาลงแข่งในรายการนี้อยู่แล้ว เนื่องจากมันคือรถมอเตอร์ไซค์ที่พวกเขายังคงผลิตและวางจำหน่ายมันจริงๆในหลายประเทศได้ ไม่เหมือนกับ ZX-6R ‘600’ ที่เอาจริงๆก็ไม่สามารถวางจำหน่ายในฐานะโปรดักชันไบค์ได้แล้วด้วยซ้ำ แต่ที่ยังขายอยู่ก็เป็นแค่เพียงรถสเปคแข่งสำหรับกติกา WSS แบบดั้งเดิมก็เท่านั้น ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ทำให้เปลืองสายการผลิตโดยใช่เหตุ และอันที่จริงเครื่องยนต์ก็ไม่ได้ถูกพัฒนามานานแล้วด้วย (พัฒนาไปก็ขายมากไม่ได้)

2020-mv-agusta-f3-675-wss-machine-03
ด้าน MV Agusta, Triumph และรวมถึง Ducati เอง แม้พวกเขาจะไม่ได้มีบทสัมภาษณ์เกี่ยวกับการปรับกติกาใดๆ แต่เราก็สามารถเห็นได้จากการที่พวกเขาเริ่มส่งตัวแข่งคลาส Supersport ของตนเองที่ไม่ได้อยู่ในกรอบกติกาการแข่งขันเดิมๆของ FIM ลงแข่งในรายการอื่นมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการแข่งขัน BSB ที่มีทั้ง Ducati Panigale V2 (เครื่อยนต์ L-Twin 950cc), Triumph Street Triple RS สวมแฟริ่ง Daytona (เครื่องยนต์ 3 สูบเรียง 765cc), และ MV Agusta F3 800 (เครื่องยนต์ 3 สูบเรียง 799cc) ลงแข่งอยู่ เพื่อเป็นการพัฒนารอสำหรับลงแข่งในศึก WSS ทันทีที่กรรมการปรับกติกากรอบความจุเครื่องยนต์ใหม่

2021-triumph-street-triple-765-rs-dynavolt-team-002
ดังนั้นความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการปรับกติกา กรอบความจุเครื่องยนต์ ของตัวแข่งรุ่น World Supersport สำหรับศึก World Superbike ในครั้งนี้ จึงยังคงถือเป็นเรื่องที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก เพราะมันไม่ได้จะมีผลแค่ในเรื่องของการที่เราจะได้เห็นตัวแข่งใหม่ๆในคลาสนี้ที่มาพร้อมกับเครื่องยนต์ความจุมากกว่าเดิม แรงกว่าเดิมเท่านั้น แต่มันยังอาจจะส่งแรงกระเพื่อมไปถึงการผลิตรถมอเตอร์ไซค์รุ่นใหม่ๆสำหรับการลงแข่งในคลาสนี้ด้วย เพราะในปัจจุบันนั้นปฏิเสธไม่ได้จริงๆว่าสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กระแสความต้องการของรถมอเตอร์ไซค์คลาสนี้ดรอปลงไปพอสมควร ก็เป็นเพราะการที่มันยังคงถูกตีกรอบด้วยกติกาการแข่งขันที่ล้าสมัยและไม่เป็นไปตามทิศทางการพัฒนาของรถมอเตอร์ไซค์คลาสนี้ในปัจจุบันนั่นเอง

ขอบคุณข้อมูลจาก Speedweek

อ่านข่าว WSBK เพิ่มเติมได้ที่นี่

Share.

About Author

error: Content is protected !!