การให้ FIM จำกัด “เรดไลน์” ตัวแข่ง WSBK ทุกคันเท่ากัน แฟร์จริงหรือ ?

0

เรียกได้ว่ายังคงเป็นประเด็นที่คงไม่จบง่ายๆจริงๆ สำหรับเรื่องของรอบเครื่องยนต์ที่สูงถึง 16,350 รอบ/นาที ของ Ducati Panigale V4 R ซึ่งจัดว่าเกินหน้าเกินตาคู่แข่งคันอื่นๆใน WSBK ไปมาก จนเพื่อนๆหลายคนมองว่านี่คือตัวการสำคัญที่ทำให้ Alvaro Bautista สามารถถีบตัวเองจนทิ้งห่าง Jonathan Rea กับ Kawasaki ZX-10RR เฉลี่ย 10 วินาที ในแทบทุกเรซการแข่งขัน

และด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้เกิดเสียงเรียกร้องทั้งจากนักแข่ง และผู้ติดตามหลายๆท่านว่า ทำไมคณะกรรมการถึงไม่จำกัดรอบตัวแข่งทุกๆคันให้เท่ากันไปเลย ? จะได้แฟร์ๆ ซึ่งในวันนี้เราจะพาเพื่อนๆมาไขข้อสงสัยตรงนี้กันครับ

Bautista-WSBK-Thai
ก่อนอื่น อันที่จริงใช่ว่ากฏการ “จำกัดรอบแบบเท่ากันทุกคันค่าย” ไม่ใช่ไม่เคยมีมาก่อน ในศึก WSBK เพราะก่อนหน้าที่ FIM จะกำหนดให้ตัวแข่งทุกคันใช้รอบเพิ่มจากเรดไลน์โรงงาน 3% ในปี 2018 ตอนปี 2017 ลงไปตัวแข่งทุกคันจะต้องใช้รอบเท่ากันคือ 15,000 รอบ/นาที (ส่วน Ducati โดนจำกัดไว้ที่ 12,700 รอบ/นาที เพราะพื้นฐานเครื่องยนต์ไม่เหมือนชาวบ้าน) ซึ่งอาจจะดูเหมือนแฟร์ตามที่เพื่อนๆคิดไว้ แต่จริงๆคือไม่ครับ

เพราะเพื่อนๆต้องไม่ลืมว่า พื้นฐานเครื่องยนต์แต่ละคันให้แรงม้าสูงสุดที่รอบไม่เท่ากัน ดังนั้นถ้ารถคันไหนตอนเดิมๆออกโรงงานมา สามารถรีดแรงม้าในรอบที่ต่ำกว่าคู่แข่ง พอถูกนำมาปรับแต่งให้รอบดีดไปสูงตามที่กฏว่าไว้ก็ย่อมได้เปรียบมากกว่า เนื่องจากพวกเขามีช่องว่างให้รีดแรงม้าจากช่วงรอบที่เยอะกว่า ซึ่งนี่คือจุดได้เปรียบของ Kawasaki ZX-10R โฉมล่าสุดเมื่ออยู่กับกติกาแบบนั้น จนกรรมการมองว่ามันคือสาเหตุที่ทำให้เกิดการผูกขาดแชมป์ 3 ปีติด ของ Jonathan Rea ขึ้น

2019 WSBK-5-Superbike
ทางกรรมการเลยออกกฎใหม่ ให้เปลี่ยนจากการจำกัดรบสูงสุดของตัวแข่งแต่ละคันให้เท่ากัน เป็นเพิ่มรอบตามที่เรดไลน์ของรถแต่ละคันมีในอัตราส่วนที่เท่ากันคือ 3% หรือ อีก 1,100 รอบ จากรอบแรงม้าสูงสุด แทน และถ้ากำลังของตัวแข่งคันไหนยังมีความจี้ดจ๊าดจากคู่แข่งสูงเกินไปอีก ทางคณะกรรมการก็ยังมีสิทธิดรอปรอบตัวแข่งคันนั้นลงอีก 250 รอบ/นาที จากที่ตั้งไว้ตอนเปิดฤดูกาล

ขณะที่ตัวแข่งที่แรงสู้ขาวบ้านไม่ได้ ก็จะได้สิทธิเพิ่มรอบอีก 250 รอบ/นาทีแทน เป็นแฮนดิแคปให้ ซึ่งดูดีกว่าการจำกัดรอบรถทุกคันให้เท่ากันเป็นไหนๆ และจริงๆกฎเดิมก็มีกติกาตอนผู้ชนะบ่อยๆเช่นกัน แต่ตอนนั้นจะใช้วิธีคุมเส้นผ่านศูนย์กลางท่อร่วมไอดี ว่าใครควรลดหรือเพิ่ม ซึ่งคุมได้ยาก และไม่ชัวร์เท่าการตอน/เพิ่มรอบเครื่องยนต์

alex-lowes-pata-yamaha-wsbk-2019-jerez-pre-season-test-01
นอกจากนี้ ถ้าหากคณะกรรมการเลือกกลับไปใช้กฏที่ “ตัวแข่งทุกคันจะต้องโดนจำกัดรอบแบบเท่ากันทุกค่าย” ท้ายที่สุดแล้วจะเป็น Ducati เสียเองที่ต้องเสียเปรียบ เพราะรองแรงม้าสูงสุดเดิมๆ มากกว่า 15,000 รอบ/นาที หรือ ถ้าจะให้ตัวแข่งคันอื่นๆ ทำรอบดีดจนทะลุ 16,000 รอบ/นาที ก็ย่อมเป็นไปได้ยาก เพราะตัวเครื่องยนต์ไมได้ออกแบบให้รีดรอบได้สูงขนาดนั้นตั้งแต่ออกโรงงาน

ดังนั้นในความคิดส่วนตัวของผู้เขียนเอง ก็เห็นพ้องกับกรรมการเช่นกันว่า กฏกติกาการเพิ่มรอบเครื่องยนต์ตัวแข่งในอัตราส่วนที่เท่าๆกัน โดยอิงจากเรดไลน์ หรือรอบแรงม้าสูงสุดนั้น เป็นอะไรที่แฟร์กว่าการสั่งให้รถทุกคันต้องมีรอบที่เท่ากันคือ 15,000 รอบ/นาที จะติดก็แค่เพียง อยากให้ช่วงในการเพิ่ม และลดรอบเครื่องยนต์ที่กรรมการกำหนดไว้มากกว่านี้ อาจจะสัก 1,000 รอบ/นาที (ลดหรือเพิ่มทีละ 250 รอบ/นาทีเช่นเดิม แต่จะลดหรือเพิ่มรอบจากที่กำหนดเรดไลน์ตัวแข่งคันนั้นๆเมื่อต้นปีได้ไม่เกิน 1,000 รอบ/นาที)

แล้วเพื่อนๆล่ะครับ เห็นด้วยหรือไม่ หรือมองต่างออกไป ลองเสนอความเห็นกันเข้ามาได้เลยครับ

อ่านข่าว WSBK เพิ่มเติมได้ที่นี่

เพื่อนๆ Bikers สามารถติดตามข่าวสารวงการล้อ ได้ทางแฟนเพจ MotoRival ของเราครับ

Share.

About Author

error: Content is protected !!