Tips Trick : หัวฉีด VS คาร์บู ต่างกันอย่างไร ระบบไหนจ่ายน้ำมันดีกว่ากัน?

0

“ระบบจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงด้วยหัวฉีด” เชื่อว่ามีเพื่อนๆหลายคนที่ยังคงสงสัยกันอยู่ว่าระบบจ่ายน้ำมันแบบนี้มันมีดียังไง แล้วมันดีกว่าแบบคาร์บูเรเตอร์ที่เราใช้กันมาตั้งแต่รู้จักคำว่ารถมอเตอร์ไซค์อย่างไรกันแน่ ดังนั้น ในวันนี้เราก็จะพาเพื่อนๆไปไขคำตอบกันครับ

Review-GPX-Legend-250-Twin-Engine_3
เริ่มจาก ระบบคาร์บูเรเตอร์ สำหรับรถมอเตอร์ไซค์ ที่ส่วนใหญ่แล้วจะทำงานด้วยหลักการง่ายๆ คือ อาศัยแรงดูดอากาศภายในเสื้อสูบยามที่ลูกลูกสูบเคลื่อนที่ลง เป็นตัวดึงละอองน้ำมันจากคาร์บูเรเตอร์ ให้ออกมาผสมกับอากาศที่ไหลผ่านพอร์ทไอดีของตัวคาร์บูเรเตอร์ โดยหากผู้ขี่ต้องการจะให้คาร์บูเรเตอร์จ่ายน้ำมันเข้ามาผสมกับอากาศได้เยอะขึ้น เพื่อเร่งรอบเครื่องยนต์ ก็เพียงแค่ควบคุมขนาดปากท่อสำหรับไหลเวียนอากาศของคาร์บูเรเตอร์ให้กว้างขึ้น เพื่อเปิดทางให้อากาศไหลเวียนเข้าได้มากกว่าเดิม และควบคุมรูระบายน้ำมันให้เปิดกว้างขึ้นเช่นกันเพื่อที่มันจะได้ระบายน้ำมันออกมาผสมกับอากาศได้มากขึ้นเพียงแค่นั้น

2020-gpx-demon-150gr-fi-review-motorival-03
ส่วน ระบบหัวฉีด จะไม่ได้อาศัยแรงดูดของเครื่องยนต์ เป็นตัวดึงน้ำมันจากหัวฉีด แต่จะอาศัยปั๊มไฟฟ้าแรงดันสูง หรือที่เรียกกันเล่นๆว่า ปั๊มติ๊ก ซึ่งอยู่ในถังน้ำมัน (ส่วนใหญ่สำหรับรถมอเตอร์ไซค์) เป็นตัวอัดฉีดน้ำมันไปยังหัวฉีดที่ติดตั้งอยู่บริเวณจุดใดจุดหนึ่งของพอร์ทไอดีก่อนเข้าห้องเผาไหม้ ซึ่งอัตราการจ่ายน้ำมันของหัวฉีดนั้น ก็จะขึ้นอยู่กับกล่อง ECU ว่าอยากให้หัวฉีดเปิดระบายน้ำมันไปผสมกับอากาศที่เข้ามาจากลิ้นปีกผีเสื้อมากแค่ไหน แต่การที่หัวฉีดจะสั่งจ่ายน้ำมันได้ มันก็จะต้องอาศัยข้อมูลอื่นๆมาอ้างอิงด้วยอีกหลายอย่าง หลักๆก็คือ รอบเครื่องยนต์ กับ ปริมาณอากาศขาเข้า และ/หรือถ้าจะให้ละเอียดยิ่งขึ้นก็ต้องมีการวัดประมาณออกซินเจนในไอเสียหลังจากเผาไหม้เพิ่มเข้าไปอีก เพื่อให้มันทำงานได้แม่นยำมากขึ้น

2020-gpx-demon-150gr-fi-review-motorival-01
ดังนั้น ข้อดีของระบบคาร์บูเรเตอร์ จึงเป็นเรื่องของความเรียบง่าย และความไม่ซับซ้อนของตัวระบบ เนื่องจากทำงานได้ด่้วยระบบกลไกล้วนๆ ช่างที่ไหนก็สามารถซ่อมได้ ไม่ว่าจะอู่เล็กหรืออู่ใหญ่ นอกจากนี้ยังสามารถปรับจูนได้ง่ายๆ เพียงแค่ขันน็อตปรับ หรือเปลี่ยนชิ้นส่วนด้านในเพียงไม่กี่อย่างเช่น นมหนู เป็นต้นเท่านั้น

gpx-demon-gr150-bike-check-tips-trick-07
แต่แน่นอนว่าข้อเสียของมันก็คือ มันจะจ่ายน้ำมันได้ไม่ละเอียดเท่าไหร่นัก ทั้งในเรื่องขนาดละอองน้ำมัน และส่วนผสมกับอากาศ จึงทำให้อาจจะสูญเสียเชื้อเพลิงไปกับการเผาไหม้มากไปโดยใช่เหตุ นอกจากนี้ด้วยความที่อัตราการจ่ายน้ำมันค่อนข้างคงที่ต่อปริมาณอากาศที่ไหลเข้า ทำให้หากตัวแปรอย่างความหนาแน่นอากาศเปลี่ยนไป เช่นบนพื้นที่เขาสูงๆ เครื่องยนต์ก็อาจจะทำงานได้ไม่ปกติอย่างที่ควรจะเป็น

Review-2020-GPX-Demon-150-GR-Fi-2
ขณะที่ข้อดีของระบบหัวฉีดนั้นก็จะตรงกับข้ามกับคาร์บูเรเตอร์ เพราะอย่างที่เราเกริ่นไว้ข้างต้น ว่าระบบนี้ จะจ่ายน้ำมันโดยอาศัยค่าหลายๆอย่างมาเป็นตัวอ้างอิง ดังนั้นความแม่นยำในเรื่องการจ่ายส่วนผสมของเชื้อเพลิงต่ออากาศในแต่ละช่วงเวลาที่ใช้งานย่อมมีความแม่นยำกว่า และแปรผันอัตราการจ่ายน้ำมันตามสภาพอากาศภายนอกได้ ครอบคลุมกว่า (ถ้ามีการติดตั้ง ออกซิเจนเซนเซอร์)

2020-gpx-demon-150gr-fi-review-motorival-19แถมด้วยความที่น้ำมันซึ่งถูกฉีดออกมาจากหัวฉีดนั้น มีความเป็นฝอยละอองที่ละเอียดมากกว่า จึงช่วยทำให้มันสามารถจุดระเบิดได้ทั่วถึง รุนแรง และหมดจดมากยิ่งขึ้น ทำให้แม้จะจ่ายน้ำมันออกไปในปริมาณที่เท่ากันกับคาร์บูเรเตอร์ แต่แรงระเบิดที่ได้ก็จะสูงกว่าโดยปริยาย หรือถ้าอยากให้ได้แรงเท่ากัน ปริมาณน้ำมันที่ฉีดออกไปผสมกับอากาศ ก็จะน้อยกว่าแทน

2020-gpx-demon-150gr-fi-review-motorival-13ส่วนข้อเสียของระบบหัวฉีด ก็คือความซับซ้อนของตัวมัน และความที่ใช้ระบบไฟฟ้ามาเกี่ยวข้อง จึงทำให้หากระบบไฟ หรือชิ้นส่วนใดชิ้นส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับระบบมีปัญหาขึ้นมา เราก็อาจจะต้องเปลี่ยนชิ้นส่วนนั้นๆเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ไม่สามารถซ่อมแซมไปได้ (แต่ก็ไม่ได้พังง่ายๆนะครับ ชิ้นส่วนระบบหัวฉีดเนี่ย) แถมถ้าจะปรับจูนอัตราการจ่ายน้ำมันของหัวฉีด ก็มีแต่จะต้องเชื่อมต่อกล่อง ECU เข้ากับคอมพิวเตอร์เพื่อเซ็ทค่าใหม่เท่านั้น จะเซ็ทแบบงูๆปลาๆก็ไม่ได้ เนื่องจากค่าและตัวแปรต่างๆในกล่อง ECU เป็นค่าที่ค่อนข้างมีความเฉพาะเจาะจงและละเอียดอ่อน ดังนั้นผู้ที่จะปรับจูนมันได้ จึงต้องเป็นผู้ที่เคยอบรมหรือศึกษาเรื่องการปรับเซ็ทมาก่อนเท่านั้น

รีวิว 2020 GPX Demon 150 GR Fiสนับสนุน Tips Trick ในครั้งนี้โดย GPX Demon 150 GR Fi สามารถอ่านรีวิวได้ที่นี่
อ่าน Tips Trick เทคนิคที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่นี่

เพื่อนๆ Bikers สามารถติดตามข่าวสารวงการล้อ ได้ทางแฟนเพจ MotoRival ของเราครับ

Share.

About Author

error: Content is protected !!