วิเคราะห์ แก้ปัญหาจริง หรือสร้างปัญหาหนักกว่าเดิม? พร้อมสรุป 39 สะพาน และ 6 อุโมงค์ ห้ามมอเตอร์ไซค์ข้าม

0

เมื่อวันที่ 29 มีค. ที่ผ่านมา ได้มีหนังสือ ข้อบังคับเจ้าพนักงานจราจรในเขตกรุงเทพมหาคร (ชั่วคราว) ว่าด้วย การห้ามรถบางชนิดและล้อเลื่อนลากเข็น เดินบนสะพานข้ามทางร่วมทางแยกและในอุโมงค์คลอดทางร่วมทางแยก พ.ศ. ๒๕๕๙ พล.ต.ต.อดุลย์ ณรงค์ศักดิ์ รองผบช.น.

โดยใจความสำคัญ คือ การสั่งห้ามรถจักรยานยนต์ ห้ามใช้ 39 สะพาน และ 6 อุโมงค์ ข้ามแยกทั่วกรุงเทพฯ โดยทั้งหมดดังนี้

39 สะพานข้ามแยกทั่วกรุงเทพฯ ได้แก่
1.แยกคลองตัน
2.แยกอโศกเพชร
3.แยกรามคำแหง
4.แยกประชาสงเคราะห์
5.แยกสามเหลี่ยมดินแดง
6.แยกตึกชัย
7.แยกราชเทวี
8.แยกประตูน้ำ
9.แยกยมราช
10.แยกกำแพงเพชร
11.แยกรัชดา-ลาดพร้าว
12.แยกสุทธิสาร
13.แยกรัชโยธิน
14.แยกประชานุกูล
15.แยกวงศ์สว่าง
16.แยกวงเวียนบางเขน
17.สะพานยกระดับถนนสุวินทวงศ์
18.แยกร่มเกล้า ถนนรามคำแหง
19.แยกลาดบัวขาว ถนนรามคำแหง
20.แยกมีนบุรี
21.แยกบรรจุสินค้าไอซีดี ถนนเจ้าคุณทหาร
22.แยกลำสาลี
23.สะพานยกระดับถนนรามคำแหง
24.แยกศรีอุดม
25.แยกประเวศ
26.แยกบางกะปิ
27.สะพานไทย-เบลเยี่ยม
28.สะพานข้ามถนนนางลิ้นจี
29.แยกรัชดา-พระราม4“
30.สะพานภูมิพล 1
31.แยกคลองตัน
32.แยกศรีครินทร์
33.สะพานไทย-ญี่ปุ่น
34.แยกบรมราชชนนี
35.แยกบางพลัด
36.แยกพระราม 2
37.แยกตามสิน
38.แยกนิลการ
39.แยกบางพฤกษ์

6 อุโมงค์ ข้ามแยกต้องห้าม ได้แก่

1.อุโมงค์วงเวียนบางเขน
2.อุโมงค์พัฒนาการรามคำแหง 24
3.อุโมงค์ศรีอุดม
4.อุโมงค์บรมราชชนนี
5.อุโมงค์บางพลัด
6.อุโมงค์ท่าพระ

หากฝ่าฝืนกระทำความผิดจะมีอัตราโทษปรับตั้งแต่ 500-1,000 บาท

มอไซค์ปิดสะพาน

เรามาวิเคราะห์ใจความที่ได้ระบุจากในหนังสือดังกล่าวว่า สะพานข้ามแยกนั้นไม่ได้จัดช่องทางไว้สำหรับรถความเร็วต่ำ อย่าง จักรยานยนต์, จักรยาน, รถยนต์สามล้อ, ล้อเลื่อนลากเข็น ซึ่งอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
อย่างไรก็ดี เมื่อวานนี้ได้มีการรวมตัวกันของบรรดาเหล่านักบิดมอเตอร์ไซค์ทั้งหลายปิดสะพานภูมิพลไปแล้ว นั่นเป็นการแสดงออกของความไม่พอใจต่อผู้ที่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากในกรุงเทพฯ มีปริมาณผู้ใช้รถจักรยานยนต์เป็นจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว ผลกระทบที่ตามมาหลังการงดใช้สะพานเหล่านี้ ก็คือ จำนวนรถจะติดที่แยกไฟแดงทางด้านล่างเพิ่มมากขึ้น ขณะที่บางสะพานข้ามแยก หากไม่สามารถข้ามได้ ผู้ใช้ 2 ล้อ ทั้งหลายอาจต้องวิ่งอ้อมเป็นระยะทางไกล และต้องมาใช้บริการทางเรือ ซึ่งเสียเวลามากๆ
ดังนั้นการพิจารณา จัดระเบียบดังกล่าว ซึ่งยึดหลัก พรบ.จราจรปี 2522 ถือได้ว่าล้าสมัยต่อปัจจุบันการณ์มาก เพราะรถจักรยานยนต์ในสมัยนี้ เพียงแค่ 125cc นั้นสามารถทความเร็วได้ในระดับเดียวกับรถยนต์แล้ว

เอาเป็นว่าคงต้องรอดูติดตามกันต่อว่าจะส่งผลกระทบมากน้อยเพียงใด และจะมีการร้องเรียน หรือ รวมกลุ่มเหล่า Bikers ทั้งหลายออกมาเพิ่มขึ้นอีกขนาดไหนกัน

เพื่อนๆ Bikers สามารถติดตามข่าวสารวงการล้อ ได้ทางแฟนเพจ MotoRival ของเราครับ

Share.

About Author

Background EXP in Automotive journalists more than 10 Years Writer & Test Driver @Pantip Garage 2018-Present @9carthai 2015- 2017 @Torque & VIPStyle Magazine 2015 @Autospinn 2012-2015 @GTmania.tv 2009-2010

error: Content is protected !!