รถแข่ง MotoGP ปีกตรงไหน มีไว้ทำอะไรบ้าง?

0

ในการแข่งขัน MotoGP ในยุคหลัง หลายคนคงเริ่มเห็นการนำชุดอุปกรณ์แอโร่ไดนามิค หลากรูปแบบมาติดตั้งไว้บนตัวรถในหลายตำแหน่ง บ้างก็ใหญ่ บ้างก็เล็ก บ้างก็ทำหน้าที่นี่ชัดเจนเดาได้ไม่ยาก แต่บ้างก็มีไว้ทำอะไรไม่รู้ วันนี้เราเลยจะพามาดูหน้าที่การทำงานของปีกและชิ้นส่วนแอโร่ไดนามิครอบคันกัน ว่าแต่ละชิ้นมีไว้ทำอะไร

motogp-wing-explain-000.jpeg

ปีกด้านหน้า ชุดปีกแอโร่ไดนามิคพวกแรกที่ไม่ใช่อุปกรณ์แฟริงแบบเดิมที่เราคุ้นเคย น่าจะเป็นสิ่งที่เรานึกถึงมากที่สุดหากพูดถึงยุคสมัยของปีกบนรถแข่ง MotoGP โดยปีกด้านหน้าที่ว่านี้จะรวมถึงชุดปีกขนาดใหญ่ที่ติดอยู่ด้านข้างรวมไปด้วย(เพราะทำหน้าที่เดียวกัน) หน้าที่ของมันคือการเปลี่ยนแรงต้านอากาศด้านหน้ารถให้กลายเป็นแรงกด ช่วยป้องกันอาการหน้ายกตอนที่เร่งด้วยความเร็วสูง และช่วยสร้างแรงกดที่ล้อหน้าเพื่อเพิ่มการยึดเกาะของยางหน้า ในตอนที่มีการเบรก ต่างกับรถยนต์ที่สร้างแรงยึดเกาะในโค้ง

motogp-wing-explain-001.jpeg

สปอยเลอร์ท้าย ทำหน้าที่เปลี่ยนแรงต้านอากาศให้เป็นแรงกดแบบเดียวกับชุดปีกหลักด้านหน้า แต่มันจะทำหน้าที่กดท้ายรถไม่ให้ลอย เมื่อต้องเบรกอย่างหนัก เพิ่มการยึดเกาะที่ล้อหลัง ทำให้สามารถใช้เบรกหลังช่วยได้มากขึ้น

motogp-wing-explain-002.jpeg

ครีบหลังก็อดซิลล่า ทำหน้าที่ลำเรียงอากาศด้านท้ายรถให้เป็นระเบียบมากขึ้น ทำให้ลดกระอากาศปั่นป่วนที่ด้านหลัง ส่งผลให้ตัวรถสามารถทำความเร็วได้สูงขึ้น นอกจากนี้ยังสร้างแรงกดที่ด้านหลังของตัวรถเมื่อทำการเข้าโค้ง เพราะครีปหลังดังกล่าวจะทำมุมขนานกับพื้นพอดีตอนเข้าโค้ง และจะช่วยกดตัวรถตอนอยู่ในโค้ง

motogp-wing-explain-003.jpeg

สปอยเลอร์ใต้สวิงอาร์ม ทำหน้าที่หลักตามกติกานั้นคือการเป็นตัวช่วยบังคับทิศทางลมให้เป่าไปที่ยางหลัง เพื่อลดความร้อนของยาง และเพิ่มอายุการใช้งาน แต่ขณะเดียวกันมันก็มีผลพลอยได้เป็นการสร้างแรงกดเล็กน้อยให้กับสวิงอาร์ม ซึ่งที่จริงแล้วถือว่าผิดกติกา แต่ว่าแต่ละทีมก็พยายามเลี่ยงบาลีโดยการระบุว่าเป็นอุปกรณ์ลดความร้อนของยางแทน

motogp-wing-explain-004.jpeg

ช่องลมแฟริ่งด้านล่าง หรือช่องอากาศ Downwash ในเวลาที่รถวิ่งทางตรงแบบตั้งตรง ช่องลมนี้จะดึงอากาศจากด้านบนมาเป่าที่ด้านล่างของตัวรถ ช่วยลำเลียงอากาศใต้ท้องรถที่ผ่านมาจากล้อหน้าให้เป็นระเบียบ เพื่อเพิ่มความเร็วของรถได้ นอกจากนี้ในตอนที่รถเข้าโค้ง ช่องอากาศนี้จะอยู่ใกล้กับพื้นสนามและทำองศาขนาดไปกับพื้น ช่วยสร้างแรงกดเพิ่มได้อีกด้วย ขณะเดียวกันช่องลมที่เป่าไปที่ด้านล่างของตัวรถนั้นจะทำหน้าที่ส่งอากาศไปที่อีกด้านของตัวรถในตอนที่เข้าโค้ง เมื่ออากาศไหลผ่านท้องรถทางด้านข้าง ก็จะสร้างแรงกดแบบเดียวกับดิฟฟิวเซอร์ที่ด้านหลังของรถยนต์

motogp-wing-explain-005.jpeg

แฟริ่งโป่งด้านล่าง ทำหน้าที่สร้างแรงกดให้ตัวรถขณะเข้าโค้งคล้ายกับช่อง Downwash แต่จะใช้วิธีสร้างแรงกดด้วย Ground Effect คือเมื่อตัวรถเข้าโค้งมากขึ้น แฟริ่งส่วนนี้ของตัวรถก็จะเข้าใกล้พื้นสนามมากกว่าแฟริ่งส่วนอื่น และเมื่ออากาศที่ไหลผ่านช่วงว่างที่เล็กลงก็จะเพิ่มความเร็วมากขึ้น อากาศที่ไหลเร็วนั้นมีแรงกดต่ำ ทำให้ตัวรถถูกดูดให้ติดกับพื้นมากขึ้นแทน

motogp-wing-explain-006.jpeg

แรมแอร์คาลิเปอร์เบรก ทำหน้าที่ลำเรียงอากาศให้มาช่วยระบายความร้อนของคาลิเปอร์และผ้าเบรก

motogp-wing-explain-007.jpeg

แผ่นครอบดิสก์เบรกและล้อ ช่วยเพิ่มความลู่ลมให้กับล้อรถ เนื่องจากล้อรถตามปกติรวมถึงระบบเบรกนั้นไม่ได้มีความลู่ลมมาตั้งแต่ต้น เช่นเดียวกับตัวรถมอเตอร์ไซค์ที่ไม่มีแฟริ่ง นอกจากนี้มันยังสร้างแรงกดได้เล็กน้อยเมื่อตัวรถเข้าโค้ง ซึ่งจะทำหน้าที่ได้แบบเดียวกับแฟริ่งส่วนอื่นที่จะสร้างแรงกดเมื่อรถเอียงใกล้พื้นสนามมากพอ

motogp-wing-explain-008.jpeg

ปีกโช้คหน้า ทำหน้าที่สร้างแรงกดที่ด้านหน้าคล้ายกับชุดปีกขนาดใหญ่ด้านหน้ารถ ถือเป็นการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ของโช้คหน้าในการติดตั้งปีกสร้างแรงกด เพิ่มเข้ามาจากเดิมที่มีแค่ด้านข้างแฟริ่งหลัก นอกจากนี้มันยังช่วยลำเรียงอากาศด้านข้างตัวรถให้เป็นไปในแบบที่วิศวกรต้องการได้อีกด้วย

อ่านข่าวสาร MotoGP เพิ่มเติมได้ที่นี่

Share.

About Author

error: Content is protected !!