รีวิว 2019 Honda CBR250RR ครั้งแรกในไทย สปอร์ตไลท์เวท หล่อสุด กระแสแรงสุด ขณะนี้

0

เรียกได้ว่าเพิ่งเปิดตัวกันไปหมาดๆ ในงาน BIMS2019 กับรถสปอร์ตที่คนไทยรอคอยกันมานานที่สุดรุ่นหนึ่ง นั่นก็คือ Honda CBR250RR และหลังจากเปิดตัวกันไปไม่นาน ทางทีมงาน MotoRival เราได้รับเกียรติจาก A.P.Honda รับรถมาทดสอบเป็นเจ้าแรกๆของไทย ดังนั้น ในวันนี้ เราจึงขอพาทุกท่านมาพบกับ รีวิว 2019 Honda CBR250RR ที่ถือได้ว่าเป็นรถสปอร์ตไลท์เวทที่ กระแสแรงที่สุดในขณะนี้

Review-2019-Honda-CBR250RR_26ก่อนอื่นเลยเรามาพูดถึงรูปลักษณ์ภายนอกของ 2019 Honda CBR250RR กันก่อน

Review-2019-Honda-CBR250RR-F-R
CBR250RR ถือเป็นรหัส RR (Racing Replica) เพราะฉะนั้น มันจะมีภาพลักษณ์ที่ดูสปอร์ตชัดเจนมากกว่า รหัส R อย่าง CBR150R, CBR300R, CBR500R, CBR650R

Review-2019-Honda-CBR250RR-Headlamp
เริ่มตั้งแต่ชุดไฟหน้าแบบ LED ซึ่งเป็น Dual Layer อันเป็นเอกลักษณ์ ของรหัส 250RR ซึ่งสเป็กจำหน่ายไทยเราเป็นญี่ปุ่น
ตำแหน่งไฟ Position Light ทางคู่บน และ ไฟต่ำ คู่ล่าง สว่างพร้อมกันทั้ง 2 ข้าง ไฟสูงจะอยู่ถัดมาด้านข้างจากไฟต่ำ

2019-honda-cbr250rr-bims-2019-22
ชุดไฟเลี้ยวแบบแท่งรูปทรงเดียวกับไฟเลี้ยว CBR650R, CBR500R ตำแหน่งยื่นออกมาจากชุด Cowling หน้า (ถ้าเป็นอินโด สเป็กไฟเลี้ยวจะฝังอยู่ในโคม Position Light)

Review-2019-Honda-CBR250RR_20
ไฟท้ายก็เป็นไฟ LED แบบ Dual Layer เช่นกัน โดยด้านล่างเป็นไฟเบรก

Review-2019-Honda-CBR250RR_11
ชุดขายึดทะเบียนสามารถถอดทำท้ายสั้นได้ ตามรูปแบบของรถ Sport Bike ยุคใหม่ๆ

Review-2019-Honda-CBR250RR_04
บั้นท้าย มีช่องรีดอากาศ (Air Duct) เช่นเดียวกัน

Review-2019-Honda-CBR250RR_15ซึ่งชุดท้ายนี้ถือได้ว่ามีความคลับคล้ายกับ Ducati Panigale เป็นอย่างมาก

Review-2019-Honda-CBR250RR_07
ถัดมาคือตัวกระแฟริ่งด้านข้าง ซึ่งมีจุดเด่นในสไตล์รถแบบ MotoGP นั่นก็คือ มี Winglet ติดตั้งที่บริเวณด้านข้างแฟริ่งช่วงอก ทั้ง 2 ฝั่ง

Review-2019-Honda-CBR250RR_02
ในขณะที่ชุดแฟริ่งด้านข้างดูมีความสวยงามตามท้องเรื่อง พร้อมดีไซน์ช่อง Air duct ตามจุดต่างๆ

Review-2019-Honda-CBR250RR_17
เพิ่มลูกเล่นด้วยการแซมลวดลายเคฟล่า

Review-2019-Honda-CBR250RR_12
แฟริ่งด้านข้างมีสติกเกอร์ 250RR บ่งบอกรุ่นรหัส

Review-2019-Honda-CBR250RR_22
ขณะที่ชิ้นพลาสติกใต้ถังน้ำมัน มีสติกเกอร์แปะ Throttle by Wire (คันเร่งไฟฟ้า)

Review-2019-Honda-CBR250RR_23
ตัวถังน้ำมันขนาดความจุ 14.5 ลิตร มาพร้อมชุดครอบถังที่ดูมอบความสปอร์ต และเพิ่มดูเพิ่มเส้นสายให้มีมิติมากยิ่งขึ้น

Review-2019-Honda-CBR250RR-Frame
ชุดเฟรมเป็นแบบ Pentagon Truss Frame หรือโครงเหล็กถัก ออกแบบด้วยเทคโนโลยี CAE (Computer Aided Engineering) ซึ่งมีข้อดีในเรื่องของความแข็งแรง แต่เบา
นอกจากนี้เฟรมฝั่งขวามีแปะสติกเกอร์ Made In Japan บอกว่านำเข้า CBU ทั้งคัน

Review-2019-Honda-CBR250RR_18
สวิงอาร์มอะลูมิเนียมใช้เทคนิคการหล่อขึ้นรูปแบบ GDC (Gravity Die Casting) แข็งแรง น้ำหนักเบา

Review-2019-Honda-CBR250RR_21
เช่นเดียวกับล้ออลูมีเนียม Enkei 7 ซี่ ก็ขึ้นรูปแบบ GDC เช่นกัน

Review-2019-Honda-CBR250RR_13
ท่อไอเสียเป็นแบบออกข้าง ดีไซน์ทรงเหลี่ยมออกคู่ ลักษณะคล้ายปืน Shotgun ดูเท่ ไม่เบา

Review-2019-Honda-CBR250RR_05
Honda ยังทิ้งลูกเล่นความเป็น Sport Replica เพิ่มเติม ด้วยการลดน้ำหนัก พักเท้าหลัง ด้วยวิธีการเซาะร่อง

Review-2019-Honda-CBR250RR-Dashboard
หน้าจอมาตรวัด Full Digital LCD Black Light แสดง interface ได้ 2 แบบ ในแบบทั่วไป และ Race ซึ่งจะเน้นเรื่องการจับเวลา Lap Time (ปรับรูปแบบโดยกดปุ่ม Set + Select)

ข้อมูลแสดงผลตรงกลาง ประกอบไปด้วย ความเร็วเป็นตัวเลขตรงกลาง, วัดรอบแบบแถบกวาด Redline 14,000-16,000rpm มีเลขบอกตำแหน่งเกียร์, Riding Mode, Odo, Trip A/B, อัตราสิ้นเปลืองเฉลี่ย/Realtime, น้ำมันที่ใช้ไปในแต่ละทริป, มีไฟ Shift Light ทางด้านบนเป็นแสงสีขาว
ซึ่งลูกเล่นมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการ ปรับตั้งค่า Shift Light ได้, ตั้งค่าความสว่าง Shift Light, เลือกช่วงรอบเครื่องที่จะให้ไฟกระพริบเตือนได้, เลือกลักษณะการวิ่งของแถบรอบเครื่องได้ เป็นต้น

Review-2019-Honda-CBR250RR_08
ชุดแฮนด์บาร์เป็นแบบจับโช้กใต้แผงคอ ซึ่งเมื่อเทียบกับความสูงเบาะแล้ว ถือว่ามันทำให้ท่านั่งของผู้ขี่ต้องหมอบก้มหน้าลงพอสมควร ให้ความรู้สึกใกล้เคียงกับคำว่าสปอร์ต-เรพลิก้าที่สุดในคลาสขณะนี้

Review-2019-Honda-CBR250RR-Switch
ชุดสวิทช์ไฟซ้าย มีปุ่ม Lap และ ปุ่ม Mode เพิ่มเข้ามา แต่ยังไม่มีไฟไฟฉุกเฉิน
ชุดสวิทช์ไฟขวา เป็นปุ่ม Run-Off ซึ่งด้านข้างมีเขียนไว้ว่า Throttle by Wire (คันเร่งไฟฟ้า)

Review-2019-Honda-CBR250RR_28
ด้านมิติรถ CBR250RR
กว้าง x ยาว x สูง = 724 x 2,060 x 1,098 มม.
ระยะฐานล้อ 1,398 มม.
ระยะ Ground Clearance 145 มม.
ความสูงเบาะ 790 มม.
น้ำหนักตัว 168 กก.
ความจุถังน้ำมัน 14.5 ลิตร

Review-2019-Honda-CBR250RR_06
ท่านั่งการขับขี่
แม้จะใช้แฮนด์แบบจับโช้กด้านใต้แผงคอ แต่โดยรวมถือว่าไม่ก้มลงไปต่ำมากนัก เหมือนอย่างรถ Supersport หรือ Superbike ตำแหน่งแฮนด์ดูใกล้เคียงกับ CBR500R
ขณะที่ความสูงเบาะ 790 มม. นั้นก็ใกล้เคียงกับรถ Sport Entry bike คันอื่นๆ และช่วงเบาะที่ติดกับถังน้ำมันมีความแคบพอสมควร ซึ่งผู้ที่มีสรีระไม่สูงมากนักน่าจะเหยียบเท้าได้แบบสบายๆ

Review-2019-Honda-CBR250RR_32
อย่างไรก็ดีผู้ทดสอบรู้สึกว่าช่วงมุมของชุดครอบถังน้ำมัน อาจจะไม่ค่อยกระชับกับท่อนแขนมากนักเมื่อเราหมอบขี่เหน็บถัง หรือ ถ้าจะต้องโหนตัวเวลาขี่เข้าโค้ง

Review-2019-Honda-CBR250RR_33
ในส่วนของเบาะผู้ซ้อนนั้นขนาดเล็ก เรียกได้ว่าพอๆ กับตัวพัน ดังนั้นผู้ที่ตัวใหญ่ อาจจะนั่งลำบากเสียหน่อย เพราะก้นตกของเบาะมาที่บริเวณชุดแฟริ่งท้าย

Review-2019-Honda-CBR250RR_16
ขุมพลังเครื่องยนต์ 2 สูบ 249cc DOHC ระบายความร้อนด้วยน้ำ
มีความความกว้างกระบอกสูบ x ช่วงชัก = 62.0 X 41.3 มม. กำลังอัพที่ 11.5 : 1
ตัวเลขสมรรถนะ ตามเคลม 38 แรงม้า @13,500rpm และแรงบิด 23Nm@11,000rpm
จากสไตล์เครื่องยนต์ลูกนี้ ถือได้ว่าเป็นรถในพิกัด 250cc ที่จัดจ้านมากที่สุดรุ่นหนึ่ง กับ Redline ที่ระดับ 14,000rpm

Review-2019-Honda-CBR250RR_01
เอาล่ะก่อนอื่นบิดกุญแจสตาร์ทเครื่องยนต์ ไม่ว่าคุณจะ Set Riding Mode ก่อนหน้าไว้ที่ Mode อะไรก็ตามพอติดเครื่องมาใหม่ จะเซ็ทมาที่โหมด Sport โดยอัตโนมัติ
มาลองเบิ้ลเครื่องฟังเสียงดูสักหน่อย ถือว่าเงียบมากทีเดียว รู้สึกได้ว่าอั้นพอควรทั้งในส่วนของไอดี และไอเสีย
กำคลัทช์ ตบเกียร์ออกตัว พบว่าแม้ไม่มี Slipper Clutch แต่น้ำหนักคลัทช์ก็ยังเบาสบายๆ ถ้าขี่ในเมืองรถติดๆ คงไม่เมื่อยปวดนิ้วง่ายๆ แน่

2019-Honda-CBR250RR-RedRiding Mode มี 3 รูปแบบ
– Comfort จะเน้นออกแนวแบบเนิบๆ คันเร่งมาแบบเรียบๆ เนื่องจากมีการชะลอในส่วนของการเปิดลิ้นผีเสื้อ และกำลังจะถูกตอนลงเล็กน้อย ประมาณ 2 แรงม้า
– Sport ยังสัมผัสได้ว่าคันเร่งหน่วงอยู่ แต่การตอบสนองก็ถือว่ามาไวขึ้นอีกหน่อย ขณะที่พละกำลังม้ามาเต็ม
– Sport+ คันเร่งจะดูตอบสนองไวยิ่งขึ้น ดูพุ่งๆ ชัดเจน

คลิปอัตราเร่งเทียบ 3 Riding Mode

นอกจากอัตราเร่งจะแตกต่างกันรวมถึงการตอบสนองของคันเร่งไฟฟ้าแล้ว อีกจุดที่พบ ก็คือ Engine Brake ที่มีมากน้อยแตกต่างกัน
โดย Sport+ จะ มี Engine Brake หนักสุด, Sport รองมา และ Comfort นุ่มสุด

Review-2019-Honda-CBR250RR_19
มาที่ภาพรวมของสมรรถนะ การใช้งานโดยรวมเราต้องบอกว่า ยังไงก็ตามขุมพลังบล็อกนี้เป็นเครื่องไซส์ 250cc ดังนั้น หากจะเทียบ Performance กับรถ Entry Bike ในสมัยนี้ที่มักจะเริ่มที่ 300cc ไปจนถึง 400cc
ในส่วนของทอร์ค นั้นต้องขอเรียนตามตรงว่ามันคงสู้กับรถพิกัดสูงกว่าไม่ได้ เพราะ cc สูงกว่า ก็มักจะได้เปรียบเรื่องแรงบิดที่เด่นกว่า
ดังนั้น การใช้งานออกตัวที่รอบต่ำในเมือง ก็ต้องบอกว่า CBR250RR ไม่ได้มาหวือหวา แต่อย่างใด
แต่เมื่อบิดลากรอบเข้าสู่ช่วง Power Band ย่านกลางไปจนถึง High Rev ก็ต้องถือว่า เริ่มบิดสนุกติดมือมากยิ่งขึ้น

TopSpeed-Test-2019-CBR250RR
เราได้ทดสอบ Top Speed พบว่า มันถูกล็อกที่ช่วง 180 กม./ชม.@13,000rpm มีไหลไปได้ถึง 182 กม./ชม. พบว่าเป็นช่วงลงเนิน

สามารถดูคลิป Top Speed Test CBR250RR ได้ตามนี้ครับ

ปิดท้ายกันที่อัตราสิ้นเปลือง ค่าเฉลี่ยเราวิ่งได้ที่ 22 กม./ลิตร กับการใช้งานขี่ในเมืองที่ไม่เน้นประหยัดอะไรนัก ซึ่งเทียบอัตราสิ้นเปลืองแล้ว ถือว่าใกล้เคียงกับ CBR500R

Review-2019-Honda-CBR250RR_10
ระบบกันสะเทือน ด้านหน้าเป็นโช้ก UpSideDown ขนาดแกน 37 มม. จาก Showa

Review-2019-Honda-CBR250RR_14
ด้านหลังเป็น Monoshock ปรับ Preload ได้ 5 ระดับ ทำงานร่วมกับ Prolink (กระเดื่องทดแรง) วางบนสวิงอาร์มอลูมีเนียม

Review-2019-Honda-CBR250RR_29
ในการใช้งานจริงถือว่าระบบกันสะเทือนของ CBR250RR ทำหน้าที่ได้ดีกว่า CBR500R ทั้งหน้า/หลัง
โช้กหน้าเป็น UpSideDown แม้ขนาดแกนดูไม่ใหญ่ มาก แต่เมื่อขี่ใช้งานในเมืองที่ผ่านหลุมบ่อ พื้นที่ขรุขระ สามารถซับแรงสะเทือนไม่กระเด้งขึ้นถึงท่อนแขน  และเมื่อเบรกหนักๆ ช่วงยุบดูเยอะจริง แต่ไม่ถึงกับย้วยนิ่มจนเกินไป

ขณะที่โช้กหลัง Set เดิมๆ จากโรงงานปรับที่ระดับ 2 พบว่า ผู้ขี่ น้ำหนักประมาณ 60 กก. ขี่คนเดียว เรียกว่ากำลังดี ไม่นิ่มไม่แข็งจนเกินไป แต่เมื่อ ซ้อน 2 หรือ ผู้ที่ขนาดตัวค่อนข้างใหญ่ อาจจะพบว่ามันดูนิ่มย้วยไปสักนิด ซึ่งยังพอสามารถปรับขันระดับความแข็งให้เหมาะสมได้

Review-2019-Honda-CBR250RR_09
ระบบเบรก จานดิสก์หน้าเดี่ยวขนาด 310 มม. ทำงานร่วมกับปั๊มเบรก 2 ลูกสูบ Nissin แบบ Axial Mount

Review-2019-Honda-CBR250RR_03
ด้านหลังจานดิสก์เดี่ยวขนาด 240 มม. ทำงานร่วมกับปั๊มเบีก 1 ลูกสูบ Nissin มาพร้อมระบบ ABS แบบ 2 Channel (ทำงานแยกหน้า/หลัง)

ในการใช้งานโดยรวมก็ถือว่าทำหน้าที่ได้ดี น้ำหนักเบรกถือว่าพอเพียงกับการชะลอพละกำลังระดับพิกัด 250cc ได้สบาย
และข้อดีของ Honda นั่นคือ ระบบ ABS ที่โดยรวมทำงานได้น่าประทับใจ ABS ทำงานในจังหวะที่เหมาะสม ไม่มาเร็วจนเกินไป เข้ามาเสริมในจังหวะเบรกหนักๆ ได้ทันท่วงที

Review-2019-Honda-CBR250RR_30
สรุปแล้ว รีวิว 2019 Honda CBR250RR ในครั้งนี้ ถือได้ว่าเป็นรถ Sport Lightweight / Entry ที่คนไทยรอคอยกันมายาวนาน คราวนี้มาจริง ไม่ใช่ All New Sticker อีกต่อไป หากคุณกำลังมองหารถสปอร์ตสุดหล่อ เท่ไม่ซ้ำใคร ขี่ควบคุมง่าย เบาคล่องตัวใช้ได้ในทุกๆวัน แต่ไม่ต้องไม่เน้นแรง ถ้าโจทย์ตรงตามนี้ กำเงิน 2.49 แสนบาท ไปจอง CBR250RR คันนี้ได้เลย รับรองตรงสเป็กโดนใจ เป็นแน่

Review-2019-Honda-CBR250RR_27
จุดเด่น
– เป็น CBR ที่มีความสวยงามมากที่สุด
– งานประกอบเนี๊ยบ นำเข้า CBU จากญีปุ่่นทั้งคัน
– น้ำหนักเบา คล่องตัว ขี่คอนโทรลควบคุมได้ง่าย

จุดสังเกตุ
– ยังไม่มีระบบ Slipper Clutch
– กุญแจแบบธรรมดาไม่มีระบบ HISS
– ไอดี/เสีย ดูอั้นพอสมควร

Pon-Honda-CBR250RR
2019 Honda CBR250RR ราคา 2.49 แสนบาท มีให้เลือก 2 สี แดง และดำด้าน
ขอขอบคุณ A.P.Honda สำหรับรถทดสอบ Honda CBR250RR คันนี้
ภณ เพียรทนงกิจ Test Driver + Photo
รณกฤต ลิมปิชาติ Test Driver
สุภิญญา ชำนาญกุล VDO

อ่านรีวิว อื่นๆ เติมเติมได้ที่นี่
อ่านข่าวสาร Honda เพิ่มเติมได้ที่นี่

เพื่อนๆ Bikers สามารถติดตามข่าวสารวงการล้อ ได้ทางแฟนเพจ MotoRival ของเราครับ

Share.

About Author

Background EXP in Automotive journalists more than 10 Years Writer & Test Driver @Pantip Garage 2018-Present @9carthai 2015- 2017 @Torque & VIPStyle Magazine 2015 @Autospinn 2012-2015 @GTmania.tv 2009-2010

error: Content is protected !!