รีวิว Kawasaki KLX230 SE ABS / KLX230R สัมผัสแรก 2 Enduro ใหม่ ค่ายเขียว ทั้งตัวขี่ถนนหลวง และตัวแข่ง

0

ย้อนไปเมื่อวันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ทาง Kawasaki ได้มีการเปิดตัวรถมอเตอร์ไซค์กลุ่ม KLX รุ่นใหม่ All-New MY2020 ออกมา ด้วยนิยามน่าสนใจว่า “Get Out And Play” อันประกอบไปด้วย KLX230, KLX230 SE (ABS), KLX230R, และ KLX300R ซึ่งทางทีมงาน MotoRival ของเราก็ได้รับเชิญเข้าร่วมเปิดตัว พร้อมทดสอบรถรุ่นใหม่ในครั้งนี้ด้วย

รับชมคลิป VDO เปิดตัว KLX ใหม่ ทั้ง 4 โมเดล พร้อมบรรยากาศการทดสอบ และสรุปรวมได้ที่นี่

Kawasaki-KLX230-SE-ABS_1อย่างไรก็ดีด้วยความจำกัดในเรื่องเวลา กับจำนวนรถที่มีให้ทดสอบ ทำให้บรรดาสื่อมวลชนจะได้ทดสอบรถ 2 ใน 4 คัน ใน Session การทดสอบ 15 นาที จากที่มีให้ โชคดีที่เรา ได้มีโอกาสเลือกรถก่อนเป็น KLX230 SE ABS ที่เป็นรุ่นท็อปของตัวใช้งานได้จริงบนถนนหลวง และ ตอนเปลี่ยนรถก็ได้เทสอีกคันเป็นตัว KLX230R เวอร์ชันอัพเกรดรองรับการแข่งที่มาพร้อมกับราคาย่อมเยาว์ ซึ่งผลการทดสอบจะเป็นอย่างไร เรามาว่ากันเลยครับ

Kawasaki-KLX230-Enduro_1เริ่มจาก KLX 230 SE ABS ที่มาพร้อมกับฟีเจอร์โดดเด่นต่างๆดังนี้

2019-Kawasaki-KLX-230_02
ไฟหน้าแบบหลอด ทรงเหลี่ยม และไฟเลี้ยว ทรงอนุรักษ์นิยม แบบ KLX 250 แต่โคมเป็นสีส้ม

2019-Kawasaki-KLX-230_09
ไฟท้ายรูปทรงเหลี่ยม

2019-Kawasaki-KLX-230_08
ท่อไอเสียออกข้างขวายกสูง

2019-Kawasaki-KLX-230_06
ด้วยสไตล์รถเอ็นดูโร สายลุย ก็จะใช้ล้อแบบซี่ลวด ด้านหน้าขนาด 21″ และหลัง 19″

2019-Kawasaki-KLX230-Dash
มาตรวัดแบบ Full Digital LCD

2019-Kawasaki-KLX-230_28
มิติรถ
ยาวxกว้างxสูง = 2,105 x 940 x 1,190 มม. (ส่วนรุ่น Standard จะมีตัวเลขมิติ ยาวxกว้างxสูง = 2,105 x 940 x 1,190 มม.)

2019-Kawasaki-KLX-230_34
น้ำหนักตัว 135 กก. (ส่วนรุ่น Standard จะมีน้ำหนักตัว อยู่ที่ 133 กก.)

2019-Kawasaki-KLX-230_21
เบาะสูง 885 มม.
ถังน้ำมันเหล็กความจุ 7.5 ลิตร

2019-Kawasaki-KLX-230_07
ระบบกันสะเทือน โช้กหน้า Telescopic หัวตั้ง

2019-Kawasaki-KLX-230_11
โช้กหลังเดี่ยว วางบนสวิงอาร์ม Unitrak

2019-Kawasaki-KLX-230_12
ระบบเบรกดิสก์ หน้าจานขนาด 265 มม. ใช้คาลิปเปอร์ 2 สูบ
ด้านหลังขนาด 220 มม. จับด้วยคาลิปเปอร์ 1 สูบ
มาพร้อมระบบ ABS ซึ่งถือเป็นรถ Dual Purpose รุ่นแรกที่ติดตั้งระบบ ABS มาให้
(ส่วนรุ่น STD ที่ไม่มี ABS จะใช้จานเบรกหน้าขนาด 240 มม.)

2019-Kawasaki-KLX-230_03
ขุมพลังของ 2019 KLX 230 เป็นเครื่องยนต์สูบเดี่ยว ความจุ 233cc แบบ SOHC 2 วาล์ว ระบายความร้อนด้วยอากาศ
ทำกำลังสูงสุดที่ 19 แรงม้า (PS)@7,600rp แรงบิดสูงสุด 19.8 นิวตันเมตร@6,100rpm

2019-Kawasaki-KLX-230_17
ไม่เพียงเท่านั้น KLX 230 SE ABS ยังมีจุดเด่น หรือพาร์ทเสริมที่เพิ่มขึ้นมาจากตัว Standard อีก 3 รายการด้วยกันคือ

2019-Kawasaki-KLX-230_14
การ์ดแฮนด์,

2019-Kawasaki-KLX-230_16
กันแคร้งล่าง,

2019-Kawasaki-KLX-230_15
และการ์ดเฟรม

Kawasaki-KLX230-SE-ABS-John_3สมรรถนะโดยรวมของ KLX 230 SE นั้น หากให้เปรียบเทียบกับตัวรถตระกูล KLX ที่มีขายอยู่แล้วในปัจจุบัน นั่นก็คือฝั่งตัวเล็ก KLX 150 และฝั่งตัวใหญ่คือ KLX 250 เราสามารถบอกได้เลยว่าเจ้า 230 คันนี้นั้น ถูกออกแบบมาให้อยู่จุดกึ่งกลางค่อนไปทางบนได้พอดิบพอดี เพราะในฝั่งของเครื่องยนต์ ที่แม้จะเป็นหม้อลม แคมเดี่ยว 2 วาล์ว แต่พละกำลัง หรือเรี่ยวแรงที่ได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงต้น-ถึงกลาง จัดว่าทำได้ดีติดมือ น้องๆตัวใหญ่

Kawasaki-KLX230-SE-ABS-John_2ขณะเดียวกันหากพูดถึงเรื่องความคล่องตัว ด้วยความเบาเพียง 135 กิโลกรัม จึงทำให้การเราสามารถพลิกเลี้ยวตัวรถได้อย่างคล่องตัว และสามารถไต่แบงค์ (เนินที่เอาไว้ไต่เลี้ยวในสนามโมโตครอส) ได้อย่างไม่ฝืนโค้งใดๆ ด้านระบบกันสะเทือนก็เซ็ทมาค่อนข้างนิ่ม ยุบ/คืนไว ทำให้เวลาเจอเนินลูกระนาดสามารถขี่รูดได้อย่างสบายใจ รวมถึงที่มีติตัวรถและความกว้างเบาะช่วงหว่างขา ก็จัดว่าบางมากๆ ทำให้สามารถยืนหนีบตัวรถเพื่อล็อคตอนเจอพื้นลื่นๆได้แบบไม่ขืนร่างกายเลยแม้แต่น้อย

Kawasaki-KLX230-SE-ABS-John_1นอกนั้นในเรื่องของตำแหน่งแฮนด์ พักเท้า หรือท่านั่งโดยรวม ทาง Kawasaki ก็ยังมีความเหมาะเจาะพอดี ช่วยให้นั่หรือยืนควบคุมตัวรถตามลักษณะการใช้งานได้อย่างเป็นธรรมชาติ ซึงนี่เป็นจุดเด่นที่ทางค่ายทำได้ดีในรถมอเตอร์ไซค์แทบทุกประเภทที่พวกเขาทำขาย ส่วนระบบ ABS ที่หลายคนมองว่ามันอาจจะกวนการกดเบรกหลังเพื่อแถ หรือสไลด์ท้ายตอนเข้าโค้งนั้น ก็หายห่วงได้เลยครับ เพราะทางวิศวกรเซ็ทอัพให้ระบบ ABS ทำงานยากพอสมควร ถ้าไม่กดจนล็อคจริงๆ ระบบป้องกันล้อล็อคที่ว่านี้ ก็จะไม่ทำงานง่ายๆ ดังนั้นเราจึงสามารถหน่วงล้อหลังเพื่อแถท้ายรถแล้วกวาดเข้าโค้งได้อย่างไม่หงุดหงิดใจเลยสักนิด

2019-Kawasaki-KLX230Rต่อกันที่ KLX230R ซึ่งเป็นเวอร์ชันตัวแข่ง และจดทะเบียนไม่ได้นั้น จะถูกตัดทอนชิ้นส่วนที่ไม่จำเป็นทิ้งไปทั้งหมด แล้วแทนที่ด้วยบอดี้พาร์ทที่เหมาะกับการใช้งานแนวโมโตครอสมากขึ้นทั้ง

แผ่นพลาสติกปิดหมายเลขด้านหน้าที่ถูกใช้แทนกรอบไฟหน้าของเดิม

ถอดชุดมาตรวัดเดิมออกไป และเหลือไว้แค่เพียงสวิทช์เปิด/ปิดระบบไฟตัวรถตรงกลาง ส่วนประกับแฮนด์ซ้าย ก็ถูกแทนที่ด้วยสวิทช์ดับเครื่อง แน่นอนว่าประกับขวาก็ถูกถอดออกแล้วถูกประจำการด้วยสวิทช์สตาร์ทเครื่องยนต์แทน

ถังน้ำมันพลาสติกแบบใหม่ น้หนักเบา และให้ขนาดความจุเพียง 6.6 ลิตร

Kawasaki-KLX230-Enduro_2ระบบกันสะเทือนหน้า/หลังเซ็ทใหม่ และเพิ่มช่วงยุบ รวมถึงเพิ่มความสูงให้มากขึ้นกว่าตัวใช้งานบนถนน

สวิงอาร์มหลังเปลี่ยนใหม่เป็นแบบอลูมิเนียม

Kawasaki-KLX230R_2และสุดท้ายคือเครื่องยนต์สูบเดี่ยว ความจุ 233cc แบบ SOHC 2 วาล์ว ระบายความร้อนด้วยอากาศ ลูกเดียวกับ KLX230 SE ABS แต่ถูกปรับจูนใหม่ให้ ทำกำลังสูงสุดได้มากขึ้นเป็นที่ 20 แรงม้า (PS)@8,000rpm กับแรงบิดสูงสุดอีก 20.6 นิวตันเมตร@6,000rpm

แน่นอนว่าหากพูดถึงฟีลลิ่งของ KLX 230 R ซึ่งเปรียบเสมือนการเอา KLX 230 SE มาตัดออพชันที่ไม่จำเป็นต่างๆออกไป แล้วเสริมด้วยการเปลี่ยนชิ้นส่วนบางอย่างและเซ็ทอัพตัวรถใหม่ให้เหมาะกับการแข่งขันมากขึ้นดังที่เราได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ ทำให้สัมผัสแรกตอนขึ้นคร่อม เราสามารถจับได้ทันทีเลยว่า เจ้า “R” คันนี้ มีทั้งความสูง, ความเบา, และความเฟิร์มของช่วงล่าง มีความแตกต่างจากตัวถนนอย่างชัดเจน

Kawasaki-KLX230R_1และเมื่อเราได้ลองสตาร์ทรถขี่ออกไปแล้ว เราก็สามารถจับความรู้สึกได้เพิ่มเติมอีกว่า อัตราเร่งของเจ้า 230R ค่อนข้างดุดันมากขึ้น ซึ่งก็เป็นเพราะว่าอัตราทดขั้นสุดท้าย (ฟันสเตอร์หน้า/หลัง) ของมันถูกทดให้จัดขึ้นกว่าตัวแสตนดาร์ดพอสมควร, น้ำหนักตัวที่หายไปอีกถึง 20 กิโลกรัม, และเครื่องยนต์ที่ถูกปรับจูนให่ให้เค้นกำลังได้มากยิ่งขึ้น ดังนั้นเมื่อถึงเวลาที่เราต้องเปิดคันเร่งเพื่อกระชากล้อ หรือตะกุยตัวเองออกจากโค้ง ไปจนถึงการปีนเนินโดด เจ้า “R” คันนี้จึงให้ความสนุกสนานตอนเปิดคันเร่งที่มากกว่าอย่างเห็นได้ชัด

ไม่เพียงเท่านั้น ในส่วนของระบบกันสะเทือนที่แม้ว่าจะสูง และมีช่วงยุบมากกว่า แต่หากพูดถึงเรื่องความแข็ง หรือความหนืด ในการยืด/ยุบ ตัวของโช้กกลับมีแน่นกว่า ทำให้เวลาเราโดดเนินสูงๆไปแล้วตัวรถจะมีความนิ่ง และเวลาที่ต้องสาดโค้งด้วยการไต่แบงค์ ตัวรถก็สามารถทรงตัวได้ดีกว่าตัวสแตนดาร์ดหรือ ABS เช่นกัน นอกนั้นในเรื่องของความคล่องตัวก็คงไม่ต้องพูดถึงให้มากความครับ มันดีกว่าตัว 230 SE ขึ้นมาอีกระดับแน่นอน

Kawasaki-KLX230-Enduro_1สรุป รีวิว Kawasaki KLX 230 SE ABS ในครั้งนี้ ที่พร้อมเปิดตัวออกมาใหม่นั้น แม้จะมีเเครื่องยนต์แบบสูบเดียว แควเดี่ยว 2 ลาล์ว แถมยังระบายความร้อนด้วยอากาศ แต่มันถือเป็นรถมอเตอร์ไซค์แนวเอนดูโร่ ที่ให้ความสนุกสนานในเรื่องพละกำลังและอัตราเร่งได้ดีไม่แพ้รุ่นใหญ่กว่าอย่าง KLX250 ขณะเดี่ยวกันหากพูดถึงเรื่องความคล่องตัว เจ้า 230 นี้เองก็ทำได้ดีไม่แพ้รุ่นเล็กกว่าอย่าง KLX150BF เช่นกัน ดังนั้น KLX230 SE จึงเป็นจุดกึ่งกลางระหว่างทั้งสองรุ่นที่เรากล่าวมาได้อย่างพอดิบพอดีมากๆ ดังนั้นหากเพื่อนๆมองว่ากับตัวเลขราคาที่ตั้งเอาไว้ 1.33 แสนบาทนั้นสูงเกินไปล่ะก็ ลองมาทดสอบดูครับ แล้วอาจจะคิดใหม่ก็ได้

Kawasaki-KLX230-Enduro_3ในขณะที่ฝั่ง KLX230R นั้น แม้จะถูกตัดทอนของหลายอย่างออกไป แต่ก็เพื่อให้มันสามารถใช้งานในเชิงแข่งขัน หรือบุกตะลุยแบบจริงจังได้มากขึ้น ซึ่งก็อย่างที่เราได้กล่าวไปในข้างต้นว่ามันก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ ดังนั้นหากเพื่อนๆกำลังมองหารถโมโตครอสที่เอาไว้ขี่กึ่งเล่นกึ่งจริงในป่าเขาหลังบ้านตัวเองอยู่ละก็ การนำเม็ดเงินจำนวน 1.25 แสนบาท มาซื้อเจ้านี้ไปใช้งานในรูปแบบดังกล่าวก็ถือว่าเป็นแนวคิดที่น่าสนใจเช่นกัน (ขี่สนุกกว่า แต่ก็ถูกกว่า KLX230 SE ABS อีกแหน่ะ ฮ่าๆ)

2019-Kawasaki-KLX-230_28
ทิ้งท้ายกันอีกนิด กับตัวเลขของอีก 2 รุ่นที่เหลือที่เราไม่ได้ทำการรีวิวในครั้งนี้ นั่นก็คือ Kawasaki KLX230 STD : 120,000 บาท และ ในฝั่งของ Kawasaki KLX300R : 200,000 บาท โดยทั้งหมดนี่เป็นราคาช่วงแนะนำ แต่จะตรึงไว้ถึงเมื่อไหร่นั่น เราจะมาอัพเดทให้ทราบกับอีกครั้งเมื่อมีข้อมูลจากทาผู้บริหารครับ

อ่านข่าวสาร Kawasaki เพิ่มเติมที่ได้ที่นี่

เพื่อนๆ Bikers สามารถติดตามข่าวสารวงการล้อ ได้ทางแฟนเพจ MotoRival ของเราครับ

Share.

About Author

error: Content is protected !!