WHO แนะแก้กฎหมาย จำกัดความเร็ว 60 กม./ชม. ในเขตเมือง

0

เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม นพ.วิทยา ชาติบัญชาชัย ผู้อำนวยการศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกด้านการป้องกันอุบัติเหตุ กล่าวว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้มีคำแนะนำในเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศต่างๆ ด้วยการลดจำนวนผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนลง

โดยพบว่าประเทศต่างๆ จำเป็นต้องเพิ่มความเข้มงวดของกฎหมายด้านความปลอดภัยทางถนน ซึ่งมี 5 ปัจจัยที่สำคัญ คือ เรื่องการใช้ความเร็ว, เมาแล้วขับ, สวมหมวกนิรภัย, การคาดเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่ง และการใช้เบาะนิรภัยสำหรับเด็กในรถยนต์ โดยได้มีการหารือร่วมกับศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน เพื่อให้เกิดการนำเสนอต่อศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน (ศปถ) เพื่อนำไปสู่การปรับแก้กฎหมายต่อไป

นพ.วิทยากล่าวว่า ข้อเสนอดังกล่าวจะอิงตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก ซึ่งเป็นมาตรฐานความปลอดภัยสากลและมีงานวิจัยรองรับว่าจะสามารถช่วยลดผลกระทบได้ เช่น มาตรการการลดความเร็วในพื้นที่เขตเมือง 60 กิโลเมตร/ชั่วโมง ยกเว้นช่องทางด่วน เหตุผลคือถนนในเขตเมืองเป็นถนนที่มีการใช้ร่วมกันระหว่างผู้ขับรถจักรยานยนต์ คนเดินถนน ซึ่งการใช้ความเร็วจะทำให้เกิดโอกาสเสียชีวิตได้สูงขึ้นและบาดเจ็บรุนแรงเพิ่มขึ้น

Logo-WHO
หลายประเทศเริ่มมีการลดความเร็วในเขตเมืองเหลือเพียง 50-60 กม./ชม. แล้ว ซึ่งพบว่าความเร็วระดับนี้จะทำให้สามารถเบรกได้ทันและความสูญเสียรุนแรงลดลง

นพ.วิทยากล่าวเพิ่มว่า สำหรับพื้นที่ กทม.ถือว่าเป็นพื้นที่เขตเมืองทั้งหมด ยกเว้นทางด่วน ทางยกระดับ ส่วนพื้นที่เบตเมืองในต่างจังหวัด ได้แก่ พื้นที่ถนนเทศบาลทั้งหมด ซึ่งมีเส้นแบ่งที่ชัดเจนอยู่แล้ว โดยเฉพาะถนนทางหลวงที่ตัดผ่านพื้นที่เขตเมืองในจังหวัดต่างๆ ซึ่งพบว่าเกิดอุบัติเหตุที่มีความรุนแรงเพิ่มขึ้น

ทั้งนี้นอกจากการปรับแก้กฎหมาย ยังจำเป็นต้องเพิ่มเครื่องมือเช่นกล้องจับความเร็วเพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิภาพ รวมทั้งต้องทำความเข้าใจประชาชนเพื่อให้เกิดความร่วมมือ

ขอบคุณที่มา Auto.Sanook

เพื่อนๆ Bikers สามารถติดตามข่าวสารวงการล้อ ได้ทางแฟนเพจ MotoRival ของเราครับ

Share.

About Author

Background EXP in Automotive journalists more than 10 Years Writer & Test Driver @Pantip Garage 2018-Present @9carthai 2015- 2017 @Torque & VIPStyle Magazine 2015 @Autospinn 2012-2015 @GTmania.tv 2009-2010

error: Content is protected !!