เปลี่ยนกฎอีก MotoGP เตรียมเปลี่ยนกฏ Aero Fairing หลัง Yamaha ออกแบบชิ้นส่วนบอดี้ที่มี “รูปทรงคล้ายปีกมากเกินไป” ในการทดสอบที่ Sepang

0

แม้ว่าหลังจากที่ทางกรรมการการแข่งขัน MotoGP ทางด้านเทคนิค Danny Aldridge ได้ทำการออกกฏแบน “ปีก” ที่ถูกออกแบบมาช่วยแก้ปัญหาอาการหน้ารถลอยของตัวแข่งไปหลังจบฤดูกาล 2016 เนื่องจากมีหลายเสียงวิจารณ์ออกมากล่าวว่าเจ้าปีกดังกล่าวนั้นอันตรายต่อนักบิดผู้อื่นเกินไป เพราะมันอาจจะแทงเข้าไปยังลำตัวของพวกเขาได้ทุกเมื่อ

yamaha-new-winglet-solution-for-2017-m1-02
แต่จนแล้วจนรอดเหล่าผู้ผลิตต่างๆก็ได้ทำการออกแบบแฟริ่งชุดใหม่ที่มี “ปีกแบบซ่อนตัวภายในแฟริ่ง” ออกมาเพื่อใช้กับตัวแข่งโฉมปี 2017 ของพวกเค้า โดยทีมแรกที่ทำออกมาให้เห็นก็คือ Yamaha ซึ่งออกแบบให้ตัวแฟริ่งมีชั้นโป่งออกมาด้านนอกแล้วแทรกตรงกลางระหว่างเปลือกแฟริ่งชั้นในกับเปลือกแฟริ่งชั้นนอกด้วยครีบเรียงอากาศสามอันไว้ด้านใน ซึ่งเป็นไปตามกฏที่ระบุไว้ว่า “ชิ้นส่วนหรือรูปทรงใดๆก็ตามที่มีผลถึงหลักกากาศพลศาสตร์ของตัวรถ แต่ไม่ได้เป็นส่วนใดส่วนหนึ่งกับบอดี้พาร์ท จะถูกระงับใช้”

2018-motogp-sepang-winter-test-07
อย่างไรก็ตาม Danny ไม่ต้องการที่จะแบนระบบแฟริ่งที่ช่วยในเรื่องหลักอากาศพลศาสตร์ไปเลยซะทีเดียว แต่เพียงแค่ต้องการให้มันปลอดภัยขึ้นเท่านั้น ดังนั้นเค้าจึงออกกฏมาเพิ่มเติมอีกว่า “ทีมแข่งสามารออกแบบแฟริ่งเพิ่มเติมได้อีก 2 แบบด้วยกัน โดยอนุญาติให้ชิ้นส่วนแอโร่แฟริ่งที่ออกแบบมาสามารถถอดออกได้โดยไม่กระทบต่อข้อกำหนดแฟริ่ง (ขนาดตัวรถ) แต่ไม่อนุญาติให้มีชิ้นส่วนเพิ่มเติมเข้ามาในภายหลัง”

2017-motogp-fairing-rule-03
และจุดที่เป็นปัญหาของกฏเกี่ยวกับกฏควบคุมปีกจนทำให้เหล่าผู้ผลิตหัวหมอใช้เป็นช่องโหว่ก็คือ “อนุญาติให้ชิ้นส่วนแอโร่แฟริ่งที่ออกแบบมาสามารถถอดออกได้” จึงทำให้ผู้ผลิตเริ่มออกแบบแอโร่แฟริ่งรูปทรงใดก็ได้แบบแยกส่วนออกมาเพราะไม่ได้ระบุเอาไว้

2018-preseason-motogp-rece-bike-aero-fairing-trend-02
แต่หากเพื่อนๆได้เคยเห็นผ่านตามาซักนิด จะเห็นได้ว่าชุดแอโรแฟริ่งแบบล่าสุดของทาง Yamaha ที่ถูกนำมาทดสอบในรอบพรีซีซั่น 2018 ที่สนามเซปัง ได้มีการติดตั้ง ชิ้นส่วนครีบที่งอกออกมาจากข้างลำตัวรถแล้วงุ้มกลับเข้าทางด้านล่าง แต่เมื่อมองมิติต่างๆของครีบที่ว่า มันค่อนข้างดูเหมือนปีกจนมากเกินไป (มีมิติทางกว้างมากกว่าทางสูง) และจากจุดนี้นี้แหล่ะครับที่เป็นปัญหาอันน่าขบคิดของ Danny ผู้ออกกฏอย่างมาก เพราะมันไมไ่ด้ผิดตามกฏที่เขาได้ออกไว้เลย (ในกรณีนี้ Yamaha อาจจะอ้างว่า “ก็เป็นแฟริ่งชั้นนอกที่โป่งออกมาจากแฟริ่งชั้นในไง แถมถอดได้โดยไม่รบกวนกดเรื่องขนาดตัวรถด้วย ไม่ผิดนะท่านผู้คุมกฏ”)

2018-preseason-motogp-rece-bike-aero-fairing-trend-01
ส่วนทีมอื่นๆอย่างเช่น Ducati ก็ออกแบบให้ตัวปีกชั้นล่างของชุดแอโร่แฟริ่งของพวกเข้านั้นสามารถถอดออกได้หากนักบิดรู้สึกว่าแรงกดที่เกิดขึ้นบนตัวรถนั้นมีมากไป ซึ่งนี่ไม่ได้น่าเกลียดอะไรถ้าหากมองทางสายตา แม้กระทั่ง Honda ที่ออกแบบแอโร่แฟริ่งให้มีการตีโป่งแล้วซ้อนครีบขนาดเล็กไว้ด้านในอีก 3 ชั้นเมื่อปี 2017 และเริ่มออกแบบแฟริ่งของตัวแข่งปี 2018 ให้เป็นทรงกล่อง ก็ถือว่าทำตามกฏได้ดี

2018-preseason-motogp-rece-bike-aero-fairing-trend-03
รวมถึงทางฝั่ง KTM, Aprilia, และ Suzuki ก็เช่นกัน เพราะทั้งสามทีมหลังที่เรากล่าวมานั้นต่างก็มีการออกแบบแอโร่แฟริ่งให้มีลักษณะความยาว(หรือความสูง)ของกาบแฟริ่งชั้นนอกมากกว่าความกว้างของกาบแฟริ่งที่ลากออกมาทางด้านข้างเหมือนกันทั้งหมด แต่ก็ไม่รู้อีกเหมือนกันว่าพวกเค้าจะเปลี่ยนใจมาลักไก่แบบเดียวกับที่ทางค่ายส้อมเสียงทำไว้หรือไม่ ดังนั้น Danny จึงได้ออกมากล่าวว่าในอนาคตกฏเรื่องของแฟริ่งต่าๆที่จะถูกนำมาใช้กับฤดุกาลแข่งขันปี 2019 จะต้องมีความชัดเจนและเข้มงวดมากขึ้นแน่นอน

2018-preseason-motogp-rece-bike-aero-fairing-trend-07
ขอบคุณข้อมูลจาก Crash.net

อ่านข่าว MotoGP เพิ่มเติมได้ที่นี่

เพื่อนๆ Bikers สามารถติดตามข่าวสารวงการล้อ ได้ทางแฟนเพจ MotoRival ของเราครับ

Share.

About Author

error: Content is protected !!