ขอเวลาอีกไม่นาน? Yamaha เดินหน้าสู่ EV ล้วนใน 30 ปี

0

มาให้เราเห็นไม่หยุดกันเลยในช่วงนี้ กับมาตราการลดการปล่อยมลพิษของทั้งรัฐบาลในแต่ละประเทศ รวมถึงบริษัทยักา์ใหญ่เจ้าต่าง ๆ ที่ต้องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ โดยล่าสุดก็ไม่ใช่หน่อยงานรัฐของประเทศไหน แต่เป็นบริษัทยานยนต์รายใหญ่ของญี่ปุ่นอย่าง Yamaha ที่มีแผนการไปสู่เป้าหมาย Yamaha co2 neutral ภายในปี 2050 ซึ่งรายละเอียดแผนการที่ว่าเป็นอย่างไร เราจะมาอธิบายให้ทุกคนได้ทราบกัน

Yamaha EV Motor

ในวันที่ 19 กรกฎาคมที่ผ่านมา บริษัท Yamaha Motor ได้ทำการเปิดแผนการ co2 neutral ที่ตั้งเป้าไว้ว่าจะทำให้สำเร็จภายในปี 2050 โดยเราขออธิบายคำว่า co2 neutral กันก่อนว่ามันไม่ใช่การ “ไม่ปล่อย” co2 หรือก๊าซเรือยกระจกอื่นใดไปสู่ชั้นบรรยากาศเลย(เนื่องจากเป็นสิ่งเป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ หากอิงตามเทคโนโลยีปัจจุบัน) แต่เป็นการปล่อยมลพิษให้น้อยกว่าที่สามารถดึงกลับได้หรือว่าง่าย ๆ ก็คือการทำให้ “เจ๊ากัน”

โดยที่มาของมลพิษที่ค่ายรถแบบนี้จะปล่อยออกมาก็มาจาก 2 แหล่งด้วยกันนั่นก็คือ “มลพิษที่ปล่อยออกมาโดยตรงจากขั้นตอนการทำธุรกิจ” ที่เริ่มตั้งแต่ค่าไฟฟ้าในโรงงาน สายการผลิต ไปยันการเผาไหม้เชื้อเพลิงสร้างชิ้นส่วน และอีกส่วนที่ส่งผลกระทบและปล่อยมลพิษเยอะยิ่งกว่าก็คือ “มลพิษที่ผลิตภัณฑ์ของบริษัทปล่อยออกมา” ซึ่งด้วยความที่เป็นบริษัทยานยนต์ที่ทำตั้งแต่รถจักรยานยนต์, เจ็ตสกี, เครื่องยนต์เรื่อ และอื่น ๆ มันก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะปล่อยมลพิษออกมา

Yamaha EV Plan

แน่นอนว่าสิ่งแรกที่ทางค่ายต้องทำเพื่อนลดมลพิษจากผลิตภัณฑ์ของตัวเองก็คือการเข็นรถ EV ให้ออกมาเร็วที่สุด โดยรถกลุ่มแรกที่จะกลายเป็นรถพลังงานไฟฟ้าล้วนก็คงหนีไม่พ้นกลุ่มรถบ้านใช้งานในเมือง และสกู๊ตเตอร์ เพราะเป็นกลุ่มที่ไม่ต้องการแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ที่มีราคาแพง หรือระยะเดินทางที่ไกล โดยถ้าอิงตามแผนการของทางค่าย Yamaha ก็ตั้งเป้าขายรถ EV ให้ได้เป็น 2.6% ของยอดทั้งหมดภายในปี 2030 และเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป็น 20% ในปี 2035 และ 90% ในปี 2050

ขณะเดียวกัน ทางค่ายก็ไม่ได้คิดที่จะทิ้งความหวังในเครื่องยนต์สันดาบแต่อย่างใด เพราะยังลงทุนในกลุ่มเชื้อเพลิงแบบ co2 neutral หรือเชื้อเพลิงที่ปล่อยมลพิษแบบ “เจ๊ากัน”
ที่จะดูด co2 จากอากาศมาทำเชื้อเพลิง ทำให้ตอนจุดระเบิดนั้นปล่อยมลพิษน้อยกว่าที่ดูดออกมา

ที่มา rideapart

อ่านข่าวสาร Yamaha เพิ่มเติมได้ที่นี่

อ่านข่าวสาร EV เพิ่มเติมได้ที่นี่

Share.

About Author

error: Content is protected !!