รีวิว 2019 All New Honda CB500F / CBR500R 2 คู่หูเน็คเก็ท/สปอร์ต ไลท์เวท ใหม่ หล่อขึ้น บิดติดมือกว่าเดิม

0

ย้อนไปเมื่อปลายปีที่แล้ว ทาง Honda ได้มีการเปิดตัว 3 ทหารเสือ 500-Series เป็นครั้งแรกในไทยที่งาน Motor Expo 2018 และหลังจากนั้นก็ได้มีการรีวิวทดสอบกันก่อนสำหรับ รีวิว 2019 All New Honda CBR500R ใหม่ ที่ สนามช้างฯ แต่ในครั้งนี้ เราจะมา รีวิว 2019 All New Honda CB500F / CBR500R 2 คู่หูเน็คเก็ท/สปอร์ต ไลท์เวท ใหม่ สำหรับผู้ที่กำลังมองหารถ Entry Class กันครับ

Review-2019-Honda-CBR500R
เริ่มกันที่ในส่วนของรูปลักษณ์ครึ่งหน้าทางฝั่ง 2019 All New Honda CBR500R เรียกได้ว่า ปรับให้ดูลุค Sport Replica มากขึ้น

2019-Honda-CBR500R-Headlamp
ช่วงชุดหัวไฟหน้าแบบ Full LED ดูมีสไตล์ใกล้เคียง CBR250RR
ไฟเลี้ยวปรับมาใช้แบบ LED ทั้งหน้า-หลัง

Review-2019-Honda-CBR500R_07
ชุดแฟริ่งปรับเปลี่ยนใหม่ ดูมีความสปอร์ต และเน้นเรื่องของ Aero Dynamics

2019-Honda-CBR500R-Wing
ซึ่งมีจุดเด่นคือ ช่วงแฟริ่งข้างด้านล่างมีการเสริมครีบวิงเล็ทไว้เกาะกระแส MotoGP อีกด้วย

Review-2019-Honda-CBR500R_06
บริเวณแฟริ่งช่วงเบาะท้ายมีช่องรีดอากาศในแบบรถ Superbike

2019-Honda-CBR500R-Taillamp
ไฟท้ายยังคงเป็นทรงเดิม LED โคมใส นอกจากนี้ชุดขายึดทะเบียนท้ายดีไซน์ให้สามารถถอดทำท้ายโล่งได้ สำหรับขี่ในสนาม

Review-2019-Honda-CBR500R_14
ท่อไอเสียออกข้างรูปทรงคล้ายๆเดิมถ้ามองจากด้านหน้า แต่ถ้ามองจากด้านหลังจะเห็นว่ามันมีรูระบายไอเสีย 2 ช่อง ให้เสียงที่ทุ้มต่ำ ดุดันกว่าเดิม

Review-2019-Honda-CBR500R_20
ชุดมาตรวัดแบบ Full Digital LCD blacklight ดูสวยงามทันสมัย ขนาดกะทัดรัด แสดงผลหลักเป็น วัดรอบ, ความเร็ว, ความร้อน, และเวลา ส่วนการแสดงผลย่อยที่สามารถปรับเซ็ทตามความชอบของผู้ใช้ก็มีทั้ง ระยะทางรวม, ทริป A/B, รอบเครื่องยนต์ (แบบตัวเลขวิ่ง), อัตราสิ้นเปลือง, น้ำมันคงเหลือ, พร้อมเพิ่มฟังก์ชั่นอย่าง Shift Light และบอกตำแหน่งเกียร์ ซึ่งถือเป็นลูกเล่นใหม่ที่ทาง Honda เพิ่มมาให้เสียที หลังจากมีกาเรียงร้องตั้งแต่ 2 โฉมก่อนหน้า

2019-Honda-CBR500R-Switch
ชุดสวิทช์ไฟยังเหมือนเดิมทั้ง 2 ฝั่ง
ซ้าย มีไฟต่ำ-สูง, ไฟ Pass, แตร
ขวา มี Run-Off, ปุ่มสตาร์ท, ไฟฉุกเฉิน

Review-2019-Honda-CBR500R_13
มือเบรกปรับระดับได้ 5 ระดับ ส่วนมือคลัทช์ยังปรับไม่ได้

2019-Honda-CBR500R-Clutch-Lever
นอกจากนี้ Honda ยังใส่ใจรายละเอียด มีการทำร่อง Mark จุดหักเอาไว้ ทั้งฝั่งก้านเบรก และก้านคลัทช์ เพื่อที่เวลารถล้มแล้ว ตัวด้านจะได้หักในตำแหน่งที่ Mark ไว้ จะได้มีพื้นที่เหลือ ให้ใช้เบรก และคลัทช์ ได้อยู่

Review-2019-Honda-CB500F
มาต่อกันที่ 2019 All New Honda CB500F

Review-2019-Honda-CB500F_06
เริ่มที่ครึ่งหน้าของรถ มีการเพิ่มความเหลี่ยมสันมากขึ้น

Review-2019-Honda-CB500F_14
ตัวโคมไฟหน้ายังคงเป็นแบบเดียวกับโฉมก่อนหน้า แต่มีการออกแบบกรอบที่ล้อมรอบโคมใหม่ให้ดูโฉบเฉี่ยวกว่าเดิม

Review-2019-Honda-CB500F_07
กาบแแฟริ่งด้านข้างดูโป่งใหญ่ขึ้นกว่าโฉมก่อนหน้าอย่างเห็นได้ชัด แถมยังช่วยเพิ่มารมณ์ดิบดุดันให้กับตัวรถได้เป็นอย่างดี

Review-2019-Honda-CB500F_02
ส่วนครึ่งคันท้ายรถ ขอไม่พูดซ้ำเพราะเหมือนกันกับ 2019 All New Honda CBR500R ทั้งหมด

ด้านมิติรถ
Review-2019-Honda-CBR500R-Front-CB500F-Rear
2019 All New Honda CBR500R ตามข้อมูลของตัวรถสเปคไทย มีน้ำหนักตัวอยู่ที่ 195 กก. เท่ากับโฉมก่อนหน้า

Review-2019-Honda-CB500F_05
ส่วน 2019 All New Honda CB500F อยู่ที่ 190 กิโลกรัม (ตามข้อมูลของตัวรถสเปคไทยเช่นกัน) ซึ่งถือว่าเบาลงกว่าเดิมเล็กน้อย คือ 1 กิโลกรัม
ด้านความสูงเบาะอยู่ที่ 785 มม. เท่าเดิมทั้งสองคัน

Review-2019-Honda-CBR500R_15
ถังน้ำมันใหม่จุ 17.1 ลิตร (ของเดิมจุ 16.7 ลิตร)

Review-2019-Honda-CBR500R_11
ด้านท่านั่ง
ในส่วนชุดแฮนด์ของ 2019 All New Honda CBR500R ปรับมาเป็นแฮนด์จับโช้กใต้แผงคอ ซึ่งดูเตี้ยลงกว่าเดิมเล็กน้อย ทำให้ผู้ขี่จะต้องเอื้อมตัวลงไปด้านหน้าประมาณ 8 องศา
แต่ก็ยังถือว่าตำแหน่งสูงอยู่ หากต้องขี่ใช้งานทั่วไป หรือ เดินทาง Touring ก็ยังมอบความสบาย

Review-2019-Honda-CB500F_08
ส่วน 2019 All New Honda CB500F เองก็มีการเปลี่ยนแฮนด์บาร์เป็นแบบ Fatbar แต่ตำแหน่งความสูงและความกว้างของแฮนด์จะคล้ายๆเดิมกับโฉมก่อน คือยังให้ความรู้สึกจิกมือเข้าตรงกลาง

Review-2019-Honda-CB500F_10
ข้อดีคือถ้าโน้มตัวไปข้างหน้าแล้วกางศอกเล็กน้อยจะทำให้พลิกรถง่ายขึ้น แต่ถ้านั่งหลังตรงจะมีจุดให้ติงคือน้ำหนักจะกดลงที่ง่ามนิ้วโป้งกับนิ้วชี้มากกว่าปกติจนอาจจะเกิดตวามปวดได้

Review-2019-Honda-CBR500R_16
สำหรับเบาะนั่งที่ถือว่าไม่สูงเกินไป ผู้ขี่สูง 174 ซม. สามารถเหยียบได้เต็มเท้าหย่อนขากำลังดี (แต่ถ้าเทียบกับ New Honda CBR650R ที่เบาะสูงกว่าถึง 810 มม. แต่เนื่องจากตัวเบาะนั่งแคบ จึงทำให้รู้สึกยืนเหยียบเท้าได้พอๆกัน)

Review-2019-Honda-CBR500R_02
ขณะที่บริเวณตำแหน่งวางขาด้านซ้าย นั้นจะพบว่าองศาท่อไอเสียนั้นจะดันส้นเท้าขวาสักหน่อย หากเราวางเท้าแบบจิก Racing

Review-2019-Honda-CBR500R_17
ขณะที่ตำแหน่งเบาะผู้ซ้อนที่ยกสูงขึ้น แบบ 2 ตอน ตัวเบาะก็ไม่ถือว่าแคบจนนั่งลำบากก้นตก แต่เนื่องจากยังคงมีโหนกตรงกลางอาจจะทำให้นั่งไม่สบายนัก
ในส่วนของมือจับกันตกที่ซ่อนอยู่ด้านใต้ช่วงท้ายของแฟริ่งก็สามารถจับได้กระชับมือ

Review-2019-Honda-CB500F_01
เครื่องยนต์ 2 สูบ พิกัด 471cc ระบายความร้อนด้วยน้ำ ซึ่งใช้พื้นฐานจากโฉมเดิม แต่มีการปรับปรุงรายละเอียดยิบย่อยภายในเครื่องยนต์หลายอย่างสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ ซึ่งโดยรวมทำให้มีย่านแรงบิดในช่วงรอบต่ำดีกว่าเดิมอีก 4%

Review-2019-Honda-CBR500R_10
นั่นจึงให้เรารู้สึกถึงจังหวะออกตัวช่วงต้นที่ดีขึ้น รอบมาไวขึ้น แต่กำลังช่วงปลายโดยรวมต้องเรียนตามตรงว่ายังรู้สึกเหมือนเดิม คือ รอบตื้อปลาย และความเร็ว Top Speed อาจจะไม่ได้สูงมากนักราวๆ 186+ กิโลเมตร/ชั่วโมง เพราะยังคงตัดรอบที่ราว 9,000rpm ดังนั้นควร Shift เกียร์ขึ้นได้ตั้งแต่รอบ 8,000rpm

Review-2019-Honda-CBR500R_05
อีกจุดที่ถือว่า ดีเยี่ยม คือ การเพิ่มระบบ Assist & Slipper Clutch ทำให้น้ำหนักคลัทช์เบาลงถึง 45% หรือเกือบครึ่ง สัมผัสถึงความต่างจากตัวก่อนหน้าอย่างเห็นได้ชัด แถมเมื่อใช้งานในเมืองที่ต้องคลอคลัทช์เกือบตลอดเวลายิ่งทำให้รู้สึกผ่อนคลายกับเจ้านี่ไปอีก เพราะแทบไม่ต้องใช้แรงในการกำ (สามารถใช้นิ้วชี้นิ้วเดียวกำคลัทช์ได้สบายๆ)

Review-2019-Honda-CB500F_12
นอกจากนี้ จุดประสงค์ที่แท้จริงของระบบดังกล่าคือ มันถูกติดตั้งเข้ามาเพื่อป้องกันการกระชากของล้อหลัง ซึ่งต้องยอมรับว่าทาง Honda ออกแบบชุดกลไกให้ทำงานได้ดี สามารถกำจัดอาการล็อคที่ล้อหลังได้อยู่หมัด แทบไม่มีเสียงเอียดอ๊าดของยางหลังให้ได้ยิน แม้ว่าตัวผู้ทดสอบจะลองรวบเกียร์จนถึงเกียร์ 1 แล้วก็ตาม

Review-2019-Honda-CB500F_09
ระบบกันสะเทือน โช้กหน้าหัวตั้ง Telescopic ขนาดแกน 41 มม. ปรับ Preload ได้ที่หัวโช้ก ซึ่งเป็นตัวเดิมกับโฉมเก่าทั้งสองรุ่น

2019-Honda-CBR500R-Rear-Shock
ด้านหลังยังคงใช้แบบโช้กอัพเดี่ยว Monoshock พร้อมกระเดื่องทดแรง (Pro-Link) ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนตัวโช้กหลังใหม้ ให้ทำงานอย่างเสถียรภาพเพิ่มขึ้น แม้แต่สวิงอาร์มก็ยังเป็นแบบใหม่เช่นกัน

2019-Honda-CB500F-Side-Rear
อย่างไรก็ดี ด้วยการเซ็ทติ้งระบบช่วงล่างตอนออกโรงงานมาของทั้ง All New Honda CBR500R และ All New Honda CB500F นั้นถือว่านิ่มกว่าที่คิดไปค่อนข้างเยอะ (คาดว่าเซ็ทสปริงโช้กมาอ่อนสุดๆ) ซึ่งอาจจะดีในเรื่องของการซับแรงกระแทกจากหลุมบ่อในช่วงความเร็วต่ำ ทำให้เหมาะกับการใช้งานในเมือง แต่เมื่อตัวรถเจอลอนคลื่นแบบต่อเนื่องในจังหวะที่เริ่มใช้ความเร็วสูงๆ เราพบว่าตัวรถมีอาการร่อน (โยกขึ้นลงทั้งคัน) อย่างเห็นได้ชัด

Review-2019-Honda-CBR500R_12
ทว่าก่อนหน้านี้ ทางทีมงาน MotoRival ของเราได้มีโอกาสไปทดสอบเจ้า All New Honda CBR500R ในสนามช้างฯ มาแล้วเรียบร้อย โดยตอนนั้นทางทีมช่างของ Honda ได้มีการเซ็ทติ้งโช้กหน้าใหม่ให้อยู่ในระดับแข็งสุด ส่วนด้านหลังก็ขยับขึ้นมาเกือบขั้นสุดท้าย และด้วยเซ็ทติ้งนี้ จึงทำให้ตัวรถมีความเฟิร์มขึ้นสามารถรับแรงเหวี่ยงสูงๆในโค้งได้ค่อนข้างดี (อาจมีช่วงบั๊มพ์ออกมาให้เห็นอยู่บ้าง หรือยุบตัวเยอะไปบ้าง) แต่ถ้ามองในมุมของการใช้งานทั่วไป ก็ถือว่าเพียงพอแล้ว กับโช้กหน้า/หลังติดรถที่ให้มา

Review-2019-Honda-CBR500R_09
และจุดต่างที่สำคัญอีกอย่างก็คือ แม้ทั้งสองรุ่นจะใช้ยางขนาดเท่ากัน คือ 120/70-17 ด้านหน้า และ 160/60-17 ด้านหลัง แต่ทาง Honda กลับให้ยางติดรถต่างกัน คือในฝั่งของ 2019 All New Honda CBR500R จะใช้ยาง Dunlop Sportmax

Review-2019-Honda-CB500F_04
แต่ทางฝั่ง 2019 All New Honda CB500F กลับได้ใช้ยาง Michelin Road 5 ซึ่งให้ความรู้สึกยึดเกาะดีกว่าของ Dunlop อย่างมีนัยสำคัญเสียอย่างนั้น

Review-2019-Honda-CB500F_13โดยสำหรับเรื่องนี้ทาง Honda ได้ให้ข้อมูลกับเรามาว่า ที่ตัวรถทั้งสองคันได้รับการติดตั้งยางไม่เหมือนกัน เป็นเพราะว่าทางโรงงานไม่อยากให้เกิดกรณียางที่ติดรถมีปัญหาแล้วไม่สามารถแก้ไขได้ ดังนั้นพวกเขาจึงต้องเพิ่มตัวเลือกยางออกมาเป็น 2 แบบ ของ 2 ผู้ผลิตที่ต่างกันแทน เพราะถ้าเกิดยางของเจ้าไหนมีปัญหา ทางโรงงานก็จะได้มียางของอีกผู้ผลิตมาติดตั้งให้ทันที

Review-2019-Honda-CBR500R_04
ระบบเบรก ด้านหน้าจานดิสก์เดี่ยวขนาด 320 มม. ปั๊ม Nissin คาลิปเปอร์ 2 ลูกสูบ
ด้านหลังจานดิสก์ขนาด 240 มม. คาลิปเปอร์ 1 ลูกสูบ

Review-2019-Honda-CBR500R_08ซึ่งจะเหมือนเดิมกับตัวเก่า แต่ปรับปรุงระบบ ABS ให้ฉลาดขึ้น (จากการใช้งาน พบว่า ABS ดูจะไม่มาไวแบบ ฟุ่มเฟือย นัก)
หากเทียบกับการใช้งานเราจะพบว่าถ้าใช้งานบนถนนมันมีประสิทธิภาพใช้งานดี เหลือๆ และเพื่อความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ทาง Honda ก็ได้มีการปรับปรุงเพิ่มเติมในส่วนของไฟ ESS (ไฟฉุกเฉิน ติดกรณีที่เบรกหนัก) เข้ามาด้วย

Review-2019-Honda-CB500F-CBR500R_Cover_2สรุป รีวิว 2019 All New Honda CBR500R / CB500F สองคู่หูใหม่พิกัดครึ่งลิตรจากปีกนก ที่ได้รับการปรับปรุงตัวรถให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ซึ่งแม้ว่ามันอาจจะไม่ใช่การปรับที่ก้าวกระโดดจากเดิมไปเท่าไหร่นัก แต่ก็ถืว่าตัวรถมีความครบครันขึ้นไปอีกระดับ ทั้งอัตราเร่งที่ดีขึ้นกว่าเดิม, ระบบสลิปเปอร์คลัทช์ช่วยแก้อาการล้อล็อค, และรูปโฉมที่โฉบเฉี่ยวมากขึ้้นทั้งฝั่งร่างสปอร์ตและฝั่งร่างแน็คเก็ท

Review-2019-Honda-CBR500R_01สำหรับราคาค่าตัวของ 2019 All New Honda CBR500R อยู่ที่ 2.17 แสนบาท

Review-2019-Honda-CB500F_11ส่วน 2019 All New Honda CB500F ก็อยู่ที่ 2.12 แสนบาท หรือเพิ่มขึ้นมาจากโฉมก่อนหน้าเพียง 2,000 บาทเท่านั้น ซึ่งถือว่าคุ้มค่ามากเลยทีเดียวกับสิ่งอย่างที่เพิ่มขึ้นมา

Review-2019-Honda-CB500F-CBR500R_John-Ponภณ เพียรทนงกิจ Test Rider + Writer + Photo
สุภิญญา ชำนาญกุล Photo + VDO
รณกฤต ลิมปิชาติ Co-Test Rider + Co-Writer

อ่านข่าว Honda เพิ่มเติมได้ที่นี่
อ่านรีวิว เพิ่มเติมได้ที่นี่

เพื่อนๆ Bikers สามารถติดตามข่าวสารวงการล้อ ได้ทางแฟนเพจ MotoRival ของเราครับ

Share.

About Author

error: Content is protected !!