ในยุคปัจจุบันที่เราเริ่มเห็นค่ายรถอเมริกันสายคลาสสิกอย่าง Harley-Davidson เริ่มพัฒนาตัวเองให้ทันสมัย โดยการเปิดตัวรถรุ่นใหม่อย่าง Pan America หรือ Sportser S ที่อาจจะทำให้แฟนคลับเดนตายสายเคร่งต้องขมวดคิ้ว แต่รู้หรือไม่ว่าครั้งหนึ่งค่ายรถรายนี้ แค่ทำแม้แต่รถซุปเปอร์ไบค์ด้วยซ้ำ ย้อนกลับไปในปี 1993 ค่ายรถอเมริกันอนุรักษ์นิยมที่เคยทำแต่รถครุยเซอร์รุ่นใหญ่ ได้เปิดตัวรถที่ไม่มีใครคาดคิดอย่าง Harley-Davidson VR1000 รถมอเตอร์ไซค์ซุปเปอร์ไบค์คันแรกของค่าย เนื่องจากในสมัยนั้นเครื่องยนต์แบบ V-Twin กำลังประสบความสำเร็จในสนามแข่ง จากผลงานการเป็นแชมป์โลกของ Ducati 888 และ 916 และนั่นก็ทำให้ค่ายตราโล่เห็นโอกาสปฏิวัติตัวเอง จากค่ายรถที่หากินแค่กับตำนานเก่า มาเป็นค่ายรถร่วมสมัยที่ชูจุดเด่นด้านเทคโนโลยี และผลงานที่จับต้องได้ในสนามแข่ง เพราะยังไงตัวเองก็มีจุดขายเป็นเครื่องยนต์แบบ V-Twin ที่กำลังประสบความสำเร็จอยู่แล้ว ตัวรถจะมาพร้อมกับเครื่องยนต์ที่ปฏิวัติการออกแบบของค่าย พัฒนาร่วมกับ Cosworth และ Roush ใช้เลเอ้าท์แบบ V-Twin 60 องศา, ระบบระบายความร้อนด้วยน้ำ, DOHC 4 วาล์วต่อสูบ จากเดิมใช้การระบายความร้อนด้วยอากาศ ลูกสูบกาง 45…
Author: Kristha
หลังจากการเปิดตัวของ Honda CB650R และ CBR650R E-Clutch ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีคลัทช์ไฟฟ้า ที่ช่วยให้ผู้ขับขี่ไม่ต้องกำคลัทช์ระหว่างใช้งานเลย ถึงแม้จะเป็นรถมอเตอร์ไซค์เกียร์ธรรมดา ก็น่าจะทำให้หลายคนสงสัยว่าระบบที่ว่านี้ต่างกับ Quickshifter ที่ถูกใช้งานอย่างแพร่หลายตรงไหน ต่างกันยังไง แล้วอะไรดีกว่ากัน เราก็ต้องขออธิบายกันก่อนว่าตามปกติแล้ว รถมอเตอร์ไซค์เกียร์ธรรมดาที่ไม่ได้มีตัวช่วยพิเศษอะไรเลย นั้นสามารถเปลี่ยนเกียร์แบบไม่กำคลัทช์ได้อยู่แล้วทุกรุ่น เพราะหน้าที่ปกติของคลัทช์คือการตัดกำลังและโหลดของเครื่องยนต์ที่ส่งไปสู่ชุดเกียร์ เปิดช่องว่างให้เราเปลี่ยนเกียร์ได้อย่างราบรื่น แต่ในช่วงที่เรากำลังขับขี่รถ และรักษาความเร็วได้ประมาณนึง เราสามารถเปลี่ยนเกียร์แบบไม่ใช้คลัทช์ได้ด้วยการผ่อนคันเร่งเล็กน้อย ในจังหวะที่กำลังจากเครื่องยนต์ขาดหาย และตัวรถยังไม่ชะลอตัว มันจะมีช่วงเวลาเสี้ยววินาทีที่ชุดเกียร์ไม่ได้รับโหลดกำลัง ซึ่งนั่นจะเป็นช่วงที่เราสามารถเปลี่ยนเกียร์ได้โดยไม่ต้องกำคลัทช์ แน่นอนว่าวิธีการนี้ไม่สามารถทำได้ตอนที่รถหยุดนิ่ง และบางครั้ง จังหวะที่เราจำเป็นต้องเปลี่ยนเกียร์ ก็ไม่ใช่จังหวะที่เหมาะสมแบบในสถานะการณ์ที่เราว่าไป ทำให้เราจำเป็นต้องมีคลัทช์ที่ช่วยให้เราตัดกำลังได้ตามสั่ง นั่นคือที่มาของระบบ Quickshifter โดยระบบ Quickshifter นี้จะเป็นการติดตั้งเซนเซอร์ที่ตำแหน่งคันเกียร์ที่เท้า เซนเซอร์ที่ว่าจะตรวจจับแรงดัน และความต้องการที่จะเปลี่ยนเกียร์ของเรา แล้วส่งข้อมูลไปที่ ECU ให้ตัดการจุดระเบิดของเครื่องยนต์ในช่วงเวลาสั้น ๆ เปรียบเสมือนการผ่อนคันเร่งแบบที่เราได้บอกไป ทำให้เราสามารถเปลี่ยนเกียร์ได้แบบไม่ต้องกำคลัทช์ แปลว่าระบบ Quickshifter นั้นเป็นเหมือนกับระบบที่ช่วยถอนคันเร่งแทนเรานั่นเอง แต่ข้อจำกัดของระบบนี้ก็ถือว่าไม่ต่างกับการเปลี่ยนเกียร์แบบไม่กำคลัชท์ตามปกติ คือมันไม่สามารถใช้ได้ตอนที่รถหยุดนิ่ง และต้องมีรอบเครื่องที่สูงประมาณนึงถึงจะใช้ได้…
Ducati Panigale Supermono รถมอเตอร์ไซค์สปอร์ตคลาสกลาง ตัวเริ่มคันใหม่จากค่ายแดง Ducati มีโอกาสเกิดขึ้นจริงมากแค่ไหน? ในยุคที่ความนิยมของรถมอเตอร์ไซค์พรีเมี่ยมรุ่นใหญ่กำลังถดถอย ผู้คนมีกำลังซื้อน้อยลง และรถคันใหญ่ที่แรงทะลุโลกเริ่มดูไกลเกินเอื้อม ก่อนอื่นเราต้องบอกไว้ก่อนว่านี่เป็นเพียงแค่การวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ ผ่านมุมมองของพวกเราเท่านั้น ไม่ใช่การฟันธงแต่อย่างใด ภาพที่ใช้ก็เป็นเพียงแค่ภาพเรนเดอร์ที่ทำขึ้นเพื่อประกอบเนื้อหาเท่านั้น ไม่ใช่ภาพของรถคันจริง ถ้าเราย้อนกลับไปเมื่อปีที่แล้ว หรือหลายปีก่อนหน้านั้น ผู้บริหารของ Ducati ได้ย้ำชัดเจนหลายรอบ เมื่อถูกถามถึงความเป็นไปได้ที่ค่ายแดงจะทำรถมอเตอร์ไซค์คลาสเล็กเพื่อมาสู้กับคู่แข่งรายอื่น ว่าพวกเขาจะไม่ทำรถคลาสเล็กระดับนั้นอย่างแน่นอน เนื่องจากภาพลักษณ์ของ Ducati คือรถที่ต้องทำให้ผู้คนฝันถึงการเป็นเจ้าของ และพยายามที่จะครอบครองมัน (ถึงแม้ว่าตัวเองจะเคยทำ Scrambler Sixty2 ขนาด 400 ซีซี ที่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จนักก็ตาม) แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาจะไม่ได้พยายามเจาะกลุ่มลูกค้าระดับต่ำลงมาเสียทีเดียว เพราะนอกจากรถตระกูล Scrambler 800 ที่อยู่ต่อมาถึงเจนที่สอง ก็ยังมีรถตัวแรงรุ่นใหม่อย่าง Hypermotard 698 Mono ที่มาพร้อมเครื่องยนต์สูบเดียวลูกโต แต่ดันมีรอบเครื่องที่สูงทะลุฟ้า ซึ่งถึงแม้ว่าในตอนนี้ Ducati จะมีรถเพียงแค่รุ่นเดียวในไลน์อัพที่เลือกใช้เครื่องยนต์ลูกนี้ แต่มันคงจะไม่มีเหตุผลในทางธุรกิจหากมันเป็นเช่นนี้ต่อไป เพราะอย่าลืมว่าการพัฒนาเครื่องยนต์ลูกนึงต้องใช้งบประมาณที่สูงมาก มันจึงดูมีเหตุผลมากกว่าถ้าพวกเขาจะเอาเครื่องยนต์ลูกดังกล่าวไปใช้กับรถรุ่นอื่นบ้าง…
หลังจากที่ Yamaha ได้ทำการเปิดเผยข้อมูลว่าพวกเขาได้นำตัวแข่ง MotoGP รุ่นใหม่ที่มาพร้อมเครื่องยนต์ V4 ออกไปทดสอบอย่างเป็นทางการครั้งแรกใน Circuit de Barcelona-Catalunya ในวันพุธที่ผ่านมา โดยนักแข่งทดสอบ 2 คน คือ Augusto Fernandez และ Andrea Dovizioso ซึ่งรถที่ทำการลงทดสอบคาดว่าจะใช้เครื่องยนต์แบบ V4 1,000 ซีซี ที่ทำขึ้นสำหรับการแข่งขันในกติกาปัจจุบัน ไม่ใช่รถกติกา 2027 ที่จะใช้เครื่องยนต์ขนาด 850 ซีซี ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าค่ายส้อมเสียงหวังจะใช้รถคันใหม่ในฤดูกาลหน้าทันที หากผลทดสอบประสบความสำเร็จ อีกเรื่องคือทาง Dorna เป็นคนบอกเองว่ายังไม่ให้ทดสอบรถสำหรับกติกาใหม่ในตอนนี้ Massimo Meregalli ผู้จัดการทีมได้ให้ข้อมูลว่า “ตอนนี้ทีมทดสอบกำลังทำงานกับรถ 2 คัน คือทั้งรถสูบเรียงคันปัจจุบัน และรถสูบวีคันใหม่ ตอนนี้เรายังไปไม่ถึงช่วงที่จะยกระดับสมรรถนะของรถ” “นักแข่งทีมโรงงานจะมีโอกาสได้จับรถคันใหม่จริง ๆ เมื่อเรามองว่าสมรรถนะของมันพร้อม และสามารถใช้เปรียบเทียบความแตกต่างกับรถคันปัจจุบันได้แล้ว” เมื่อถูกถามเกี่ยวกับภาพรวมของรถคันปัจจุบันว่าเป็นอย่างไร Meregalli…
ไม่ใช่เรื่องปกติเท่าไรที่เราจะได้เห็นนักแข่งในเวทีระดับโลกอย่าง World Superbike หรือ MotoGP ทำการย้ายเวทีการแข่งขันสลับฝั่งกัน ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากพื้นฐานของตัวรถที่แตกต่างกันมาก ไม่ต่างจากการย้างฝั่งจากเวทีรถยนต์ซุปเปอร์คาร์ไปสู่ Formula 1 วันนี้เราเลยจะพามาดูกันว่ามีใครบ้าง แล้วผลงานแต่ละคนเป็นอย่างไร 1. Noriyuki Haga ย้ายจากทีม Yamaha WSBK Team ไปสู่ทีม Yamaha WCM ในปี 2001ตำนานนักแข่ง World Superbike ชาวญี่ปุ่นที่อยู่คู่วงการมาอย่างยาวนาน สามารถคว้าชัยชนะมาได้นับครั้งไม่ถ้วน และถึงจะไม่เคยคว้าแชมป์โลก แต่ก็สามารถจบฤดูกาลในอันดับที่ 2 และ 3 มาได้อีกหลายครั้ง เขามีโอกาสไปลองของใน WorldGP 500 ในปี 1998 ในฐานนะ Wildcard แถมยังสามารถจบบนโพเดียมได้อีก การย้ายไปแข่งแบบเต็มเวลาการขึ้นในปี 2001 และปี 2003 ซึ่งทำผลงานไม่ดีเท่าไร ทำให้ต้องกลับมาแข่งต่อในบ้านเก่าของตัวเอง 2. Troy…
สำหรับคนที่ชื่นชอบรถมอเตอร์ไซค์ ทุกคนก็น่าจะมีความฝัน ที่จะได้ครอบครองรถมอเตอร์ไซค์ตัวพันกันสักครั้งในชีวิต เพราะมันถูกมองว่าเป็นรถที่เป็นที่สุด ทั้งในด้านความแรง และเทคโนโลยี ไม่ว่ารถเหล่านั้นจะเป็นเป็นรถสปอร์ตหรือรถแนวไหนก็ตาม แต่ทุกคนเคยสังเกตกันไหมว่าทำไมรถ Superbike ตัวสุดในสมัยก่อนถึงใช้เครื่องยนต์ 750 ซีซี แล้วทำไมตอนนี้พวกมันถึงหายไป? ก่อนอื่นเราก็ต้องย้อนไปดูที่มาที่ไปของรถสปอร์ตสายสนาม หรือ Superbike กันก่อนว่ามีที่มาจากไหน จุดเริ่มต้นตำนานความเท่ และความแพร่หลายของรถซุปเปอร์ไบค์นั้นต้องย้อนกลับไปในปี 1988 ซึ่งเป็นปีแรกที่การแข่งขัน FIM Superbike World Championship หรือ WSBK ถูกจัดขึ้น ซึ่งเป็นการแข่งขันมอเตอร์ไซค์ทางเรียบระดับโลก ที่จะมีการแข่งขันคล้ายกับ MotoGP หรือ WorldGP ในยุคนั้น แต่เปลี่ยนจากการใช้รถต้นแบบที่ทำขึ้นสำหรับการแข่งในสนามโดยเฉพาะ เปลี่ยนมาเป็นการใช้รถที่มีจำหน่ายสำหรับคนทั่วไป และสามารถใช้งานได้จริงบนถนน ซึ่งทางผู้จัดได้กำหนดสเปคเครื่องยนต์ที่สามารถใช้ลงแข่งได้ดังนี้ แน่นอนว่าเพื่อความได้เปรียบสูงสุด ค่ายรถก็คงจะไม่เอารถที่อยู่แล้วไปลงแข่ง พวกเขาจึงเลือกที่จะสร้างรถถนนที่เหมาะสมการการใช้งานในสนามมากที่สุด และรีดทุกความได้เปรียบจากกติกาดังกล่าว นั่นทำให้เราได้เห็นรถอย่าง Honda VFR750R, Yamaha YZF750R, Suzuki GSX-R750R, Kawasaki…
ในวาระที่แฟรนไชส์หนังแอคชั่นภาคใหม่ล่าสุดอย่าง Mission: Impossible – The Final Reconing ได้ทำการออกฉายทั่วโลก ซึ่งนอกจากฉากแอคชั่น และซีนน่าจดจำมากมายที่เป็นที่พูดถึงในหนังแต่ละภาคแล้ว Tom Cruise ในบท Ethan Hunt ก็ยังมีซีนขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ให้เราได้เห็นอยู่หลายครั้ง วันนี้เราเลยจะพามาดูกันว่า Tom Cruise ขี่รถรุ่นอะไรบ้างในหนังแต่ละภาค 1. Triumph Speed Triple 955I จาก Mission: Impossible 2 (2000) เริ่มต้นกันด้วยรถมอเตอร์ไซค์คันแรก และน่าจะเป็นรถที่แฟนหนังหลายคนจะนึกถึง หากพูดถึงซีนขับมอเตอร์ไซค์ใน Mission: Impossible เพราะมันถูกใช้ในช่วงไคลแมกซ์ของเรื่อง ตัวรถมาพร้อมเครื่องยนต์ 3 สูบเรียง 955 ซีซี พละกำลังสูงสุด 120 Hp และไฟหน้าแบบโคมกลมคู่อันเป็นเอลักษณ์ ถือเป็นตัวสุดของ Triumph ในยุคนั้น 2. Triumph…
Honda E-VO รถมอเตอร์ไซค์สปอร์ตเรโทร พลังงานไฟฟ้าแบตเตอรี่ BEV จากค่ายปีกนกแดนมังกร Wuyang Honda ได้ทำการเปิดตัวออกมาอย่างเป็นทางการในประเทศจีน พร้อมรูปลักษณ์ที่ดูแปลกตา แตกต่างจากของรถค่ายนี้ที่เราคุ้นเคย กลายเป็นรถสปอร์ตพลังงานไฟฟ้าคันแรกของค่ายอย่างเป็นทางการ ตัดหน้ารถต้นแบบ Honda EV Fun Concept ที่โชว์ตัวไปเมื่อปลายปีที่ผ่านมา โดยรถคันนี้ถือเป็นรถมอเตอร์ไซค์ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อวางจำหน่ายในประเทศจีนโดยเฉพาะ บริษัทที่พัฒนาก็ไม่ใช่ Honda จากประเทศญี่ปุ่น แต่เป็นบริษัทร่วมทุนที่ทำรถสำหรับตลาดประเทศจีนเพียงอย่างเดียว นั่นหมายความว่าคนจากส่วนอื่นของโลก รวมถึงพวกเรา จะไม่มีโอกาสได้ใช้รถรุ่นนี้นั่นเอง รูปลักษณ์ภายนอกนั้นถึงแม้จะดูเป็นรถไฟกลม แต่ก็มาพร้อมเส้นสายที่ทันสมัย ตามสูตรของรถไฟฟ้ายุคปัจจุบัน ท่านั่งในภาพรวมจะคล้ายกับรถแนวสปอร์ตฮาร์ฟแฟริ่ง มีแฮนด์บาร์ที่ยกสูงเล็กน้อย เน้นการใช้งานขับขี่ในเมืองแบบไม่ต้องเน้นความเร็วมากนัก ซึ่งถือเป็นตำแหน่งการตลาดปกติของรถมอเตอร์ไซค์พลังงานไฟฟ้า ตัวรถจะมาพร้อมแบตเตอรี่แบบ Build-In ติดตั้งอยู่ภายในตัวรถ ไม่ใช่แบตเตอรี่ถอดได้อย่าง Honda Power Pack E โดยมันจะมาพร้อมแบตเตอรี่ 2 ขนาด ขึ้นอยู่กับรุ่นย่อย คือ 4.1 – 6.2 kWh,…
หนึ่งในคำถามที่อยู่คู่วงการ Bigbike มานานที่สุด และยังมีคนเถียงกันอยู่จนถึงทุกวันนี้ ก็คงจะเป็นข้อสงสัยในตัววงการเองว่า Bigbike คืออะไร? เพราะถามแต่ละคนก็ได้คำตอบไม่เหมือนกัน Honda CBR500R นับเป็นบิ๊กไบค์ไหม? แล้วรถตัวแรงอย่าง Kawasaki ZX-4R ถือว่าเป็นบิ๊กไบค์หรือเปล่า? การหาคำตอบของคำถามนี้ที่ดูเหมือนจะง่าย กลับไม่ง่ายอย่างที่คิด ไม่เช่นนั้นมันคงไม่ใช่คำถามที่คนเถียงกันจนถึงปัจจุบัน เพราะถ้าเราดูที่ส่วนอื่นของโลก Bigbike ในแต่ละประเทศ แต่ละตลาด ก็มีค่านิยมและนิยามของคนแต่ละท้องที่ที่ต่างกันออกไป ยกตัวอย่างเช่นเจ้าแห่งผู้ผลิตรถมอเตอร์ไซค์อย่างญี่ปุ่น ที่จะนิยามรถมอเตอร์ไซค์ขนาดใหญ่ว่าต้องมีเครื่องยนต์ ที่มีปริมาตรกระบอกสูบมากกว่า 400 ซีซี เนื่องจากกฎหมายญี่ปุ่นกำหนดว่าผู้ที่ขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ที่มีเครื่องใหญ่กว่า 400 ซีซี จำเป็นต้องทำใบขับขี่พิเศษเพิ่มเติมจากใบขับขี่ธรรมดา เป็นผลจากความแรงและอันตรายของตัวรถ ตลาดใหญ่อีกแห่งอย่างทวีปยุโรป ก็จะใช้วิธีแบ่งประเภทรถตามใบขับขี่เช่นกัน แต่ตลาดฝั่งนั้นจะไม่ได้แบ่งระดับของรถตามปริมาตรกระบอกสูบ แต่จะเปลี่ยนเป็นการวัดจากพละกำลังสูงสุดที่เครื่องยนต์นั้นสร้างได้ รถที่มีกำลังสูงสุดมากกว่า 35 KW หรือประมาณ 47 Hp จะถูกจัดเป็นรถใหญ่ที่ต้องมีใบขับขี่เพิ่ม จากนิยามของกฎหมายที่แตกต่างกัน ก็ทำให้รูปร่างของตลาดทั้งสองนั้นต่างกันออกไปด้วย รถหลายรุ่นในยุโรปที่มีเครื่องยนต์ใหญ่มาก กลับถูกวางจำหน่ายพร้อมรุ่นลดแรงม้า เพื่อให้ลูกค้าที่ไม่มีใบขับขี่พิเศษสามารถเป็นเจ้าของได้ ถ้าลูกค้าไปทำใบขับขี่เพิ่มเมื่อไร…
การเป็นนักแข่งระดับโลกในเวที MotoGP นั้นถือเป็นความฝันสำหรับเด็กหลายคน หรืออย่างน้อยก็เป็นความฝันของพ่อแม่หลายคนที่หลงไหลกีฬาความเร็ว แน่นอนว่าการที่จะปั้นเด็กคนนึงให้เข้าวงการนี้ได้ จำเป็นต้องใช้ต้นทุนมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเวลาที่ในการซ้อม หรือรถมอเตอร์ไซค์ที่จะใช้ลงแข่ง แน่นอนว่าวิธีการที่ง่ายที่สุดสำหรับคนทั่วไป ก็คงจะเป็นการหารถมอเตอร์ไซค์สักค่าตัวถูกสักคันในตลาด มาแปลงโฉมให้เป็นรถสนาม เพื่อใช้ในการลงซ้อม หรือลงแข่งเก็บประสบการณ์ในรายการท้องถิ่น แต่รู้หรือไม่ว่านักแข่งส่วนใหญ่ในเวที Grand Prix นั้นไม่ได้เริ่มเก็บเลเวลด้วยรถถนนแบบที่เราเพิ่งบอกไป เพราะถ้าหากเราไม่นับรถมอเตอร์ไซค์อะไรก็ได้ ที่ถูกใช้เป็นเหมือนของเล่นฝึกหัด นักแข่งระดับโลกในเวที MotoGP ส่วนใหญ่ ต่างก็เติบโตมากับรถมอเตอร์ไซค์สายสนามขนานแท้ ที่มาพร้อมค่าตัวหลักหลายแสนบาท ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาเพื่อปั้นเด็กสู่เวทีระดับโลกโดยเฉพาะ โดยรถเหล่านั้นก็มาจากหลายค่าย หลายแบรนด์ ทั้งจากผู้ผลิตที่เรารู้จักอยู่แล้วอย่าง Honda, KTM หรือรถจากแบรนด์ที่เราไม่เคยได้ยินมาก่อนอย่าง Ohvale รถเหล่านี้จะมาพร้อมเครื่องยนต์ขนาด 100-250 ซีซี ซึ่งรถเหล่านี้แต่ละคันอาจจะมีค่าตัวสูงถึง 2-5 แสนบาท และบางคัน คนทั่วไปก็ไม่สามารถหามาครอบครองได้ เนื่องจากเป็นรถสเปคเดียวกับ Moto3 ถ้าจะใช้ก็จำเป็นต้องเข้าโครงการพัฒนานักแข่งรุ่นจิ๋วของค่ายรถแต่ละรายเท่านั้น ซึ่งเหตุผลที่การปั้นเด็กขึ้นไปสู่เวที Grand Prix ต้องใช้ตัวแข่งสายสนามขนานแท้ ค่าตัวสูง และไม่นิยมใช้รถถนนที่แปลงมาเป็นพื้นฐาน ส่วนหนึ่งก็เป็นผลมาจากต้นกำเนิดดั้งเดิมของตัวรถเอง…